รถไฟใต้ดินปักกิ่ง สาย 8
รถไฟใต้ดินปักกิ่ง สาย 8 (จีน: 北京地铁8号线; พินอิน: běijīng dìtiě bāhàoxiàn) หรือ สายย่อยโอลิมปิก (奥运支线) เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟใต้ดินปักกิ่ง มีจำนวน 12 สถานี ระยะทาง 18.75 km (11.65 mi) เป็นทางใต้ดินทั้งหมด สีประจำเส้นทางคือสีเขียว เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 ในฐานะของสายย่อยโอลิมปิก ในช่วงระหว่างโอลิมปิกฤดูร้อน 2008ที่กรุงปักกิ่ง ในระยะแรกมีเพียง 4 สถานี ระยะทาง 4.53 km (2.81 mi) หลังจากนั้นได้เปิดใช้งานส่วนต่อขยายส่วนเหนือเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2011 จำนวน 6 สถานี และส่วนต่อขยายด้านใต้ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2012 จำนวน 2 สถานี[2]
รถไฟใต้ดินปักกิ่ง สาย 8 | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
สถานะ | เปิดให้บริการ |
ปลายทาง | |
จำนวนสถานี | 12 |
การดำเนินงาน | |
รูปแบบ | รถไฟใต้ดิน |
ระบบ | รถไฟใต้ดินปักกิ่ง |
ผู้ดำเนินงาน | Beijing Mass Transit Railway Operation Corp., Ltd |
ผู้โดยสารต่อวัน | 205,000 คน (มีนาคม 2013)[1] |
ประวัติ | |
เปิดเมื่อ | 19 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
ระยะทาง | 18.75 km (11.65 mi) |
ลักษณะทางวิ่ง | ใต้ดิน |
รางกว้าง | 1,435 mm (4 ft 8 1⁄2 in) สแตนดาร์ดเกจ |
ระบบจ่ายไฟ | 750 V DC รางที่สาม |
ความเร็ว | 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง |
รายชื่อสถานี
แก้สถานีหุยหลงก้วนตงต้าจเย | 回龙观东大街 | เขตชางผิง | |
สถานีฮว่ออิ๋ง | 霍营 | 13 | |
สถานีอี้ว์ซิน | 育新 | เขตไห่เตี้ยน | |
สถานีซีเสียวโข่ว | 西小口 | ||
สถานีหย่งไท่จวง | 永泰庄 | ||
สถานีหลินชุ่ยเฉียว | 林萃桥 | เขตเฉาหยาง | |
สถานีอุทยานประตูใต้ | 森林公园南门 | ||
สถานีโอลิมปิกกรีน | 奥林匹克公园 | ||
สถานีสนามกีฬาโอลิมปิก | 奥体中心 | ||
สถานีเป๋ยถู่เฉิง | 北土城 | 10 | |
สถานีอันฮว๋าเฉียว | 安华桥 | เขตเฉาหยาง/ เขตซีเฉิง [note 1] | |
สถานีอันเต๋อหลีเป่ยจเย | 安德里北街 | เขตตงเฉิง | |
สถานีกู่โหลวต้าจเย | 鼓楼大街 | 2 | เขตตงเฉิง/ เขตซีเฉิง [note 2] |
สถานีสือซาไห่ | 什刹海 | เขตตงเฉิง | |
สถานีหนันหลัวกู่เซียง | 南锣鼓巷 | 6 | |
สถานีหอศิลป์แห่งชาติ | 中国美术馆 | ||
รถไฟฟ้า
แก้ในระยะแรกได้นำรถไฟฟ้าของสาย 10 มาใช้บางส่วน หลังจากที่เปิดส่วนต่อขยาย จึงนำรถไฟฟ้าของบริษัท CSR Sifang Locomotive & Rolling Stock มาใช้[3]
สมุดภาพ
แก้-
ภายในสถานี
-
ทางเข้า A ของสถานีอุทยานประตูใต้
-
ชานชาลาสถานีโอลิมปิกกรีน
-
ทางเข้าสถานีโอลิมปิกกรีน
-
ชานชาลาสถานีเป๋ยถู่เฉิง
-
ทางเข้า D ของสถานีเป๋ยถู่เฉิง
หมายเหตุ
แก้- ↑ The Anhuaqiao Station straddles the border between Chaoyang and Xicheng Districts.
- ↑ The Gulou Dajie Station straddles the border between Dongcheng and Xicheng Districts.
อ้างอิง
แก้- ↑ "Official Ridership". Beijing Subway. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-22. สืบค้นเมื่อ 2013-03-10.
- ↑ Xu Wei, "Beijing launches three new subway sections" China Daily 2012-01-01
- ↑ 北京三条地铁新线今日14时开通 北京西站通地铁
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ รถไฟใต้ดินปักกิ่ง สาย 8