ยุขัน เป็นบทละครนอกที่แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทกลอนบทละคร ไม่ปรากฏหลักฐานว่าแต่งเมื่อใดและผู้แต่งเป็นใคร สันนิษฐานว่าน่าจะได้รับอิทธิพลมาจากนิทานสุภาษิตเปอร์เซียเรื่องอิหร่านราชธรรม หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สิบสองเหลี่ยม เนื่องจากปรากฏข้อความบนทะเบียนเก่าของหอสมุดวชิรญาณ

ยุขัน
ชื่ออื่นยุขัน (สิบสองเหลี่ยม)
กวีไม่ปรากฏ
ประเภทบทละครนอก
คำประพันธ์กลอนบทละคร
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมวรรณศิลป์

ประวัติ

แก้

ยุขัน มีชื่อระบุในสมุดไทยว่า ยุขัน (สิบสองเหลี่ยม) อีกทั้งเนื้อเรื่องตอนต้นก็ได้กล่าวถึงเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นในเมืองสิบสองเหลี่ยม แต่กระนั้น ก็มีอิทธิพลของชวา และบทละครเรื่อง อิเหนาเข้ามาปะปนอยู่ด้วย เช่น ชื่อของตัวละคร หรือตำแหน่งต่างๆ เช่น "ประไหมสุหรี" เป็นต้น

บทละครนอกเรื่อง ยุขัน พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ จุลศักราช 1240 (พ.ศ. 2421) เป็นการพิมพ์รวมเล่มสมุดไทยตั้งแต่เล่มที่ 1-23 และมิได้มีการพิมพ์เผยแพร่อีก จนกระทั่งในปีพุทธศักราช 2548 กรมศิลปากรพิจารณาเห็นว่า บทละครเรื่องยุขันมีคุณค่าต่อการศึกษาวรรณกรรมไทยในแง่ของการได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมต่างชาติ จึงได้มีการตรวจสอบชำระ และจัดพิมพ์เผยแพร่ขึ้นมาอีกครั้ง

เนื้อเรื่องย่อ

แก้

บทะครนอกเรื่องยุขัน แบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนต้นเรื่องกล่าวถึงกำเนิดของ "นางประวะลิ่ม" ซึ่งเป็นนางเอกของเรื่อง ส่วนตอนที่สอง กล่าวถึงการผจญภัยของ "ยุขัน" ซึ่งมีความยืดยาวและพิสดารมาก เริ่มตั้งแต่ออกตามหานกวิเศษชื่อ "หัสรังสี" และพบ "นางประวะลิ่ม" จนกระทั่งจบถึงตอนยุขันจัดเตรียมเครื่องบรรณาการไปกราบพระดาหลีมหามุณี และเดินทางไปกราบพระบรมศพพระเจ้าอุรังยิดที่เมืองอุรังยิด

ความตอนต้น

แก้

"ท้าวเวณุมาน" เป็นกษัตริย์ครองเมืองสิบสองเหลี่ยม มีมเหสีชื่อ "บุปผา" แต่กลับไม่มีโอรสธิดาสืบสกุล อยู่ต่อมา "เมืองกาหรำ" ซึ่งเป็นเมืองขึ้น เกิดแข็งเมือง ท้าวเวณุมานจึงใช้ให้ "สุสิหลำ" เป็นแม่ทัพยกไปปราบซึ่งต้องออกศึกนานถึง 7 ปี สุสิหลำมีภรรยาชื่อ "นางมาลา" และลูกสาวชื่อ "นางวัลลุมาลี" สุสิหลำได้รำลาภรรยาและบุตรสาว พร้อมทั้งกำชับบุตรสาวว่าให้ครองตนเป็นโสดจนกว่าตนจะกลับมาแล้วจะเลือกคู่ครองที่เหมาะสมให้กับนางวัลลุมาลีเอง ในวันที่นางมาลา และนางวัลลุมาลีไปส่งสุสิหลำนั้น อุเซนซึ่งเป็นบุตรของโปหะเศรษฐีและสหายนามว่า อุซ่าหรำได้มาชมการเคลื่อนทัพในครั้งนั้นด้วย ทำให้อุเซนได้พบและหลงรักนางวัลลุมาลีตั้งแต่แรกพบ เช่นเดียวกันกับนางวัลลุมาลีก็มีใจให้กับอุเซนเช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้อุเซนตัดสินใจลอบเข้าหานางวัลลุมาลีโดยปีนเข้าไปทางหน้าต่าง และมีอุซ่าหรำคอยช่วยอยู่ นางวัลลุมาลีได้เล่าให้อุเซนฟังถึงคำสัตย์ปฏิญาณต่อบิดา ทั้งสองจึงตกลงที่จะรอคอยและทำตามสัญญานั้นอย่างเคร่งครัด และพูดคุยโดยมิแตะเนื้อต้องตัวกัน

