ระย่อมน้อย

สปีชีส์ของพืช
ระย่อมน้อย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Gentianales
วงศ์: Apocynaceae
วงศ์ย่อย: Rauvolfioideae
สกุล: Rauvolfia
สปีชีส์: R.  serpentina
ชื่อทวินาม
Rauvolfia serpentina
(L.) Benth. ex Kurz[1]
ชื่อพ้อง[2]
  • Ophioxylon album Gaertn.
  • Ophioxylon obversum Miq.
  • Ophioxylon salutiferum Salisb.
  • Ophioxylon serpentinum L.
  • Ophioxylon trifoliatum Gaertn.
  • Rauvolfia obversa (Miq.) Baill.
  • Rauvolfia trifoliata (Gaertn.) Baill.

ระย่อมน้อย เป็นพืชพื้นบ้านภาคใต้และมีสรรพคุณทางยาหลายประการ ระย่อมน้อยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rauvolfia serpentina Benth. ex Kurz หรือชื่ออื่น ๆ ได้แก่ ปลายข้าวสาร (กระบี่) ระย่อมน้อย กะย่อม (ใต้) ย่อมตีนหมา เข็มแดง (เหนือ) คลาน ตูมคลาน มะโอ่งที สะมอดู (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) กอเหม่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

ระย่อมน้อยเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 30-70 เซนติเมตร มียางสีขาว ใบเป็นใบรูปหอกใหญ่ ปลายโตแหลม โคนสอบเรียบแหลม ขอบใบเรียบพริ้วเล็กน้อย ผิวเป็นร่องตามแนวเส้นใบ เรียบมันสีเขียวเข้ม กว้าง 4-8 เซนติเมตร ยาว 7-20 เซนติเมตร ดอกออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่งคล้ายปะการัง โคนดอกเป็นหลอดสีชมพู ปลายดอกสีขาว มีกระเปาะเล็ก ๆ ตรงกลางหลอด ก้านดอกสีเขียว ผลเป็นผลกลมสีเขียว สุกจะเป็นสีดำ ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดสามารถเก็บเมล็ดและขยายพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี

การใช้ประโยชน์ แก้

ยอดอ่อน ดอกอ่อน ผลอ่อนนำไปทำแกงเลียง แกงส้ม ทางยาระย่อมน้อยใช้แก้พิษกาฬ แก้ป้างเพื่อดีและโลหิต ระงับประสาท แก้จุกเสียด บำรุงน้ำนม บดเป็นผง ปั้นเม็ดหรือคั่วให้กรอบ ชงต้มน้ำรับประทาน ช่วยย่อยอาหาร แก้นอนไม่หลับ แก้ปวดศีรษะเนื่องจากความดันโลหิตสูง ช่วยเจริญอาหาร ขับพยาธิ ขับระดู แก้บิด ขับปัสสาวะ

สรรพคุณ แก้

รากสดเป็นยารักษาหิด รากแห้งเป็นยาลดความดันโลหิตสูง เป็นยากล่อมประสาททำให้ง่วงนอนและอยากอาหาร ดอกแก้โรคตาแดง น้ำจากใบใช้รักษาโรคตามัว เปลือกแก้พิษไข้ กระพี้บำรุงโลหิต

องค์ประกอบทางเคมี แก้

Rauvolfia serpentina ถูกเรียกกันว่า รากงูอินเดีย (Indian Snakeroot) หรือ "Sarpagandha" มีสารเคมีที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ได้แก่ ajmaline, aricine, corynanthine, rauwolscine lankanescine deserpidine, rescinnamine, reserpine, reserpiline, isoreserpine, isoreserpiline, serpentinine และ yohimbine

อ้างอิง แก้

  1. "Module 11: Ayurvedic". สืบค้นเมื่อ 2008-02-11.
  2. "The Plant List: A Working List of All Plant Species". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-02. สืบค้นเมื่อ 12 April 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ระย่อมน้อย
  •   ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Rauvolfia serpentina ที่วิกิสปีชีส์