ยุทธการที่อิโวะจิมะ

(เปลี่ยนทางจาก ยุทธการอิโวะจิมะ)

ยุทธการที่อิโวะจิมะ (19 กุมภาพันธ์ – 26 มีนาคม ค.ศ. 1945) เป็นยุทธการสำคัญซึ่งกองทัพสหรัฐอเมริกาขึ้นบกและยึดเกาะอิโวะจิมะจากกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองได้ในที่สุด การบุกครองของอเมริกา ชื่อรหัส ปฏิบัติการดีแทชเมนต์ (อังกฤษ: Operation Detachment) มีเป้าหมายยึดทั้งเกาะ ซึ่งรวมสนามบินที่ญี่ปุ่นยึดสามแห่ง (รวมสนามใต้และสนามกลาง) เพื่อเป็นพื้นที่พักพลสำหรับเข้าตีหมู่เกาะหลักของญี่ปุ่น ยุทธการนานห้าสัปดาห์นี้มีการสู้รบที่ดุเดือดและนองเลือดที่สุดในสงครามแปซิฟิกของสงครามโลกครั้งที่สอง

ยุทธการที่อิโวะจิมะ

ปืนใหญ่ 37 มม. ของสหรัฐยิงใส่ที่ตั้งถ้ำของญี่ปุ่นแนวด้านทิศเหนือของภูเขาสุริบะชิ
วันที่19 กุมภาพันธ์ – 26 มีนาคม 1945
สถานที่
ผล อเมริกาชนะ
คู่สงคราม
 สหรัฐ  ญี่ปุ่น
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหรัฐ ฮอลแลนด์ สมิท
สหรัฐ มาร์ค มิตเชอร์
สหรัฐ เกรฟส์ บี. เออร์สคีน
สหรัฐ คลิฟตอน เคตส์
สหรัฐ เคลเลอร์ อี. ร็อกกี
สหรัฐ เชสเตอร์ ดับเบิลยู. นิมิตซ์
สหรัฐ เรย์มอนด์ เอ. สปรูแอนซ์
จักรวรรดิญี่ปุ่น ทาดามิจิ คูริบายาชิ 
จักรวรรดิญี่ปุ่น ทาเกจิ นิชิ 
จักรวรรดิญี่ปุ่น ริโนะสุเกะ อิจิมารุ 
กำลัง
นาวิกโยธินสหรัฐ เหล่าพยาบาล (corpsmen) กองทัพเรือสหรัฐ ฯลฯ และทหารอากาศกองทัพอากาศสหรัฐ 110,000 นาย 22,060 นาย[1] รถถัง 23คัน ปืน ปืนต่อต้านอากาศยาน 300ป้อม ปืนต่อต้านรถถัง 69กระบอก
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 23,000–26,571 นาย [2]
ถูกจับแต่ได้กลับคืน 2 นาย[3]
บาดเจ็บ 19,217 นาย[1] เรือบรรทุกคุ้มกันจม 1 ลำ

เสียชีวิต 18,844 นาย[1]
ถูกจับเป็นเชลย 26 นาย[1]

ซ่อนตัว ~3,000 นาย[4]

หลังเกิดการสูญเสียอย่างหนักในยุทธการ คุณค่าทางยุทธศาสตร์ของเกาะกลายเป็นข้อพิพาท เกาะนี้ไร้ประโยชน์สำหรับกองทัพบกสหรัฐที่จะใช้เป็นพื้นที่พักพลและไร้ประโยชน์สำหรับกองทัพเรือสหรัฐที่จะใช้เป็นฐานทัพเรือ ทว่า ผึ้งทะเล (seabee) กองทัพเรือสร้างลานบินขึ้นใหม่ ซึ่งใช้เป็นลานลงจอดฉุกเฉินสำหรับบี-29 ของกองทัพอากาศสหรัฐ[5]

ที่ตั้งของกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่นบนเกาะมีป้อมค่ายหนาแน่น โดยมีเครือข่ายบังเกอร์ ที่มั่นปืนใหญ่ซ่อน และอุโมงค์ใต้ดิน 18 กิโลเมตร[6][7] ทหารอเมริกันภาคพื้นได้รับการสนับสนุนจากปืนใหญ่กองทัพเรืออย่างกว้างขวางและความเป็นเจ้าอากาศเบ็ดเสร็จเหนืออิโวะจิมะตั้งแต่เริ่มยุทธการโดยนักบินของกองทัพเรือสหรัฐและเหล่านาวิกโยธิน[8]

