มูลนิธิโคอาลาออสเตรเลีย

มูลนิธิโคอาลาออสเตรเลีย (อังกฤษ: Australian Koala Foundation; อักษรย่อ: AKF) เป็นองค์กรวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติที่ไม่หวังผลกำไรซึ่งมุ่งเน้นที่จะลดภัยคุกคามต่อการอยู่รอดของโคอาลา และในการทำเช่นนั้นจะเป็นการเพิ่มความตระหนักต่อประชาคมโลกเพื่อช่วยรักษาสัตว์และพืชที่ใกล้สูญพันธุ์[1] โดยเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรนอกภาครัฐ ที่อุทิศตนเพื่อการอนุรักษ์และการจัดการโคอาลาป่าอย่างมีประสิทธิภาพ

มูลนิธิโคอาลาออสเตรเลีย
ก่อตั้ง17 มกราคม ค.ศ. 1986
ผู้ก่อตั้งสตีฟ บราวน์
แบรี สกอตต์
วัตถุประสงค์การอนุรักษ์โคอาลาในป่าระยะยาว
ที่ตั้ง
บุคลากรหลัก
เดโบราห์ ทาบาร์ต, โอเอเอ็ม
เว็บไซต์www.savethekoala.com

หมีโคอาลาอาศัยอยู่กับอาหารคือพืชยูคาลิปตัส ต้นไม้จำนวนมากเหล่านี้กำลังถูกแผ้วถางในแต่ละปี จุดสนใจหลักของมูลนิธิโคอาลาออสเตรเลีย คือการได้รับการออกกฎหมายใหม่เพื่อปกป้องต้นไม้ของโคอาลา[2] องค์กรนี้ไม่มีรูปแบบของเงินทุนจากรัฐบาลโดยสมัครใจ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียสามารถเสวนาได้อย่างอิสระสำหรับโคอาลาโดยไม่มีข้อจำกัดของรัฐบาล ดังนั้น มูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียจึงอาศัยการบริจาค, การสนับสนุน และการระดมทุน เพื่อเป็นเงินทุนในการทำงานที่กำลังดำเนินอยู่ การวิจัยของมูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียระบุว่า บางแห่ง หมีโคอาลาระหว่าง 52,000 ถึง 87,000 ตัวยังคงอยู่ในป่า การสูญพันธุ์ในท้องถิ่นเกิดขึ้นเป็นประจำ และมูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียเชื่อว่าวิธีเดียวที่จะปกป้องและฟื้นฟูประชากรในอนาคตก็คือพระราชบัญญัติคุ้มครองโคอาลา[2]

ประวัติ แก้

 
การปกป้องที่อยู่อาศัยและการจัดการประชากรโคอาลาเป็นเป้าหมายของมูลนิธิ

ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 สตีฟ บราวน์ บัณฑิตสัตวแพทย์ผู้ที่มีความสนใจเป็นพิเศษต่อโคอาลา กำลังศึกษาต่อปริญญาเอกในมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ โดยมุ่งเน้นไปที่สภาพทางพยาธิวิทยาที่ไม่ปกติในโคอาลา ในถุงน้ำรังไข่ ภาวะนี้เกี่ยวข้องกับอัตราการสืบพันธุ์ต่ำ เขาให้หลักฐานแสดงว่าโรคหนองในเทียมอาจมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงประชากรของฝูงโคอาลาป่า อันเป็นผลมาจากการศึกษาของเขา โดยเชื่อว่าโรคหนองในเทียมเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อสายพันธุ์ ที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางของสิ่งมีชีวิต ความเชื่อมั่นนี้นำเขาไปหาการสนับสนุนการจัดตั้งองค์กรซึ่งอาจเป็นแหล่งทุนวิจัยสำหรับโคอาลาและแก้ปัญหาให้แก่พวกมันได้

ในปี ค.ศ. 1985 เมื่อแบรี สกอตต์ ได้รับการขอให้จัดการโอเอซิสทัวริสต์การ์เดน เขาได้พบกับสตีฟ บราวน์ ผู้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาสัตวแพทย์กิตติมศักดิ์ให้กับกลุ่มโคอาลาที่เป็นโรคซึ่งอาศัยอยู่ที่นั่น สตีฟเป็นผู้สนับสนุนอย่างแข็งขันสำหรับโคอาลา และเขาได้แรงบันดาลใจจากแบรีผู้แนะนำให้จัดตั้งมูลนิธิสำหรับโคอาลา พวกเขาช่วยกันรวบรวมเพื่อนและผู้สนับสนุนรอบตัวเพื่อสร้างองค์กรในการช่วยรักษาโรคแก่โคอาลา ตลอดจนช่วยคุ้มครองจากจำนวนที่ลดลง

