ระบบเวลาทำงาน 996

(เปลี่ยนทางจาก ระบบการทำงาน 996 ชั่วโมง)

ระบบชั่วโมงทำงาน 996 (จีน: 996工作制, อังกฤษ: 996 working hour system) เป็นรูปแบบการจัดตารางงานที่ใช้ในบางบริษัทของประเทศจีน ชื่อของระบบมาจากการบังคับให้ลูกจ้างทำงานตั้งแต่เวลา 9:00 AM (เก้าโมงเช้า) ถึง 9:00 PM (สามทุ่ม) เป็นเวลา 6 วันต่อสัปดาห์ หรือคิดเป็นการทำงานรวม 72 ชั่วโมงต่อสัปดาห์[1][2][3][4][5] มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าระบบการทำงานแบบนี้เป็นการละเมิดกฎหมายแรงงานของจีน และเรียกระบบนี้ว่าเป็น "การใช้งานทาสยุคใหม่"[6][7] โดยระบบนี้ยิ่งมีความเด่นชัดเป็นพิเศษในบริษัทในสายงานไอทีและอินเทอร์เน็ต

ระบบเวลาทำงาน 996
ภาษาจีน996工作制

วัฒนธรรมการทำงานล่วงเวลามีมาอย่างยาวนานในบรรดาบริษัทไอทีของจีน[8] ที่ซึ่งพุ่งเป้าไปที่การเพิ่มความเร็วในการทำงาน และการลดค่าใช้จ่าย[9] บริษัทจำนวนมากใช้นโยบายหลายแบบ เช่น จ่ายเงินคืนค่าแท็กซี่ให้กับพนักงานที่ทำงานล่วงเวลาในตอนกลางคืน เพื่อกระตุ้นให้พนักงานทำงานล่วงเวลากันมากขึ้น[10]

ระบบการทำงานที่ยาวนานนี้นำไปสู่โรคและปัญหาสุขภาพจิตมากมายในบรรดาแรงงานชาวจีน มีการประมาณการณ์ไว้ว่าพนักงานเงินเดือนเกิน 3 ใน 4 ที่ทำงานในเมืองใหญ่อย่างปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และกว่างโจว เผชิญกับภาวะความเหนื่อยล้าจากการทำงาน การเจ็บปวดในระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ปัญหาการนอนหลับ[11] ไปจนถึงปัญหาการกิน ความเครียดจากงาน และปัญหาความไม่สมดุลระหว่างชีวิตการทำงานกับชีวิตครอบครัว[12] ข้อมูลจากสื่อ People's Daily ซึ่งควบคุมโดยรัฐบาลจีน ระบุว่าผลการสำรวจในปี 2013 แสดงให้เห็นว่าแรงงานในอุตสาหกรรมไอทีของจีนถึง 98.8% ระบุว่าตนมีปัญหาทางสุขภาพ[13][14] มีรายงานการเสียชีวิตจากการทำงานและการฆ่าตัวตาย มาตลอดหลายสิบปีที่มีการนำระบบ 996 นี้ และระบบการทำงานล่วงเวลาอื่น ๆ มาใช้ในจีน[15][16]

ระบบการทำงานแบบ 996 ชั่วโมงนั้นถูกตราว่าผิดต่อกฎหมายโดยศาลสูงของจีนตั้งแต่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 2021[17] อย่างไรก็ตาม เป็นที่กังขาอยู่ว่าข้อกฎหมายนี้จะถูกนำมาบังคับใช้อย่างจริงจังหรือไม่[18][19]