อิโวะจิมะยังเป็นยุทธการเดียวสำหรับเหล่านาวิกโยธินสหรัฐที่กำลังพลสูญเสียของฝ่ายอเมริกันสูงกว่าญี่ปุ่น แม้การเสียชีวิตจากการสู้รบของฝ่ายญี่ปุ่นคิดเป็นสามเท่าของจำนวนผู้เสียชีวิตฝ่ายอเมริกัน[9] จากทหารญี่ปุ่น 22,000 นายบนอิโวะจิมะ มีถูกจับเป็นเชลยเพียง 216 นาย ซึ่งบางส่วนถูกจับเพราะถูกทำให้หมดสติไม่ก็ถูกทำให้พิการ[1] ที่เหลือส่วนใหญ่ตายในการรบ แม้มีประเมินว่า มากถึง 3,000 นายยังคงต่อต้านในระบบถ้ำต่าง ๆ อีกหลายวันให้หลัง จนสุดท้ายจำนนต่อการบาดเจ็บหรือยอมจำนนอีกหลายสัปดาห์ต่อมา[1][10]

แม้การสู้รบนองเลือดและกำลังพลสูญเสียอย่างรุนแรงทั้งสองฝ่าย แต่การพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นรับประกันตั้งแต่ต้น ความเหนือกว่าท่วมท้นของอเมริกันทั้งด้านอาวุธและจำนวน ตลอดจนการควบคุมอำนาจทางอากาศเบ็ดเสร็จ กอปรกับการที่ญี่ปุ่นไม่สามารถถอยหรือได้รับกำลังเพิ่มเติม ทำให้ไม่มีกรณีแวดล้อมที่เป็นไปได้ซึ่งฝ่ายอเมริกันจะแพ้ยุทธการ[11]

ยุทธการนี้ถูกจารึกโดยภาพถ่ายการปักธงสหรัฐบนยอดภูเขาสุริบะยะชิสูง 166 เมตรโดยนาวิกโยธินสหรัฐห้านายและเหล่าพยาบาลสนามกองทัพเรือสหรัฐหนึ่งนายของโจ โรเซนทัล ภาพถ่ายบันทึกการปักธงที่สองบนภูเขานั้น ซึ่งทั้งสองเกิดในวันที่ห้าของยุทธการ 35 วัน ภาพถ่ายของโรเซนทัลพลันกลายเป็นสัญรูปถาวรของยุทธการนั้น สงครามในแปซิฟิก และเหล่านาวิกโยธิน และได้รับการทำซ้ำอย่างกว้างขวาง[12]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Burrell 2006, p. 83. Burrell talks about how many historians have overestimated the number Japanese defenders, with 20,000 and even 25,000 listed. Burrell puts the range between 18,060 and 18,600, with exactly 216 of these taken prisoner during the course of the battle.
  2. Allen, Robert E. (31 August 2015). "The First Battalion of the 28th Marines on Iwo Jima: A Day-by-Day History from Personal Accounts and Official Reports, with Complete Muster Rolls" (ภาษาอังกฤษ). McFarland. สืบค้นเมื่อ 31 October 2023.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ morison
  4. John Toland, The Rising Sun: The Decline and Fall of the Japanese Empire, 1936–1945, page 669
  5. "John Clements Collection". loc.gov.
  6. "Letters from Iwo Jima". World War II Multimedia Database.
  7. "Battle of Iwo Jima—Japanese Defense". World War II Naval Strategy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-05. สืบค้นเมื่อ 2015-03-22.
  8. Video: Carriers Hit Tokyo! 1945/03/19 (1945). Universal Newsreel. 19 March 1945. สืบค้นเมื่อ 22 February 2012.
  9. O'Brien, Cyril J. NI_Iwo_Jima2, 00.html "Iwo Jima Retrospective". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-07. สืบค้นเมื่อ 21 June 2007. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  10. John Toland, Rising Sun - The Decline and Fall of the Japanese Empire 1936-1945, page 669
  11. Adrian R. Lewis, The American Culture of War. The History of U.S. Military Force from World War II to Operation Iraqi Freedom, New York 2007, p. 59
  12. Landsberg, Mitchell (1995). "Fifty Years Later, Iwo Jima Photographer Fights His Own Battle". Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-05. สืบค้นเมื่อ 11 September 2007.