จนกระทั่งในคราหนึ่ง ท้าวเวณุมานทรงปลอมพระองค์เป็นทหารนายตรวจเพื่อตรวจดูความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง เมื่อผ่านมายังหน้าบ้านสุสิหลำเห็นสายห่วงห้อยลงมาจากหน้าต่างห้องนางวัลลุมาลี จึงทรงปีนไปตามสายห่วงนั้น และได้เห็นพฤติกรรมของทั้งสองคน จึงทรงดำริที่จะทดลองในความซื่อสัตย์ของทั้งสองโดยออกอุบายให้ทหารจับตัวอุเซนไปประหารชีวิต ฝ่ายอุเซนเมื่อทราบว่าความผิดของตนร้ายแรงถึงขั้นนั้น จึงได้กล่าวขอร้องให้อุซ่าหรำเป็นตัวประกันแทนชั่วคราว เพื่อตนจะได้ไปบอกลานางวัลลุมาลีเป็นครั้งสุดท้าย ด้วยความเป็นมิตรแท้อุซ่าหรำก็ตกลงด้วยความเต็มใจ ท้าวเวณุมานสะกดรอยคามไปและได้ฟังถ้อยคำที่รำลากันตลอดทั้งคืน ก็ทรงชื่นชมในความสัตย์ของคนทั้งสองและตั้งใจจะชุบเลี้ยงให้เป็นบุตรของพระองค์อย่างดี

ครั้นรุ่งเช้า อุเซนก็จึงยอมไปมอบตัวและเปลี่ยนตัวแทนอุซ่าหรำ ในขณะนั้นเองสุสิหลำก็ชนะศึกเมืองกาหรำและเดินทางกลับมาทัน ทราบข่าวว่าท้าวเวณุมานจะลงอาญาผู้กระทำความผิดที่ลอบเข้าหาลูกสาวตนจึงรีบตามไปเข้าเฝ้ายังพลับพลาที่ประทับ นางวัลลุมาลีซึ่งปลอมตัวเป็นชายมาเฝ้าดูเหตุการณ์ก็จงใจควบม้าตัดหน้าพระที่นั่ง ท้าวเวณุมานซึ่งทรงทราบล่วงหน้าแล้วว่าชายปลอมดังกล่าวคือนางวัลลุมาลี จึงแสร้งเป็นพิโรธหนักแล้วสั่งให้สุสิหรำจับตัวมาลงโทษให้ได้

เมื่อความจริงปรากฏนางวัลลุมาลีจึงทูลตอบท้าวเวณุมานว่า ที่ตนกระทำการเช่นนั้นเพราะตั้งใจจะยอมตายพร้อมกับอุเซน ท้าวเวณุมานจึงให้สุสิหรำพิจารณาคดี สุสิหรำแม้จะรักลูกสักปานใดแต่ด้วยความซื่อสัตย์จึงตัดสินใจให้ประหารชีวิตนางวัลลุมาลี ส่วนโปหะเศรษฐีซึ่งทราบข่าวก็ทูลตัดสินให้ประหารชีวิตอุเซนเช่นกันเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างสืบไป

