รัฐประหารในประเทศกาบอง พ.ศ. 2566

เกิดรัฐประหารขึ้นในประเทศกาบองเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ไม่นานหลังจากที่มีการประกาศว่าอาลี บองโก ออนดิมบา ประธานาธิบดีที่กำลังดำรงตำแหน่ง ชนะการเลือกตั้งทั่วไปที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม

รัฐประหารในประเทศกาบอง พ.ศ. 2566

แผนที่ภูมิประเทศของประเทศกาบอง
วันที่30 สิงหาคม 2023
สถานที่
ผล

รัฐประหารสำเร็จ

คู่สงคราม

รัฐบาลกาบอง

คณะกรรมาธิการเพื่อการเปลี่ยนผ่านและฟื้นฟูสถาบัน

ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
อาลี บองโก ออนดิมบา
โรซ คริสตียาน ราปงดา
อาแล็ง โกลด บีลี บี อึนเซ
บริส กลอแตร์ ออลีกี อึงแกมา

รัฐประหารในครั้งนี้ถือเป็นการสิ้นสุดสมัยการปกครองกาบองยาวนาน 56 ปีของตระกูลบองโก รวมถึงยังเป็นการก่อรัฐประหารสำเร็จเป็นครั้งที่แปดในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกากลางนับตั้งแต่ปี 2020 ถัดจากประเทศมาลี (สองครั้งเมื่อปี 2020 และปี 2021), ชาด,[2] กินี, บูร์กินาฟาโซ (สองครั้งเมื่อเดือนมกราคมและเดือนกันยายน 2022) และไนเจอร์[3]

ภูมิหลัง

แก้

นับตั้งแต่ได้รับเอกราชจากเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสในปี 1960 ตระกูลบองโกเป็นผู้ปกครองกาบองเป็นหลักมาตลอด เริ่มต้นจากประธานาธิบดีโอมาร์ บองโก ในปี 1967[4] ตามด้วยอาลี บองโก ออนดิมบา บุตรชายซึ่งสืบทอดตำแหน่งหลังจากโอมาร์เสียชีวิตในปี 2009 และชนะเลือกตั้งอีกสมัยในการเลือกตั้งปี 2016 ซึ่งก่อให้เกิดการโต้แย้งและนำไปสู่ความพยายามก่อรัฐประหารในปี 2019 แต่ไม่สำเร็จ[5] ภายใต้การปกครองของบองโก ประเทศกาบองถูกกล่าวหาว่าเต็มไปด้วยการทุจริตในตำแหน่งหน้าที่และการเอื้อผลประโยชน์แก่เครือญาติและพวกพ้อง[6][7][8][9][10][11][12] การเลือกตั้งหลายครั้งได้รับรายงานการฉ้อโกงหรือสิ่งผิดปกติ[13][14][15] และการเลือกตั้งปี 2016 ก็ถูกตั้งข้อสงสัยอย่างมากจนนำไปสู่การประท้วงในประเทศ ดังเช่นที่พบในผลการเลือกตั้งของจังหวัดโอโตกูเอบ้านเกิดของบองโก ซึ่งรายงานผลคะแนนของบองโกอยู่ที่ 95.5% ในการเลือกตั้งที่มีผู้มาใช้สิทธิ์ 99.9%[13] ในขณะเดียวกัน รัฐธรรมนูญกาบองและกฎหมายการเลือกตั้งถูกเปลี่ยนไปมาหลายครั้งเพื่อยกเลิกการจำกัดวาระดำรงตำแหน่ง เปลี่ยนระบบการลงคะแนนเพื่อแสวงผลประโยชน์จากฝ่ายค้านที่แตกกลุ่ม และเปลี่ยนกำหนดเวลาการเลือกตั้งฝ่ายนิติบัญญัติและการเลือกตั้งท้องถิ่นเพื่อให้แน่ใจว่าพรรคฝ่ายค้านจะไม่สามารถผนึกกำลังกันได้ทันหลังจากที่พรรครัฐบาลชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี[16]

อ้างอิง

แก้
  1. "General Nguema appointed transitional president of Gabon following coup". Anadolu Agency. Kigali, Rwanda. 30 August 2023. สืบค้นเมื่อ 31 August 2023.
  2. "Chad military council names transitional government". Aljazeera (ภาษาอังกฤษ). 2 May 2021. สืบค้นเมื่อ 31 August 2023.
  3. Kwon, Jake; Yeung, Jessie; Stambaugh, Alex; Kennedy, Niamh; Halasz, Stephanie; Noor Haq, Sana (30 August 2023). "Gabon military officers claim to have seized power after election". CNN (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 August 2023. สืบค้นเมื่อ 31 August 2023.
  4. "Gabon President Bongo detained in coup attempt after winning third term". Al Jazeera. 30 August 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 August 2023. สืบค้นเมื่อ 30 August 2023.
  5. Obangome, Gerauds Wilfried; Ross, Aaron (12 January 2019). Donovan, Kirsten (บ.ก.). "Gabon's Bongo names new prime minister after thwarted coup attempt". Reuters (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2021. สืบค้นเมื่อ 13 January 2019.
  6. "The corrupt nepotist who ruled Gabon for 40 years". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 8 June 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2022. สืบค้นเมื่อ 30 August 2023.
  7. Chrisafis, Angelique (30 December 2010). "Omar Bongo pocketed millions in embezzled funds, claims US cable". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 May 2023. สืบค้นเมื่อ 30 August 2023.
  8. "France charges five of Gabon ex-president Bongo's children with embezzlement, corruption". Le Monde (ภาษาอังกฤษ). 29 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2023. สืบค้นเมื่อ 31 August 2023.
  9. Symons, Emma-Kate (1 May 2015). "A fight inside Gabon's kleptocratic dynasty exposes the complicity of French business". Quartz (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2023. สืบค้นเมื่อ 30 August 2023.
  10. Toto, Elodie. "One family has led Gabon for 55 years. Can this election bring a new era?". Al Jazeera (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 August 2023. สืบค้นเมื่อ 30 August 2023.
  11. "Attempted coup in Gabon aims to remove President Ali Bongo from power and end 50-year dynasty". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 30 August 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 August 2023. สืบค้นเมื่อ 30 August 2023.
  12. Halvorssen, Thor; Gladstein, Alex (19 September 2016). "Why Did the Atlantic Council Even Consider Giving African Dictator Ali Bongo Ondimba a 'Global Citizen Award'?". Foreign Policy (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 April 2023. สืบค้นเมื่อ 30 August 2023.
  13. 13.0 13.1 "Gabon's parliament set ablaze after President Bongo wins disputed election". euronews (ภาษาอังกฤษ). 2016-09-01. สืบค้นเมื่อ 2023-09-01.
  14. Yates, Douglas (15 June 2019). "The Dynastic Republic of Gabon". Cahiers d'études africaines (234): 483–513. doi:10.4000/etudesafricaines.25961. ISSN 0008-0055. S2CID 182502199. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2023. สืบค้นเมื่อ 30 August 2023.
  15. "Gabon: Freedom in the World 2023 Country Report". Freedom House (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 July 2023. สืบค้นเมื่อ 30 August 2023.
  16. Yates, Douglas (17 August 2023). "Gabon: how the Bongo family's 56-year rule has hurt the country and divided the opposition". The Conversation (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 August 2023. สืบค้นเมื่อ 30 August 2023.