การก่อตั้งได้รับการร่างขึ้น และเมื่อวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1986 หนังสือรับรองการจดทะเบียน (เลขที่ 1262) ได้ออกในชื่อของสมาคมโคอาลาออสเตรเลีย อิงค์ (Australian Koala Association Inc.) ชื่อนี้มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1986 เป็นมูลนิธิโคอาลาออสเตรเลีย อิงค์ (Australian Koala Foundation Inc.) ซึ่งต่อมาคำว่า อิงค์ ได้หลุดออกไป

ในวันแรก ๆ แบรี สกอตต์ เดินทางจากบริสเบนถึงเพิร์ท, แอดิเลด และซิดนีย์ โดยจัดตั้งสาขาและพาคนเข้าร่วม ซึ่งจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานของการสนับสนุนเป็นพิเศษของมูลนิธิโคอาลาออสเตรเลีย

จุดเริ่มต้นของมูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียคือการ "ระดมทุน 5 ล้านดอลลาร์เพื่อช่วยโคอาลา" ในตอนแรกฉันทามติทั่วไปคือโรคที่รู้จักกันทั่วไปว่าหนองในเทียม เป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อหมีโคอาลาและจำเป็นต้องได้รับการรักษาเพื่อให้สามารถช่วยชีวิตประชากรของพวกมันได้ อย่างไรก็ตามไม่นานนัก มีการตระหนักว่าการทำลายถิ่นฐานธรรมชาติยังเป็นสาเหตุปัญหาหลักของของหมีโคอาลา ทิศทางของมูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียจึงมุ่งสู่การฟื้นสภาพจากการสูญเสียที่อยู่อาศัยของพวกมัน

เดโบราห์ ทาบาร์ต โอเอเอ็ม ได้เป็นผู้นำมูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียในฐานะซีอีโอตั้งแต่ปี ค.ศ. 1988 และได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในฐานะผู้สนับสนุนโคอาลา หรือรู้จักในฐานะ 'โคอาลาวูแมน'

ปัจจุบัน มูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียใช้วิทยาศาสตร์, การเมือง และฐานสนับสนุนทั่วโลกเพื่อชุมนุมเพื่อการเปลี่ยนแปลงในทางนิติบัญญัติ, การพัฒนาการ และในระดับบุคคล

คำขวัญรณรงค์ แก้

"ไม่มีต้นไม้ ไม่มีเรา" (No Tree No Me) เป็นคำขวัญสำหรับมูลนิธิโคอาลาออสเตรเลีย โดยเป็นศัพท์สร้างสรรค์จากดิค มาร์ก ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนของมูลนิธิโคอาลาออสเตรเลีย ในปี ค.ศ. 1994 และได้กลายเป็นคำขวัญที่เหมาะสมสำหรับมูลนิธิในฐานะที่พวกเขามุ่งเน้นไปที่การต่อสู้เพื่อการอนุรักษ์ถิ่นฐานธรรมชาติของหมีโคอาลา โดยคำขวัญนี้เป็นที่รู้จักในครัวเรือนทั่วประเทศออสเตรเลีย

การอนุรักษ์และการวิจัย แก้

มูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียได้ทำแผนที่จำลองพื้นที่กว่าสี่ล้านเฮกตาร์สำหรับแผนที่ถิ่นที่อยู่ของโคอาลา (ดูด้านล่าง) ซึ่งทางมูลนิธิเชื่อว่าโครงการเพาะพันธุ์หมีโคอาลาที่ถูกกักขัง ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาในการอนุรักษ์ประชากรโคอาลาในป่า จึงมีการแทนที่โดยการอนุรักษ์ที่อาศัยความสมบูรณ์ของป่า, ความหลากหลายทางพันธุกรรมของพวกมัน และการทำที่อยู่อาศัยให้คงอยู่

โครงการ แก้

มูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียมีโครงการต่อเนื่องหลายโครงการที่อุทิศให้กับการช่วยโคอาลาป่าผ่านการอนุรักษ์ที่อยู่อาศัย และระดมทุนเพื่อให้มูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียสามารถทำงานต่อไปแม้จะมีสถานะเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งรวมถึง :

