พ่อครูมานพ ยาระณะ หรือ พ่อครูพัน (5 กันยายน พ.ศ. 2478 – 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558[2]) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะการฟ้อน, ศิลปะการต่อสู้, การตีกลองสะบัดชัยแบบโบราณ, กลองปู่จา, กลองปู่เจ่, ดนตรีพื้นบ้านล้านนาและดนตรีไทย โดยได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี พ.ศ. 2548[3]

มานพ ยาระณะ

มานพ ยาระณะ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี พ.ศ. 2548
เกิด5 กันยายน พ.ศ. 2478
อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
เสียชีวิต22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 (80 ปี)
อาชีพผู้เชี่ยวชาญ:
ศิลปะการฟ้อน
ศิลปะการต่อสู้
กลองสะบัดชัยแบบโบราณ, กลองปู่จา, กลองปู่เจ่
ดนตรีพื้นบ้านล้านนาและดนตรีไทย
คู่สมรสสมัย ยาระณะ
รางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง[1]

นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้สอนศิลปะการต่อสู้ล้านนา และมวยไทยให้แก่ พ.อ.(พิเศษ) อำนาจ พุกศรีสุข รวมถึงวิชาดาบสะบัดชัยให้แก่ณปภพ ประมวญ (ครูแปรง)[4]

ประวัติ แก้

มานพ ยาระณะ เป็นบุตรของคำปัน และบัวเขียว ยาระณะ โดยมานพได้สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดศรีดอนไชย ที่อำเภอเมืองเชียงใหม่[5] ภายหลังจากสำเร็จการศึกษาก็ได้ช่วยพ่อแม่ทำการค้า และขณะเดียวกันก็ได้ศึกษาวิชาศิลปะการต่อสู้, ศิลปะการแสดงดนตรี รวมถึงศิลปะการตีกลองล้านนาชนิดต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญ จากนั้น เขาได้ถ่ายทอดสู่สังคม โดยทำการสอนให้แก่คนรุ่นใหม่หลายรุ่น ทั้งวิชามวยไทย, การฟ้อนเจิง, ฟ้อนหอก, ฟ้อนผานประทีป, การตีกลองปู่จา, กลองสะบัดชัยแบบโบราณ, กลองมองเซิง, กลองปู่เจ่ และศิลปะการแสดงอื่น ๆ อีกหลายแขนง เป็นระยะเวลาร่วม 50 ปีโดยที่ไม่เคยเอ่ยปากขอรับค่าตอบแทนแต่อย่างใด[6][7]

ด้านผลงานที่ได้รับการกล่าวถึง พ่อครูมานพ ยังเป็นผู้ประดิษฐ์ท่าการแสดงชุด ฟ้อนขันดอก เพื่อเป็นการฟ้อนรำบูชาพระรัตนตรัย ให้บังเกิดความสงบร่มเย็นแก่บ้านเมือง[8]

พ.ศ. 2550 รายการปราชญ์เดินดิน ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ได้เคยถ่ายทอดเรื่องราวของมานพ ยาระณะ ที่ซึ่งเขารับจ้างถีบรถสามล้อในย่านตลาดสันป่าข่อย ที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่[9]

ใน พ.ศ. 2552 พ่อครูมานพ ยาระณะ ยังได้ร่วมการแสดงฟ้อน ในมหกรรมวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 82 พรรษา 5 ธันวาคม 2552 ที่จัดขึ้น ณ ป้อมมหากาฬ ถนนราชดำเนิน[10]

วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2556 พ่อครูมานพ ซึ่งเป็นศิลปินแห่งชาติ ได้รับเกียรติให้เป็นผู้ทำการผูกข้อมืออวยพรให้แก่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เนื่องในวันสงกรานต์ ที่บริเวณอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่[11]

ชีวิตส่วนตัว แก้

ด้านชีวิตส่วนตัว สมรสกับสมัย ยาระณะ และมีลูกสาว 1 คนชื่อชลธาร ยาระณะ[5][6]

เสียชีวิต แก้

มานพ ยาระณะ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ด้วยโรคมะเร็งปอด สิริอายุได้ 80 ปี สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560 ณ สุสานสันกู่เหล็ก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

เกียรติประวัติ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. หมอ มช.เตรียมตั้งโต๊ะตรวจสุขภาพรับแนวโน้มไทยก้าวสู่สังคมสูงอายุ[ลิงก์เสีย]
  2. สิ้น'พ่อครูพัน-อ.มานพ ยาระณะ'ศิลปินแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญศิลปะล้านนา
  3. "9 ศิลปินแห่งชาติครูลพ-ประเทือง - ศูนย์วิทยบริการ - กระทรวงสาธารณสุข". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-04-08.
  4. "ครูแปรง (ณปภพ ประมวญ) - มวยไชยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-04-08.
  5. 5.0 5.1 "มานพ ยาระณะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-11. สืบค้นเมื่อ 2014-04-08.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 "พ่อครูมานพ ยาระณะ - คลังเอกสารสาธารณะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-01. สืบค้นเมื่อ 2014-04-08.
  7. ล้านนาผลิต จากศิษย์ถึงครู - กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์[ลิงก์เสีย]
  8. ""ฟ้อนขันดอก" - ArtBangkok.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-28. สืบค้นเมื่อ 2014-04-08.
  9. แฉ วิน ธาวิน ทั้งขี้แกล้งและขี้งก! - Entertainment - Manager Online[ลิงก์เสีย]
  10. "มหกรรมวัฒนธรรมเทิดไท้ "องค์ราชัน" - ไทยโพสต์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-15. สืบค้นเมื่อ 2014-04-08.
  11. นายกฯให้ศิลปินแห่งชาติ "พ่อครูมานพ" ผูกข้อมืออวยพรปีใหม่ : มติชน
  12. วันศิลปินแห่งชาติ - กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม[ลิงก์เสีย]
  13. 10 ศิลปินแห่งชาติ รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ - S! News