ยางพาราในประเทศไทย
การปลูกยางพาราในประเทศไทยไม่มีหลักฐานบันทึกแน่นอน แต่คาดว่าน่าจะเริ่มมีการปลูกในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2442-2444 ซึ่งพระยารัษฏานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เจ้าเมืองตรังในขณะนั้น นำเมล็ดยางพารามาปลูกที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นครั้งแรก เนื่องจากพริกไทยราคาตกต่ำ [1] ซึ่งชาวบ้านเรียกต้นยางชุดแรกนี้ว่า "ต้นยางเทศา"[2] และต่อมาได้มีการขยายพันธ์ยางมาปลูกในบริเวณจังหวัดตรังและนราธิวาส ในปี พ.ศ. 2454 ได้มีการนำพันธุ์ยางมาปลูกในจังหวัดจันทบุรีซึ่งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยหลวงราชไมตรี (ปูม ปุณศรี) เป็นผู้นำพันธุ์ยางมาปลูก และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้มีการขยายพันธุ์ปลูกยางพาราใน 14 จังหวัดภาคใต้ และ 3 จังหวัดภาคตะวันออก นอกจากนี้ยังมีการขยายพันธุ์ยางมาปลูกในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ
ยางพาราประเภทยางดิบ ผลิตภัณฑ์ยาง และไม้ยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ เป็นพืชสร้างรายได้ส่งออกมากเป็นอันดับสอง[ต้องการอ้างอิง] และมีปริมาณการส่งออกยางธรรมชาติเป็นอันดับหนึ่งของโลกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ซึ่งในปี พ.ศ. 2543 มีผลผลิตจากยางธรรมชาติประมาณ 2.4 ล้านตัน มีมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 124,000 ล้านบาท เดิมพื้นที่ที่มีการปลูกยางส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้และภาคตะวันออก แต่ในปัจจุบันมีการขยายการปลูกเพิ่มขึ้นไปยังภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก โดยเฉพาะยางพาราจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างในเขตจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดศรีสะเกษ จัดเป็นยางพาราคุณภาพดีไม่ต่างจากแหล่งผลิตเดิมในเขตภาคใต้และภาคตะวันออก พื้นที่ที่เหมาะแก่การปลูกยางทั่วประเทศมีทั้งหมด 55.1 ล้านไร่ แต่พื้นที่ปลูกจริงมีประมาณ 19 ล้านไร่เกษตรกร 1,200,000 คน สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ 4 แสนล้านบาท[ต้องการอ้างอิง]
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การปลูกยางพารา
แก้บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
- ปัจจัยทางดิน
- เป็นพื้นที่ที่ความลาดชันไม่เกิน 35 องศา ถ้าความลาดชันเกินกว่า 15 องศาการปลูกต้องทำแบบขั้นบันได
- หน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร มีการระบายน้ำดี ไม่มีชั้นหินหรือชั้นดินดาน
- ระดับน้ำใต้ดินต่ำกว่าระดับผิวดินมากกว่า 1 เมตร
- เนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวถึงร่วนทราย ไม่เป็นดินเกลือหรือดินเค็ม
- ไม่เป็นพื้นที่นาหรือที่ลุ่มน้ำขัง สีของดินควรมีสีสม่ำเสมอตลอดหน้าตัดดิน
- ดินไม่มีชั้นกรวดอัดแน่นหรือแผ่นหินแข็งในระดับต่ำกว่าหน้าดินไม่ถึง 1 เมตร เพราะจะทำให้ต้นยางไม่สามารถใช้น้ำในระดับรากแขนงในฤดูแล้งได้ และหากช่วงแล้งยาวนานจะทำให้
- ต้นยางตายจากยอดลงไป
- ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 600 เมตร ถ้าสูงกว่านี้อัตราการเจริญเติบโตของต้นยางจะลดลง