  1. หาดโคอาลา : ที่อยู่อาศัยแห่งนี้ในภาคเหนือของรัฐนิวเซาท์เวลส์ เป็นผลมาจากความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มนักพัฒนาของเดอะเรย์กรุ๊ปและมูลนิธิโคอาลาออสเตรเลีย ซึ่งเป็นสถานที่แรกที่ได้รับการวางแผนและออกแบบโดยคำนึงถึงความสำคัญของการปกป้องสิ่งแวดล้อม กับชุมชนซึ่งมีจิตสำนึกในการประนีประนอมกับวิถีชีวิตของพวกมันเพื่อให้สามารถร่วมอยู่กับโคอาลาป่าได้
  2. แผนที่ถิ่นที่อยู่ของโคอาลา :[3] โครงการนี้เกี่ยวข้องกับการทำแผนที่, ระบุ และที่อยู่อาศัยของหมีโคอาลาเชิงประมาณ ตลอดถึงพิสัยทางภูมิศาสตร์ของหมีโคอาลาในฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุว่าต้นไม้ใดที่โคอาลาชอบเป็นพิเศษ และเพื่อระบุรวมถึงจัดอันดับที่อยู่อาศัยของหมีโคอาลาตามมูลฐานมณฑลต่อมณฑล ฐานข้อมูลที่เพิ่มขึ้นได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยการให้ข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ และความสำคัญของที่อยู่อาศัยของหมีโคอาลาที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์และจัดการที่อยู่อาศัยของหมีโคอาลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. พระราชบัญญัติคุ้มครองโคอาลา : ปัจจุบัน จุดสนใจหลักของมูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียคือพระราชบัญญัติคุ้มครองโคอาลา[2] กฎหมายในปัจจุบันมุ่งเน้นไปที่โคอาลาเท่านั้น ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยของพวกมัน[4] จึงไม่เพียงพอในการจัดหาระดับการป้องกันหมีโคอาลา[5][6][7][8] ครั้นแล้ว พระราชบัญญัติคุ้มครองโคอาลาจะมุ่งเน้นไปที่การปกป้องต้นไม้ และผลักดันรัฐบาลออสเตรเลียให้ปฏิบัติต่อหมีโคอาลาด้วยความนอบน้อมในฐานะสมบัติประจำชาติของออสเตรเลีย ที่สมควรได้รับการคุ้มครองและการอยู่รอดในระยะยาว พระราชบัญญัติดังกล่าวได้รับการสร้างแบบจำลองตามรัฐบัญญัติคุ้มครองอินทรีหัวขาว
  4. กองทัพโคอาลา : มูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียชักชวนผู้คนจากทั่วโลกเข้าร่วมกองทัพโคอาลา กองทัพโคอาลาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียในการรณรงค์สำหรับพระราชบัญญัติคุ้มครองโคอาลา กองทัพขอให้กระจายถ้อยคำ และมักได้รับการสนับสนุนให้ติดต่อสมาชิกของรัฐบาลกลางเกี่ยวกับปัญหาโคอาลา
  5. พระราชบัญญัติฤๅขวาน :[9] พระราชบัญญัติฤๅขวาน เป็นความคิดริเริ่มของมูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 เมื่อมีการตัดสินใจว่ารัฐบาลกลางออสเตรเลียและตัวแทนที่ได้มาจากการเลือกตั้งของตนจำเป็นต้องเข้าใจโคอาลาและต้นไม้ของมัน ควรและต้องได้รับการพิจารณาเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบต่อการเลือกตั้งของพวกเขา โดยรัฐบาลกลางเป็น 'ผู้พิทักษ์' ของโคอาลา ไม่ใช่สวนสัตว์, ไม่ใช่สวนสัตว์นานาชาติ, ไม่ใช่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า, ไม่ใช่ชาวออสเตรเลียโดยเฉลี่ย หากแต่เป็นรัฐบาลออสเตรเลีย มีตัวแทนที่ได้รับการเลือกตั้งโดยรัฐบาลกลาง 128 คนในถิ่นที่อยู่ของโคอาลาประเทศออสเตรเลีย และมูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียขอให้บรรดานักการเมืองเหล่านี้สนับสนุนการคุ้มครองโคอาลา สมาชิกของสาธารณะสามารถเข้าชมพระราชบัญญัติฤๅขวานทางออนไลน์ และดูเขตเลือกตั้งของพวกเขาได้ ที่นี่พวกเขาสามารถเห็นจำนวนโคอาลาและที่อยู่อาศัยที่เหลืออยู่ บวกความคิดเห็นจากเดโบราห์ ทาบาร์ต, โอเอเอ็ม หรือ ‘โคอาลาวูแมน’ ผู้เป็นซีอีโอ หากนักการเมืองของรัฐบาลกลางสนับสนุนพระราชบัญญัติคุ้มครองโคอาลา พวกเขาจะได้รับคะแนน ‘พระราชบัญญัติ’ และหากพวกเขาไม่ตอบสนอง หรือไม่สนับสนุน พวกเขาจะได้รับคะแนน ‘ขวาน’
  6. ควินแลนส์ :[10] (Quinlan's) เป็นพื้นที่ 40 เฮกตาร์ของป่าออสเตรเลีย ที่เกียรูลาใกล้เคนิลเวิร์ธ ในแผ่นดินใหญ่จากซันไชน์โคสต์ รัฐควีนส์แลนด์ ที่พักนี้ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่คู่รัก ปีเตอร์ และจูแลนน์ ควินแลน ผู้ยกที่ดินมรดกให้แก่มูลนิธิโคอาลาออสเตรเลีย ซึ่งเดโบราห์ (ซีอีโอมูลนิธิ) ได้เข้าร่วมงานที่ท้าทายความสามารถในการสร้างควินแลนส์ให้เป็นทรัพย์สินที่อวดได้ของเมือง ในฐานะป่าซึ่งตั้งใจทำเป็นพิเศษ ทั้งแสดงถึงการให้ความสำคัญของมูลนิธิ โดยที่ดินจัดสรรนี้จะใช้สำหรับการวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, การฟื้นฟูที่อยู่อาศัย และในเวลานี้ก็หวังว่าโคอาลาจะมาใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่หลบภัย

