มุกดา, มุกดาหาร หรือ จันทรกานต์ (moonstone) เป็นแร่เฟลด์สปาร์ความแข็งประมาณ 5-6 โมส เป็นหนึ่งในนพรัตน์ของไทย[1] มีทั้งสีขาวหมอกมัวคล้ายหมอกน้ำค้างยามเช้าตามหลักการนำมาประกอบเครื่องนพรัตน์ ดังคำกลอนที่ว่า "มุกดาหารหมอกมัว" และสีอื่น ๆ เช่น ขาว ส้ม น้ำผึ้ง ขาวใส เทา น้ำตาล ส่วนมากแล้วมุกดาหารจะมีเนื้อขุ่นหาที่ใสสะอาดได้ยาก แต่เนื้อที่ขุ่นมีลักษณะพิเศษมีเหลือบรุ้งสีออกฟ้าสีนวลคล้ายดั่งดวงจันทร์ หลายวัฒนธรรมจึงมีความเชื่อว่ามุกดาหารมีกำเนิดจากแสงของพระจันทร์ บางชิ้นเกิดเส้นพาดกลางคล้ายตาแมว (คล้ายปรากฏการณ์ที่พบในไพฑูรย์แต่จะไม่คมชัดมากเท่า) ด้วยเหตุนี้จึงนิยมเจียรไนมุกดาหารเป็นทรงหลังเต่า การใช้งานควรระมัดระวังการกระทบเสียดสี ราคานั้นไม่สูงเพราะหาง่ายแหล่งที่สำคัญเช่น พม่า ศรีลังกา (สองแหล่งนี้คูณภาพสูงที่สุด) อินเดีย มาดากัสการ์ บราซิล สหรัฐ เม็กซิโก แทนซาเนีย ฯลฯ

มุกดา
การจำแนก
ประเภทแร่
สูตรเคมี(Na,K)AlSi3O8
คุณสมบัติ
สีได้หลายสี ได้แก่ ฟ้า เทา ขาว ชมพู พีช เขียว และน้ำตาล รวมไปถึงไม่มีสี
ค่าความแข็ง6.0
สีผงละเอียดสีขาว
ความถ่วงจำเพาะ2.61

นอกจากนี้มุกดายังหมายถึงไข่มุกด้วย[1]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 ราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. หน้า 913. ISBN 978-616-7073-80-4

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ มุกดา