ท้าวเวณุมานทรงพอพระทัยและซาบซึ้งในความซื่อสัตย์ของบุคคลทั้ง ๕ เป็นอย่างยิ่ง จึงทรงอภัยโทษ แล้วแต่งตั้งอุเซนกับนางวัลลุมาลีเป็นโอรสธิดาบุญธรรมของพระองค์ จากนั้นก็กำหนดฤกษ์ทำพิธีสยุมพรให้กับคนทั้งสอง ฝ่ายอุเซนได้มอบข้าวของมีค่ามากมายให้แก่อุซ่าหรำเพื่อตอบแทนบุญคุณของสหายรัก

หลังจากท้าวเวณุมานสิ้นพระชนม์ลงแล้ว อุเซนก็ได้ขึ้นครองราชย์ ณ เมืองสิบสองเหลี่ยมแทนปรากฏพระนามว่า พระเจ้าอุเรเซ็นและเปลี่ยนนามพระนครเป็นเมืองอุเรเซ็น ทรงแต่งตั้งอุซ่าหรำให้เป็นอุปราชฝ่ายหน้า ดูแลราษฎรให้เป็นสุขสิบไป

ความตอนที่สอง

แก้

พระเจ้าอุเรเซ็นทรงมีโอรสธิดากับนางวัลลุมาลีซึ่งดำรงตำแหน่งประไหมสุหรี พระธิดาองค์โตนามว่า "ประวะลิ่ม"ซึ่งงดงามราวกับนางอัปสรสวรรค์ และ พระโอรสองค์น้องนามว่า"อุราหงัน"ซึ่งมีความหล่อเหลางดงามไม่แพ้กัน

 
"โฉมยงองค์ประไหมสุหรี มีบุตรีแน่งน้อยเสนหา
ทรงโฉมประโลมละลานตา นางในใต้ฟ้าไม่เทียมทัน
ทรงนามประวะลิ่มวรลักษณ์ ประไพพักตร์เพียงอัปสรสวรรค์
มีราชกุมารดังดวงจันทร์ ทรงนามอุราหงันโสภา
พระแสนพิศวาสเป็นพ้นนัก ด้วยสองลูกรักเสนหา
เย็นเช้าขึ้นเฝ้าทุกเวลา องค์พระบิดาชนมาน"

จะกล่าวถึง ท้าววิเรนทรซึ่งบำเพ็ญฌานอยู่ที่เขาแก้วเจ็ดประการในป่าหิมพานต์ ด้วยอำนาจแห่งตบะเดชะนั้นจึงเป็นที่เกรงกลัวแก่บรรดา คนธรรพ์ ยักษ์ นาค ครุฑ เทพ และอมนุษย์ทั้งหลาย ต่างก็พากันมานอบน้อมและคอยอุปัฏฐากท้าววิเรนทรอยู่เป็นนิจ อยู่มาคราวหนึ่งเป็นฤดูกาลที่นารีผลในป่าหิมพานต์ออกลูก พวกเทพ คนธรรพ์ และอมนุษย์ทั้งหลายต่างก็พากันยื้อแย่งเก็บนารีผลไปเชยชม มีวิทยาธรกลุ่มหนึ่งทำการแย่งชิงรบรากันจนสิ้นชีพ ดวงแก้ววิเศษประจำตัวลูกหนึ่งก็ร่วงหล่นลงสู่หน้าบรรณศาลาของท้าววิเรนทร ๆ ทราบในฌานว่า แก้วกายสิทธิ์ดวงนี้มีฤทธานุภาพมหาศาลควรจะเสี่ยงทายให้ผู้มีบุญมีคุณธรรมได้ครอบครอง จึงจารึกสรพพคุณของแก้วนั้นไว้บนยอดเขา แล้วเสกดวงแก้วนั้นให้เป็นนกชื่อว่านกหัสรังสีซึ่งมีสีเลื่อมพรายงดงามราวปักษาสวรรค์ จากนั้นท้าววิเรนทรก็สั่งให้นกนั้นบินไปยังทิศตะวันออก