- มีค่า pH ระหว่าง 4.5-5.5 ไม่เป็นดินด่าง
- ปัจจัยทางภูมิอากาศ
- ปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,255 มิลลิเมตรต่อปี
- มีจำนวนวันฝนตก 120-150 วันต่อปี
โรคและแมลงศัตรูยางพารา
แก้- โรคใบร่วงและฝักเน่า[3] : โรคเกิดจากเชื้อรา โดยมีอาการใบยางร่วงในขณะที่ใบยังสด
- โรคราแป้ง : โรคเกิดจากเชื้อรา โดยมีอาการปลายใบอ่อนบิดงอ เปลี่ยนเป็นสีดำและร่วง ใบแก่มีปุยสีขาวเทาใต้ใบ เป็นแผลสีเหลืองก่อนที่จะเป็นเป็นรอยไหม้สีน้ำตาล
ปัญหาราคา
แก้ในช่วงที่ผ่านมามีการประท้วงโดยเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในไทย เนื่องจากสาเหตุที่ราคายางในไทยตกต่ำอย่างน่าเป็นห่วง ปัญหาหลักเกิดจากอุปทานยางพาราในโลกเพิ่มสูงขึ้น ประเทศจีนซึ่งผู้บริโภคยางพาราอันดับ 1 ของโลกและเป็นผู้นำเข้ายางพาราอันดับ 1 ของไทย ได้มีแนวโน้มที่จะขยายพื้นที่เพาะปลูกยางพาราทั้งในและต่างประเทศ (กลุ่มกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม) อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการใช้ในประเทศตัวเอง ทำให้มียางพาราออกมาสู่ตลาดอย่างมากมาย บทบาทของไทยในตลาดยางพาราโลกก็ลดลง
สถิติสำคัญทางเศรษฐกิจ [ต้องการอ้างอิง]
ข้อมูล | 2008 | 2009 | 2010 | 2011 | 2012 | 2013 |
---|---|---|---|---|---|---|
มูลค่าการส่งออก (ล้านบาท) | 223,628.25 | 146,263.60 | 249,262.50 | 383,318.60 | 270,153.85 | 249,288.97 |
จำนวนยางพารา (ตัน) | 3,166,910 | 3,090,280 | 3,051,781 | 3,348,897 | 3,625,295 | 3,862,996 |
พื้นที่เพาะปลูก (ไร่) | 16,716,945 | 17,254,317 | 18,095,028 | 18,461,231 | NA | NA |
ผลผลิตต่อไร่ (กิโลกรัม) | 278 | 266 | 253 | 262 | 263 | 255 |
แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม
แก้- ชุลีพร วิรุณหะ. (2559). น้ำตาล ข้าว ดีบุก ยางพารา: การค้าและการผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงสงครามโลกครั้งที่ 2. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อ้างอิง
แก้- Rubber research institute of Thailand. Thai’s rubber development strategy (2009-2013).
- http://www.rubberthai.com/about/strategy.php (22/8/2014)
- Rubber History. Office of the rubber replanting aid fund.
- http://www.rubber.co.th/ewtadmin/ewt/rubber_eng/ewt_news.php?nid=1198 เก็บถาวร 2016-03-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (22/8/2014)
- The Thai rubber association. Thai rubber statistic.
- http://www.thainr.com/th/?detail=stat-thai (22/8/2014)
- http://www.arda.or.th/kasetinfo/south/para/used/01-03.php เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ สุวิทย์ รัตนพงศ์ อธิวีณ์ แดงกนิษฐ์ อัญญาณี มั่นคง และ อิศวรี ทุมรัตน์ สำนักงานตลาดกลางยางพารานครศรีธรรมราช สถาบันวิจัยยาง , 111 ปี วิถีตลาดยางพาราไทย จากพ่อค้าเร่สู่ ตลาดกลางยางพาราระดับโลก
- ↑ เสาวณีย์ ก่อวุฒิกุลรังษี, การผลิตยางธรรมชาติ, 2547, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
- ↑ พูลผล ธรรมธวัช, ยางพารา, เซาเทิร์นรับเบอร์, สงขลา, หน้า 312-314