รัฐบาลกลางเบลเยียม
รัฐบาลกลางเบลเยียม (ฝรั่งเศส: Gouvernement fédéral; ดัตช์: Federale regering; เยอรมัน: Föderalregierung) เป็นรัฐบาลกลางของราชอาณาจักรเบลเยียม ประกอบด้วยรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วย (ซึ่งมีฐานะต่ำกว่ารัฐมนตรีและไม่นับรวมอยู่ในคณะรัฐมนตรีของเบลเยียม) ซึ่งมาจากพรรคการเมืองที่เป็นฝ่ายรัฐบาล[1] รัฐบาลกลางเบลเยียมมีผู้นำคือนายกรัฐมนตรี ในขณะที่รัฐมนตรีนั้นเป็นผู้นำของแต่ละกระทรวง รัฐมนตรีทุกกระทรวงกับนายกรัฐมนตรีรวมกันเป็นคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นโครงสร้างสำคัญของอำนาจบริหารรัฐบาล
ดัตช์: Federale regering ฝรั่งเศส: Gouvernement fédéral เยอรมัน: Föderalregierung | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
เขตอำนาจ | ประเทศเบลเยียม |
สำนักงานใหญ่ | กรุงบรัสเซลส์ |
รัฐมนตรี | |
ต้นสังกัดหน่วยงาน | รัฐสภากลาง |
เว็บไซต์ | แม่แบบ:Www.gouvernement-federal.be/fr |
โดยปกติตามรัฐธรรมนูญเบลเยียม อำนาจบริหารนั้นมาจากพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม สถาบันพระมหากษัตริย์แห่งเบลเยียมไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง โดยจะใช้พระราชอำนาจทางการเมืองตามคำเสนอของนายกรัฐมนตรีซึ่งในทางปฏิบัติเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร[2]
บทบาท
แก้รัฐบาลกลางเบลเยียมเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรัฐบาล โดยในแต่ละกระทรวงจะมีรัฐมนตรี (ฝรั่งเศส: ministre; ดัตช์: minister; เยอรมัน: Minister) เป็นผู้รับผิดชอบ และมีรัฐมนตรีช่วย (ฝรั่งเศส: secrétaire d'État; ดัตช์: staatssecretaris; เยอรมัน: Staatssekretär) ช่วยกำกับดูแลกิจการต่าง ๆ ในกระทรวง โดยรัฐบาลนั้นมาจากพรรคการเมืองที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาลในสภา ในปัจจุบันไม่มีพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งครองเสียงข้างมากในสภาเพียงพรรคเดียว
มาตรา 99 ของรัฐธรรมนูญเบลเยียมระบุว่า รัฐมนตรีมีจำนวนจำกัดเพียง 15 คน ซึ่งจะต้องถูกแบ่งเป็นจำนวนเท่า ๆ กันระหว่างรัฐมนตรีผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสกับรัฐมนตรีผู้ใช้ภาษาดัตช์ ถึงแม้ว่าตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นจะไม่ถูกนับในจำนวนนี้ แต่ไม่เคยมีนายกรัฐมนตรีที่เป็นผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสตั้งแต่ ค.ศ. 1979 ถึง ค.ศ. 2011 โดยรัฐมนตรีสามารถดำรงตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรี (ส่วนใหญ่จะเป็นผู้นำพรรคการเมืองในพรรคร่วมรัฐบาล และเป็นตัวแทนสำคัญของรัฐบาลกลางในแต่ละพรรคร่วมรัฐบาล) โดยปกติในการประชุมคณะรัฐมนตรีจะมีการใช้ล่ามเสมอ
นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีมีหน้าที่กำกับดูแล "บริการสาธารณะกลาง" (ฝรั่งเศส: Service public fédéral; ดัตช์: Federale overheidsdienst; เยอรมัน: Föderaler Öffentlicher Dienst) ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายกับกระทรวงในการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศอื่น ๆ
อีกหนึ่งโครงสร้างสำคัญของฝ่ายบริหารประกอบด้วยคณะรัฐมนตรีใหญ่ (ฝรั่งเศส: conseil des ministres restreint; ดัตช์: kernkabinet; เยอรมัน: Kernkabinett) ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีซึ่งจะตัดสินใจร่วมกันในเรื่องสำคัญทางการเมือง
ดูเพิ่ม
แก้ดูเพิ่ม
แก้- Diermeier, Daniel; Eraslan, Hülya; Merlo, Antonio (August 2007). "Bicameralism and government formation". Quarterly Journal of Political Science. Now Publishing Inc. 2 (3): 227–252. doi:10.1561/100.00005004. hdl:10419/117965.