นกหัสรังสีบินไปกลางมหาสมุทรจนพบกับเรือกำปั่นสินค้าของมะระงิดพ่อค้าชาววิลันดา (ฮอลันดา) จึงบินลงจับที่ท้ายเรือ มะระงิดเห็นความงามของนกจึงคิดจับไปถวายเป็นบรรณาการแก่พระเจ้าอุเรเซ็น นกก็ยินยอมให้จับแต่โดยดีพร้อมกับร้องออกมาเป็นชื่อของตนว่า "หัสรังสี" เมื่อพระเจ้าอุเรเซ้นทอดพระเนตรเห็นนกมีสีสันงดงามราวกับปักษาสวรรค์แถมยังกล่าวเจรจาได้ จึงตบรางวัลให้กับมะระงิดมากมาย แล้วให้ช่างทำกรงทองประดับพลอย ให้นางพี่เลี้ยงสันหยานำไปมอบเป็นของขวัญแก่นางประวะลิ่ม ซึ่งนางเองก็พอพระทัยนกหัสรังสีเป็นอันมาก

กล่าวถึงองค์ปะตาระกาหลาซึ่งเป็นเทวดาบนสวรรค์ เกิดร้อนอาสน์ จึงเล็งตาทิพย์ลงมาเห็นหางประวะลิ่มและยุขันเป็นเนื้อคู่ตุนาหงันกัน จึงคิดใช้นกหัสรังสีเป็นสื่อสัมพันธ์ ปะตาระกาหลาจึงได้ลงมาเขียนสารบรรยายคุณวิเศษของนกนั้นไว้ข้างแท่นบรรทมของท้าวอุรังยิดเจ้าเมืองอุรังยิด ซึ่งมีโอรสรูปงามสององค์ คือ ยุดาหวันองค์พี่ กับยุขันองค์น้อง ครั้นท้างอุรังยิดได้ทราบความในสารดังกล่าวทราบถึงคุณวิเศษของดวงแก้วกายสิทธิ์ที่อยู่ในศีรษะนกนั้น จึงมีความปรารถนาจะได้ไว้ครอบครอง ยุดาหวันและยุขันจึงรับอาสาที่จะไปนำนกหัสรังสีมาถวาย ก่อนออกเดินทางท้าวอุรังยิดได้ให้โหรหลวงทำนายได้ความว่า ทั้งสองพี่น้องจะประสบชัย อีกอีกสามปีจึงจะได้กลับมาบ้านเมือง ทั้งสองพี่น้องจึงเริ่มออกเดินทางไปในป่าจนพบกับเสาประโคนใหญ่ตั้งไว้ที่เชิงเขามีจารึกใจความว่า"พระพรหมได้สาปไว้ว่าผู้ใดมาถึงเสาประโคนนี้ หากมาเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มให้แยกเดินทางซ้ายขวาคนละทาง หากไปด้วยกันจะมีภัยถึงชีวิตทั้งคู่ หากแยกกันเดินก็จะได้พบกับพระมหาฤษ๊สั่งสอนวิชาให้ และจะเดินทางไปยังเมืองอุเรเซ็นอย่างปลอดภัย ทั่งสองพี่น้องได้อ่านสารจารึกดังกล่าวก็บังเกิดความเศร้าโศกรำพึงรำพันว่า

 
"ชะรอยกรรมจำพรากจากไกล ขืนไปจะม้วยวายชนม์"