อ้างอิง แก้

  1. Denise Hruby (2018-05-08). "Young Chinese are sick of working long hours". BBC (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-02. สืบค้นเมื่อ 2019-04-02.
  2. Zhao, Ang (2018-06-03). "不接受"996"是不能吃苦?媒体:合法权益应获保障" [Do not accept "996" is not able to work hard? Media: Legal rights should be protected]. Xinhuanet (ภาษาจีนตัวย่อ). Workers' Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-31. สืบค้นเมื่อ 2019-03-30.
  3. Sarah Dai; Li Tao (2019-01-29). "China's work ethic stretches beyond '996' as tech companies feel the impact of slowdown". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-31. สืบค้นเมื่อ 2019-03-31.
  4. Li Yuan (2017-02-22). "China's Grueling Formula for Success: 9-9-6". The Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-31. สืบค้นเมื่อ 2019-03-31.
  5. Zheping Huang (2019-03-20). "No sleep, no sex, no life: tech workers in China's Silicon Valley face burnout before they reach 30". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-05. สืบค้นเมื่อ 2019-04-05.
  6. Wang, Jenny Jing (2020). "How managers use culture and controls to impose a '996' work regime in China that constitutes modern slavery". Accounting & Finance (ภาษาอังกฤษ). 60 (4): 4331–4359. doi:10.1111/acfi.12682. ISSN 1467-629X. S2CID 225463581.
  7. Lu, Ying-Ying (2019-04-13). "Ep. 42: To 996, or Not to 996, That Is the Question". Pandaily (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-29. สืบค้นเมื่อ 2019-04-29.
  8. Wang, Pinzhi (2018-03-30). "50.7%受访者称所在企业有"加班文化"" [50.7% of respondents said their companies have an "overtime culture"]. Xinhuanet (ภาษาจีนตัวย่อ). China Youth Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-31. สืบค้นเมื่อ 2019-03-31.
  9. Justin Bergman (2016-08-26). "Inside the high-pressure world of China's start-up workers". BBC (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-31. สืบค้นเมื่อ 2019-03-31.
  10. Liu, Jia, บ.ก. (2019-01-31). "默认996工作制背后:被撕掉的焦虑遮羞布" [Behind the default 996 work system: the shame of being torn off anxiety]. 第一财经 [Yicai] (ภาษาจีนตัวย่อ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-31. สืบค้นเมื่อ 2019-03-31.
  11. Liang, Lu-Hai (21 January 2021). "The psychology behind 'revenge bedtime procrastination'". BBC. สืบค้นเมื่อ 19 May 2022.
  12. Tsui, Audrey H.H. (27 June 2008). "Asian wellness in decline: a cost of rising prosperity". International Journal of Workplace Health Management. 1 (2): 123–135. doi:10.1108/17538350810893919. ISSN 1753-8351. สืบค้นเมื่อ 29 May 2022.
  13. Monet, Charmika (26 March 2014). "Working to Death in China". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 29 May 2022.
  14. "英报:过劳死提醒中国人"懒散些"" [British newspaper: overwork death reminds Chinese people to "be lazy"]. People's Daily. Xinhua News Agency. 6 April 2011. สืบค้นเมื่อ 29 May 2022. 信息技术(IT)从业人员似乎尤其脆弱:近日一项覆盖35万IT从业者的调查显示,98.8%的受访者表示自己有健康问题。 [Information technology (IT) workers appear to be particularly vulnerable: a recent survey covering 350,000 IT workers showed that 98.8% of respondents said they had health problems.]
  15. "Death from Overwork in China". China Labour Bulletin (ภาษาอังกฤษ). 11 August 2006. สืบค้นเมื่อ 19 May 2022.
  16. Tan, JS (2022). "Tech Workers Lie Flat". Dissent. สืบค้นเมื่อ 19 May 2022.
  17. "China Spells Out How Excessive 996 Work Culture is Illegal". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). 27 August 2021.
  18. Meng, Siyuan (15 November 2021). "China's burned-out tech workers are fighting back against long hours". MIT Technology Review. สืบค้นเมื่อ 21 June 2022. But even though authorities and state media seem to be taking a tougher stand, it is unclear when or if the rules that make 996 illegal will be fully enforced.
  19. Liu, Hong Yu (24 January 2022). "The role of the state in influencing work conditions in China's internet industry: Policy, evidence, and implications for industrial relations". Journal of Industrial Relations: 12. doi:10.1177/00221856211068488. ISSN 0022-1856. The contradictory rulings by the district courts in these cases, one for the employee and two against, suggest that the legislative framework in China is not in a position that can stand firmly to defend workers against the inhumane and unlawful working hours. Wang and Cooke (2021) found a similar level of arbitrariness in court rulings in labour disputes between Chinese platforms and their workers.