รอยแยกพีโทรทิมพานิค

รอยแยกพีโทรทิมพานิค (petrotympanic fissure) เป็นรอยแยกที่อยู่ในกระดูกขมับ (temporal bone) [1] ซึ่งวิ่งจากข้อต่อขากรรไกร (temporomandibular joint) ไปยังโพรงหูส่วนกลาง (tympanic cavity) [2]

รอยแยกพีโทรทิมพานิค
(Petrotympanic fissure)
กระดูกขมับ มุมมองจากด้านนอก (รอยแยกพีโทรทิมพานิคอยู่ทางซ้ายด้านล่างของภาพ)
เยื่อแก้วหูข้างขวา กระดูกค้อน และเส้นประสาทคอร์ดา ทิมพานี (chorda tympani) มุมมองจากด้านใน ด้านหลัง และด้านบน (รอยแยกกลาเซอเรียนอยู่ตรงกลางทางซ้ายของภาพ)
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินf. petrotympanica
TA98A02.1.06.074
TA2717
FMA55463
ศัพท์ทางกายวิภาคของกระดูก

แอ่งข้อต่อขากรรไกร (mandibular fossa) เป็นแอ่งข้อต่อที่ถูกล้อมรอบทางด้านหน้าด้วยปุ่มหน้าแอ่งข้อต่อขากรรไกร (articular tubercle) และทางด้านหลังโดยส่วนทิมพานิคของกระดูกขมับ (tympanic part) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่แยกแอ่งข้อต่อขากรรไกรออกจากปากรูหู (external acoustic meatus) แอ่งข้อต่อขากรรไกรแบ่งออกเป็น 2 ส่วนโดยรอยแยกเล็กๆ เรียกว่า รอยแยกพีโทรทิมพานิค (petrotympanic fissure)

รอยแยกนี้เปิดออกทางด้านบนและด้านหน้าของวงแหวนกระดูกซึ่งเป็นที่ยึดเกาะของเยื่อแก้วหู ซึ่งเกิดเป็นช่องยาวประมาณ 2 ซม. มันฝังอยู่ในส่วนยื่นด้านหน้าและเอ็นด้านหน้าของกระดูกค้อน (malleus) และทอดผ่านแขนงแอนทีเรียร์ทิมพานิคของหลอดเลือดแดงอินเทอร์นัลแมกซิลลารี (internal maxillary artery)

ชื่อของรอยแยกนี้

แก้

รอยแยกพีโทรทิมพานิคเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "รอยแยกกลาเซอเรียน" (Glaserian fissure) ตั้งชื่อตามโยฮันน์ กลาเซอร์[3]

ภาพอื่นๆ

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "eMedicine/Stedman Medical Dictionary Lookup!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-21. สืบค้นเมื่อ 2008-03-07.
  2. Eckerdal O (1991). "The petrotympanic fissure: a link connecting the tympanic cavity and the temporomandibular joint". Cranio. 9 (1): 15–22. PMID 1843474.
  3. "Medcyclopaedia - Glaserian fissure". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-07. สืบค้นเมื่อ 2008-03-07.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้