แล้วจึงแยกเดินจากกันด้วยความอาลัย ยุดาหวัน เดินทางรอนแรมจากน้องมาในป่าได้ ๗ เดือน ๗ วัน จนมาถึงเมืองจะรังหงูจึงได้พักหลับนอนอยู่ในบรรณศาลาหน้าเมือง ขณะนั้นภายในเมืองเกิดความวุ่นวาย เพราะพระเจ้าจะรังหงูสิ้นพระชนม์ ไม่มีโอรสสืบราชสมบัติต่อ มีเพียงพระธิดาผู้โสภานามว่านางกัญจะหนา ฝ่ายประไหมสุหรีเกรงว่าหากปล่อยว่างกษัตริย์ไว้นาน อาจถูกอริราชศัตรูฉวยโอกาสมาชิงเมืองได้จึงให้เสนาบดีทั้ง ๔ ประชุมเรียกโหราจารย์ทั้งหลายทำการเสี่ยงพิชัยราชรถ หาผู้มีบุญมาปกครองบ้านเมือง แล้วทำการเสี่ยงไปราชรถก็ทำประทักษิณรองเมืองไปเกยแทบเท้าของยุดาหวันซึ่งนอนอยู่ในศาลา เสนาบดีจึงให้ประโคมดนตรีขึ้นจนยุดาหวันตื่นบรรทมแล้วจึงทูลเชิญให้เข้าพระนคร ยุดาหวันจึงได้เล่าความเป็นมาของตนให้องค๋ประไหมสุหรีฟังจึงทราบว่าเป็นหน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์เช่นกัน จึงให้ทำการอภิเษกองค์ยุดาหวันเครียงคู่กับนางกัญจะหนาให้เป็นกษัตริย์ปกครองเมืองจะรังหงูสืบไป

ฝ่ายยุขันหลังจากแยกทางกับพระเชษฐาแล้ว ก็รอนแรมมาในป่าจนกระทั่งพบกับอาศรมของพระรักขิตมหาฤๅษีตามที่ในจารึกบอกไว้ จึงเข้าไปกราบแล้วเล่าเรื่องราวของตนแล้วถามทางไปเมืองอุเรเซ็น พระฤๅษีทราบเรื่องก็เกิดความเมตตาจึงกล่าวว่า อันหนทางจะไปเมืองอุเรเซ้นนั้น เต็มไปด้วยอันตรายมากมาย มีทั้งยักษ์มาร และแม่น้ำที่ลึกและกว้าง เมื่อเห็นว่าพลัดพรากจากพระเชษฐาจึงร่ายเวทย์ชุบคนขึ้นมาต่างหน้าพี่ชายไว้เป็นเพื่อนเดินทางแล้วตั้งชื่อให้ว่า เจ้าลิขิต ทั้งสองจึงฝากตัวเป็นศิษย์ของฤๅษี ก่อนออกเดินทางพระฤๅษีจึงได้มอบพระขรรค์แก้วให้กับเจ้าลิขิต และมอบธนูกับศรวิเศษให้กับยุขัน แล้วทั้งสั่งสอนว่าทางข้างหน้าอันตรายให้อยู่ช่วยดูแลกันและกันอย่าประมาท จากนั้นก็จึงอวยพรและชี้ทางให้ ทั้งสองเดินทางเรื่อยมาจนล่วงเข้าเขตที่อยู่ของยักษ์มัตตะริมซึ่งอาศัยอยู่ปราสาททิพย์กลางป่า และมีอาวุธวิเศษคือกระบองแก้วสุริยกานต์อันมีฤทธิ์คือหากกวัดแก่วง ก็จะขอสิ่งที่อยากได้ตามใจนึก นอกจากนี้ยังมีอสูรทหารเอก ซึ่งคอยเผ้าหน้าด่านในป่าอยู่ถึงสามชั้นคือ อสุรปานัน, วายุกันยักษ์ และ นันทสูร อยู่มาวันหนึ่ง อสูรมัตตะริมนั้นเกิดเปล่าเปลี่ยวจิต คิดหาคู่ครองจึงควงอาวุธเหาะหาสาวงามจนล่วงไปถึงเมืองไอสุริยา