ความสำเร็จ แก้

มีความปลอดภัยที่จะกล่าวได้ว่ามูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียได้สร้างความแตกต่างในระยะเวลา 20 ปีของการดำเนินงาน และทั้งหมดโดยไม่ต้องระดมทุนของรัฐบาล ผลงานที่โดดเด่นที่สุดขององค์กร มีดังต่อไปนี้

ในปี ค.ศ. 2003 รัฐควีนส์แลนด์ระบุว่าหมีโคอาลาของเซาท์อีสต์ควีนส์แลนด์ตกอยู่ในฐานะ 'เสี่ยง' ภายใต้พระราชบัญญัติการอนุรักษ์ธรรมชาติ ค.ศ. 1992 หลังจากที่การวิจัยของมูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียได้ค้นพบข้อมูลที่น่าสนใจ มูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียได้ยื่นอุทธรณ์หลายต่อหลายครั้งทั้งในระดับรัฐและรัฐบาลกลาง แต่รัฐบาลไม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในสภานิติบัญญัติเพื่อให้เกิดการป้องกันที่มีประสิทธิภาพสำหรับหมีโคอาลาป่า

ความร่วมมือระหว่างมูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียกับเดอะเรย์กรุ๊ปส่งผลให้เกิดหาดโคอาลา เป็นที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรกับหมีโคอาลา และเป็นหลักฐานว่าการพัฒนากับการคุ้มครองสัตว์ป่าไม่จำเป็นต้องเข้ากันไม่ได้ มูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียเป็นแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยโคอาลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ผลการวิจัยรวมถึงการบริจาคจากหมีโคอาลาสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของออสเตรเลีย และการศึกษาความเป็นไปได้ของประชากรโคอาลาในภูมิภาคทางชีววิทยาต่าง ๆ

มีพื้นที่กว่า 40,000 ตารางกิโลเมตรที่ได้รับการทำแผนที่สำหรับแผนที่ถิ่นที่อยู่ของโคอาลา ไม่เหมือนโครงการทำแผนที่อื่น ๆ แผนที่นี้ไม่เพียงชี้ตำแหน่งของสายพันธุ์แบบปัจเจกเท่านั้น หากแต่แสดงถึงการเกิดขึ้นของที่อยู่อาศัยของหมีโคอาลาที่เหมาะสม (แม้ว่าจะไม่มีหมีโคอาลาอยู่ในขณะนี้) ซึ่งอาจจะ "ต่อยอด" ในอนาคตหากจำเป็น มีมากกว่า 1,000 แห่งที่ได้รับการระบุในเซาท์อีสต์ควีนส์แลนด์[11]

มูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียได้รับการยอมรับว่าเป็นแหล่งที่มาของทางเลือกสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับหมีโคอาลา พนักงานได้รับและตอบคำถามมากกว่า 10,000 คำถามรวมถึงการขอข้อมูล คำถามเหล่านี้มาจากผู้คนที่หลากหลาย ประกอบด้วยนักเรียน, ผู้จัดการที่ดิน และผู้ผลิตสารคดี เว็บไซต์ของมูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียมีการบันทึกเกือบหนึ่งล้านครั้งในแต่ละปี มูลนิธินี้ได้ก่อตั้งการริเริ่มฉลากสิ่งแวดล้อม ที่คนใช้ชีวิตในชนบทผู้สนับสนุนการอนุรักษ์ที่อยู่อาศัยของหมีโคอาลาอย่างแข็งขัน จะได้รับตราประทับของหมีโคอาลา[11]

เดือนแห่งการคุ้มครองโคอาลา แก้

 
เดือนกันยายนคือเดือนแห่งการคุ้มครองโคอาลา

เดือนกันยายนคือเดือนแห่งการคุ้มครองโคอาลา มูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียดำเนินการรณรงค์ระดมทุนเป็นประจำทุกปี ในเดือนกันยายน ซึ่งเรียกกันว่าเดือนแห่งการคุ้มครองโคอาลา[12] วันแห่งการคุ้มครองโคอาลาจัดขึ้นในวันศุกร์สุดท้ายของเดือนดังกล่าว ผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกได้รับการสนับสนุนให้ช่วยจำหน่ายสินค้าของเดือนแห่งการคุ้มครองโคอาลา เช่น รอยสักชั่วคราว, สติกเกอร์ และป้าย ไม่ว่าจะเป็นภาคบุคคล, ธุรกิจ หรือกลุ่มโรงเรียน ผู้สนับสนุนยังได้รับการสนับสนุนให้ระดมทุนด้วยกล่องบริจาคหรือกิจกรรมต่าง ๆ แล้วส่งเงินให้แก่มูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียเมื่อสิ้นเดือน โดยสิ่งจูงใจมีให้สำหรับการระดมทุนในระดับต่าง ๆ

การปรากฏตัวทั่วโลก แก้

สำนักงานและร้านค้าหลักของมูลนิธิโคอาลาออสเตรเลียตั้งอยู่ในเมืองบริสเบน นอกจากนี้ยังมีสาขา "เพื่อนของมูลนิธิโคอาลาออสเตรเลีย" ในนิวยอร์กและวอชิงตัน

อ้างอิง แก้

  1. "About | Australian Koala Foundation". www.savethekoala.com. สืบค้นเมื่อ 2015-10-21.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Koala Protection Act | Australian Koala Foundation". www.savethekoala.com. สืบค้นเมื่อ 2015-10-21.
  3. "Koala Habitat Atlas | Australian Koala Foundation". www.savethekoala.com. สืบค้นเมื่อ 2015-10-21.
  4. "Nature Conservation (Koala) Conservation Plan 2006" (PDF). Queensland Government. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-30. สืบค้นเมื่อ 1 February 2018.
  5. "Ballarat koalas under threat despite protection overlay". www.abc.net.au (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2015-10-21.
  6. "Koala populations at Gunnedah under threat from coal project". Clarence Valley Daily Examiner. สืบค้นเมื่อ 2015-10-21.
  7. Johnson, Stephen (27 August 2014). "The Australian".
  8. "Noosa koalas on the brink of extinction". Sunshine Coast Daily. สืบค้นเมื่อ 2015-10-21.
  9. "Act or Axe | Australian Koala Foundation". www.savethekoala.com. สืบค้นเมื่อ 2015-10-21.
  10. "About Quinlan's | Australian Koala Foundation". www.savethekoala.com. สืบค้นเมื่อ 2015-10-21.
  11. 11.0 11.1 Steve Austin & Peter Spearritt (29 July 2005). "Australian Koala Foundation's Deborah Tabart". ABC Queensland. Australian Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 11 March 2012.
  12. "September is Save the Koala month". Central Queensland News. APN News & Media Ltd. 2 September 2011. สืบค้นเมื่อ 11 March 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้