มาตราทองคำ (อังกฤษ: gold standard) เป็นระบบเงินตราซึ่งหน่วยวัดมูลค่าทางเศรษฐกิจมาตรายึดกับทองคำปริมาณคงที่หนึ่ง มาตราทองคำใช้เป็นพื้นฐานของระบบเงินตราระหว่างประเทศตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1870 ถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1920 และตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1920 ถึงปี 1932[1][2] ตลอดจนตั้งแต่ปี 1944 ถึง 1971 เมื่อสหรัฐเลิกการให้แปลงเงินดอลลาร์สหรัฐกับทองคำ ซึ่งเป็นการยุติระบบเบรตตันวูดส์[3] ทั้งนี้ หลายรัฐยังมีทองคำสำรองปริมาณพอสมควร[4][5]

ใบรับรองทองคำใช้เป็นเงินกระดาษในสหรัฐตั้งแต่ปี 1882 ถึง 1933 ใบรับรองนี้สามารถเปลี่ยนเป็นเหรียญทองคำได้อย่างอิสระ

ในอดีต มาตราเงินและระบบโลหะสองชนิด (bimetallism) ใช้กันแพร่หลายกว่ามาตราทองคำ[6][7] การเปลี่ยนมาใช้มาตราทองคำเป็นระบบเงินตราต่างประเทศล้วนเป็นอุบัติเหตุ ความผิดปกติของเครือข่าย และผลจากสถานการณในอดีต (path dependency)[6] บริเตนใหญ่ใช้มาตราทองคำโดยพฤตินัยจากอุบัติเหตุในปี 1717 เมื่อเซอร์ไอแซก นิวตัน ซึ่งขณะนั้นเป็นหัวหน้าโรงกษาปณ์หลวง ตั้งอัตราแลกเปลี่ยนเงินเป็นทองคำต่ำเกินไป ทำให้เหรียญเงินหมดไปจากระบบ เมื่อบริเตนใหญ่กลายเป็นมหาอำนาจทางการเงินและพาณิชย์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 รัฐอื่นจึงเริ่มรับระบบการเงินของบริเตนไปใช้ด้วยมากขึ้น ๆ[8]

มาตราทองคำถูกยกเลิกไปเสียส่วนใหญ่ระหว่างภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ก่อนมีการนำกลับมาใช้อย่างจำกัดเป็นส่วนหนึ่งของระบบเบรตตันวูดส์หลังสงครามโลกครั้งที่สอง มาตราทองคำถูกยกเลิกไปเนื่องจากมีความโน้มเอียงต่อความผันผวน ตลอดจนทำให้รัฐบาลเกิดข้อจำกัด คือ ต้องมีอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ รัฐบาลไม่สามารถใช้นโยบายการเงินแบบขยายตัวเพื่อลดการว่างงานระหว่างภาวะเศรษฐกิจถดถอย เป็นต้น[9][10] มีฉันทามติในหมู่นักเศรษฐศาสตร์ว่าการหวนกลับไปใช้มาตราทองคำจะไม่เกิดประโยชน์[11] และนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ปฏิเสธแนวคิดที่ว่ามาตราทองคำ "มีประสิทธิภาพในการรักษาเสถียรภาพราคาและช่วยลดความผันผวนของวัฏจักรธุรกิจระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19"[12]

อ้างอิง แก้

  1. Eichengreen, Barry (2019). Globalizing Capital: A History of the International Monetary System (3rd ed.). Princeton University Press. pp. 7, 79. doi:10.2307/j.ctvd58rxg. ISBN 978-0-691-19390-8. JSTOR j.ctvd58rxg. S2CID 240840930.
  2. Eichengreen, Barry; Esteves, Rui Pedro (2021), Fukao, Kyoji; Broadberry, Stephen (บ.ก.), "International Finance", The Cambridge Economic History of the Modern World: Volume 2: 1870 to the Present, Cambridge University Press, vol. 2, pp. 501–525, ISBN 978-1-107-15948-8
  3. Eichengreen, Barry (2019). Globalizing Capital: A History of the International Monetary System (3rd ed.). Princeton University Press. pp. 86–127. doi:10.2307/j.ctvd58rxg. ISBN 978-0-691-19390-8. JSTOR j.ctvd58rxg. S2CID 240840930.
  4. "Gold standard Facts, information, pictures Encyclopedia.com articles about Gold standard". Encyclopedia.com. สืบค้นเมื่อ 2015-12-05.
  5. William O. Scroggs (11 October 2011). "What Is Left of the Gold Standard?". Foreignaffairs.com. สืบค้นเมื่อ 28 January 2015.
  6. 6.0 6.1 Eichengreen, Barry (2019). Globalizing Capital: A History of the International Monetary System (3rd ed.). Princeton University Press. pp. 5–40. doi:10.2307/j.ctvd58rxg. ISBN 978-0-691-19390-8. JSTOR j.ctvd58rxg. S2CID 240840930.
  7. Esteves, Rui Pedro; Nogues-Marco, Pilar (2021), Fukao, Kyoji; Broadberry, Stephen (บ.ก.), "Monetary Systems and the Global Balance of Payments Adjustment in the Pre-Gold Standard Period, 1700–1870", The Cambridge Economic History of the Modern World: Volume 1: 1700 to 1870, Cambridge University Press, vol. 1, pp. 438–467, ISBN 978-1-107-15945-7
  8. Eichengreen, Barry (2019). Globalizing Capital: A History of the International Monetary System (3rd ed.). Princeton University Press. p. 5. doi:10.2307/j.ctvd58rxg. ISBN 978-0-691-19390-8. JSTOR j.ctvd58rxg. S2CID 240840930.
  9. Eichengreen, Barry (2019). Globalizing Capital: A History of the International Monetary System (3rd ed.). Princeton University Press. doi:10.2307/j.ctvd58rxg. ISBN 978-0-691-19390-8. JSTOR j.ctvd58rxg. S2CID 240840930.
  10. Polanyi, Karl (1957). The Great Transformation (ภาษาอังกฤษ). Beacon Press. ISBN 978-0-8070-5679-0.
  11. "Gold Standard". IGM Forum. 12 January 2012. สืบค้นเมื่อ 27 December 2015.
  12. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :8