ยาคูลท์ (ญี่ปุ่น: ヤクルトโรมาจิYakuruto; โรมัน: Yakult) เป็นเครื่องดื่มอย่างนมโปรไบโอติกส์ เกิดจากกระบวนการหมักของนมพร่องมันเนยกับน้ำตาลและแบคทีเรียแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus casei Shirota) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบในระบบดูดซึมอาหารของมนุษย์ ซึ่งส่งผลช่วยให้ระบบในร่างกายของมนุษย์ทำงานได้ดีขึ้น ชื่อของยาคูลท์มาจากภาษาเอสเปรันโต คำว่า jahurto รูปเก่าของ jogurto ซึ่งหมายถึงโยเกิร์ต[1]

ยาคูลท์
ยาคูลท์ ที่วางขายในประเทศไทย
ประเภทเครื่องดื่ม
อุตสาหกรรมการผลิตยาคูลท์ ฮนชะ
ผู้จัดจำหน่ายยาคูลท์ ฮนชะ
ประเทศต้นกำเนิดญี่ปุ่น
เปิดตัวค.ศ. 1935
สีลูกท้ออ่อน
ส่วนผสมส่วนผสม

ยาคูลท์นั้น ศาสตราจารย์มิโนรุ ชิโรตะ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกียวโต คิดค้นขึ้นใน พ.ศ. 2473 และต่อมาใน พ.ศ. 2478 เขาได้ก่อตั้งบริษัทยาคูลท์ (Yakult Honsha Co., Ltd.) ที่เขตมินาโตะ จังหวัดโตเกียว ปัจจุบันได้มีการผลิตและจำหน่ายยาคูลท์ไปทั่วโลก

ทีมเบสบอลโตเกียวยาคูลท์สวอลโลวส์ (Tokyo Yakult Swallows) ได้รับการตั้งชื่อตามบริษัทยาคูลท์ภายหลังที่บริษัทยาคูลท์ได้ซื้อทีมในปี พ.ศ. 2513

พ.ศ. 2514 ยาคูลท์ เริ่มวางจำหน่ายในประเทศไทย

คุณค่าทางโภชนาการ

แก้

ยาคูลท์มาตรฐาน (ไม่รวมรูปแบบที่มีการเปลี่ยนแปลง เช่นในยาคูลท์ไลท์) ประกอบด้วย: [2]

  • น้ำตาล (ซูโครสเดกซ์โทรส) เพื่อความสมดุลของรสเปรี้ยวกับความหวาน
  • ผงนมไขมันต่ำ
  • รสธรรมชาติ
  • สิ่งมีชีวิตแบคทีเรียแลกโตบาซิลลัส คาเซอิ สายพันธุ์ ชิโรต้า (Lactobacillus Casei Shirota) จำนวน 8 พันล้านตัว ต่อ 1 ขวดขนาด 80 มิลลิลิตร (ความเข้มข้น 10 8 CFU/ml)
  • น้ำ

ยาคูลท์มาตรฐานประกอบด้วยน้ำตาล 18 กรัม ในทุก ๆ 100 กรัม, ซึ่งอยู่ในรูปแบบขวดขนาด 80 มิลลิลิตร นี่คือความเข้มข้นที่สูงกว่าระดับที่กำหนดไว้ที่ระดับ "HIGH" โดยสำนักงานมาตรฐานอาหารแห่งสหราชอาณาจักร (ตามที่ได้กำหนดความเข้มข้นของน้ำตาลไว้ที่ระดับสูงกว่า 15 กรัม ต่อ 100 กรัม) [3]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ที่มาของชื่อยาคูลท์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-20. สืบค้นเมื่อ 2006-04-14.
  2. "Yakult Australia – Nutritional Information". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-15. สืบค้นเมื่อ 2007-01-16.
  3. "Food Standards Agency – Healthy Diet – Sugars". Eatwell.gov.uk. 2011-03-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-11. สืบค้นเมื่อ 2011-11-17.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้