การควบคุมการปรับปรุงแก้ไข

การควบคุมการปรับปรุงแก้ไข (revision control, version control) คือการจัดการการปรับปรุงแก้ไขหลายครั้งบนสารสนเทศหน่วยเดิม มีการใช้งานการควบคุมการปรับปรุงแก้ไขทั้งในทางวิศวกรรมและการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อการจัดการการพัฒนาที่ดำเนินต่อไปของเอกสารดิจิทอล เช่น รหัสต้นฉบับของโปรแกรมประยุกต์ พิมพ์เขียว แบบจำลองอิเล็กทรอนิกส์ และสารสนเทศสำคัญอื่น ๆ ซึ่งพัฒนาโดยทีม การเปลี่ยนแปลงเอกสารเหล่านี้ระบุโดยใช้การเพิ่มหมายเลขหรืออักษรที่เชื่อมโยงกับการแก้ไขปรับปรุง ซึ่งเรียกว่า "หมายเลขการแก้ไขปรับปรุง" "ระดับการแก้ไขปรับปรุง" และเชื่อมโยงกับคนที่กระทำการแก้ไขปรับปรุง ตัวอย่างง่ายของการแก้ไขปรับปรุงเช่น เอกสารถูกสร้างขึ้นครั้งแรก จึงกำหนดให้หมายเลขการแก้ไขเป็น 1 ต่อจากนั้นมีการแก้ไขครั้งแรกจึงให้หมายเลขการแก้ไขเป็น 2 และต่อไปเรื่อย ๆ

คำศัพท์ แก้

ที่เก็บ (repository)
ที่เก็บเป็นแหล่งที่ไฟล์ข้อมูลถูกจัดเก็บเอาไว้ซึ่งมักจะอยู่บนเครื่องแม่ข่าย บางครั้งก็เรียกว่า depot
สำเนาใช้การ (Working copy)
สำเนาใช้การคือสำเนาท้องถิ่นที่สำเนามาจากที่เก็บ โดยเลือกเอาข้อมูลที่แก้ครั้งปรับปรุงในเวลาหรือครั้งที่แก้ไขปรับปรุงที่เจาะจง
การลงทะเบียนออก (check-out, co)
การลงทะเบียนออกเป็นการสร้างสำเนาท้องถิ่นจากที่เก็บ ซึ่งอาจจะเป็นสำเนาระบุครั้งของการแก้ไขปรับปรุงหรือเป็นการปรับปรุงล่าสุดก็ได้
การลงทะเบียนเข้า (commit, install, submit, check-in, ci)
การลงทะเบียนเข้า คือการนำการแก้ไขปรับปรุงเข้าไปเก็บในที่เก็บ
การเปลี่ยนแปลง (ดิฟฟ์, change, diff, delta)
การเปลี่ยนแปลงเป็นตัวแทนการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารในการควบการปรับปรุงแก้ไข ความละเอียดในการสร้างดิฟฟ์ขึ้นอยู่กับระบบควบคุมการปรัปปรุงแก้ไขแต่ละระบบ
ชุดการเปลี่ยนแปลง (changelist, change set)
ในระบบควบคุมการปรับปรุงแก้ไขหลายระบบที่มีคุณสมบัติแบ่งแยกไม่ได้ ระบบสามารถนำเข้าการเปลี่ยนแปลงได้คราวละหลายการเปลี่ยนแปลง ในระบบเหล่านั้นชุดการเปลี่ยนแปลงเป็นตัวระบุชุดของการเปลี่ยนแปลงในการนำเข้าหนึ่งครั้ง นอกจากนั้นยังเป็นตัวแทนของลำดับของรหัสต้นฉบับตามการแก้ไขซึ่งทำให้สามารถระบุรหัสต้นฉบับด้วยหมายเลขประจำชุดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ได้
การทำให้ให้ทันสมัย (update, sync)
การทำให้ทันสมัยคือการสำเนาการเปลี่ยนแปลง (ที่อาจทำโดยผู้อื่น) ในที่เก็บมาสู่ท้องถิ่น
การผสาน (merge, integration)
การผสาน เป็นการนำการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นพร้อมกันมารวมกันให็เป็นการเปลี่ยนแปลงชุดเดียว
รุ่น (revision, version)
รุ่น เป็นชุดของการเปลี่ยนแปลง
การนำเข้า (import)
การนำเข้าเป็นการนำเข้าสำเนาท้องถิ่นที่ไม่ใช่สำเนาใช้การเข้าสู่ที่เก็บ
การส่งออก (export)
การส่งออกคล้ายกับการลงทะเบียนออกต่างกันที่การส่งออกสร้างสำเนาที่ปราศจากเมทาเดตาของระบบควบคุมการปรับปรุงแก้ไข มักใช้ในการแจกจ่ายข้อมูล
ความขัดแย้ง (conflict)
ความขัดแย้ง ความขัดแย้งเกิดขึ้นเมื่อสองการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจจะทำโดยคนละคนกัน บทเอกสารเดียวกัน หรือในแห่งเดียวกันของเอกสาร ซึ่งซอฟต์แวร์ไม่อาจระบุได้ว่าการเปลี่ยนแปลงใด'ถูกต้อง' ผู้ใช้จำเป็นที่จะต้องแก้ไขความขัดแย้ง
การแก้ไข (resolve)
การแก้ไขความขัดทำโดยผู้ใช้เพื่อเลือกการแก้ไขที่ถูกต้องเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น

ดูเพิ่ม แก้