รถไฟฟ้าด่วนคุร์เคาน์

(เปลี่ยนทางจาก รถไฟใต้ดินคุร์เคาน์)

รถไฟฟ้าด่วนคุร์เคาน์ (ฮินดี: रैपिड मेट्रो रेल गुड़गांव, Raipiḍ Mēţrō Rēl Guḍ.agāṃv) เป็นระบบรถไฟฟ้าในเมืองคุร์เคาน์ ชานกรุงนิวเดลี เป็นรถไฟฟ้าที่สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดินเดลี สายสีเหลืองได้ สร้างและดำเนินการโดยบริษัทรถไฟฟ้าด่วนคุร์เคาน์[4] ใช้เวลาในการก่อสร้าง 30 เดือน เปิดให้บริการวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013[5]

รถไฟฟ้าด่วนคุร์เคาน์
रैपिड मेट्रो रेल गुड़गांव
ข้อมูลทั่วไป
เจ้าของบริษัทรถไฟฟ้าด่วนคุร์เคาน์
ที่ตั้งคุร์เคาน์ ประเทศอินเดีย
ประเภทรถไฟฟ้าใต้ดิน
จำนวนสาย1
จำนวนสถานี6
ผู้โดยสารต่อวัน24,000 คน
สำนักงานใหญ่หอคอย Ambience Corporate เกาะ Ambience ทางหลวงแผ่นดินสาย 8 คุร์เคาน์
เว็บไซต์www.rapidmetrogurgaon.com
การให้บริการ
เริ่มดำเนินงาน14 พฤศจิกายน 2013; 10 ปีก่อน (2013-11-14)
ความยาวขบวน3 คันต่อขบวน
ระยะห่าง4 นาที
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง5.1 กิโลเมตร[1]
จำนวนราง2 (1.2 กม.)
1 (3.7 กม.)[2]
รางกว้าง1,435 mm (รางมาตรฐาน)[2]
การจ่ายไฟฟ้า750 โวลต์ จากรางที่สาม[3]
ความเร็วเฉลี่ย35 km/h (22 mph)
ความเร็วสูงสุด80 km/h (50 mph)

เส้นทาง แก้

ระยะที่ 1 (เปิดให้บริการ) แก้

 
รถไฟฟ้าด่วนคุร์เคาน์ เป็นส่วนหนึ่งของรถไฟใต้ดินเดลี

มีระยะทาง 5.1 กิโลเมตร เป็นทางคู่[2] ชานชาลาของแต่ละสถานียาว 75 เมตร[6] ศูนย์ซ่อมบำรุงจะอยู่ระหว่างสถานี Micromax Moulsari Avenue และสถานี ระยะที่ 3

รายชื่อสถานี
# สถานี เปิดให้บริการ (ค.ศ.) จุดเชื่อมต่อการเดินทาง โครงสร้าง
1 Sikanderpur      สายสีเหลือง ยกระดับ
2 ระยะที่ 2 2013[7][8] ไม่มีจุดเชื่อมต่อ
3 หอคอย Towers
4 IndusInd Bank Cyber City
5 ถนน Micromax Moulsari Avenue
6 ระยะที่ 3

ระยะที่ 2 แก้

มีระยะทาง 7 กิโลเมตร จำนวน 6 สถานี จะเปิดให้ริการในปี ค.ศ. 2015[9][10]

ระบบรถไฟฟ้า แก้

ในวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 2010 ซีเมนส์ ได้ชนะการประกวดราคาระบบรถไฟฟ้า โดยรถไฟฟ้าเป็นรถไฟฟ้าแบบ 3 คันต่อขบวน ทั้งหมด 5 ขบวน[11] โดยเป็นรถไฟฟ้าตัวถังอะลูมิเนียม มีระบบปรับอากาศ[3] รถไฟฟ้ามีสีเงินและน้ำเงิน[12] ความยาวขบวน (3คัน) คือ 59.94 เมตร กว้าง 2.8 เมตร แต่ละคันมี 4 ประตู[13] ความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

การให้บริการ แก้

รถไฟฟ้าให้บริการเวลา 6.05-0.20 น.[14] ความถี่ 4 นาทีต่อขบวน[4] ความจุ 800 คนต่อขบวน[15] รถไฟฟ้าออกแบบให้มีความจุผู้โดยสารได้ 24,000 คนต่อชั่วโมง[1]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Gurgaon metro turnkey contract awarded". Railway Gazette International. 23 April 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-26. สืบค้นเมื่อ 2014-02-10.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Gurgaon's own Metro"[ลิงก์เสีย], Hindustan Times, 15 July 2009. [1]
  3. 3.0 3.1 "CSR Zhuzhou to supply Gurgaon trains". Railway Gazette International. 30 June 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2014-02-10.
  4. 4.0 4.1 Gurgaon metro link to be completed in 30 months เก็บถาวร 2012-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Times of India, 16 July 2009.
  5. http://businesstoday.intoday.in/story/india-first-rapid-metro-begins-operations-in-gurgaon/1/200588.html
  6. "Gurgaon Rapid Metro Rail Project". Railway Technology. 2011-06-15. สืบค้นเมื่อ 2013-09-28.
  7. "Gurgaon Rapid Metro begins trial runs". Indian Express. 2012-10-03. สืบค้นเมื่อ 2013-09-28.
  8. "Gurgaon's Rapid Metro to start running on Thursday". NDTV. สืบค้นเมื่อ 2013-11-14.
  9. "Govt gives green signal to extend Rapid Metro". Hindustan Times. 2013-01-04. สืบค้นเมื่อ 2013-09-28.[ลิงก์เสีย]
  10. "Rapid Metro Gurgaon". Rapid Metro Gurgaon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-02. สืบค้นเมื่อ 2013-09-28.
  11. "Siemens Mobility to equip additional metro line in Delhi" (Press release). Siemens. 12 August 2009.
  12. "It's official, Rapid Metro in 6 months". Hindustan Times. 2012-09-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-25. สืบค้นเมื่อ 2013-09-28.
  13. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-03. สืบค้นเมื่อ 2014-02-10.
  14. "Rapid Metro's trial run flagged off by Hooda". Business Standard. 2012-10-02. สืบค้นเมื่อ 2013-09-28.
  15. DVV Media Group GmbH. "CSR Zhuzhou to supply Gurgaon trains". Railway Gazette. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-12. สืบค้นเมื่อ 2013-09-28.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้