มัสยิดอุสาสนอิสลาม

มัสยิดอุสาสนอิสลาม[1][3] (มลายู: Masjid Asasul Islam) หรือ มัสยิดบ้านบน เป็นศาสนสถานในศาสนาอิสลามแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ถนนพัทลุง เทศบาลนครสงขลา จังหวัดสงขลา[2] เดิมเป็นมัสยิดกลางประจำจังหวัดสงขลา[4] มัสยิดแห่งนี้มีสถาปัตยกรรมไทยและจีนประยุกต์เช่นเดียวกับวิหารของวัดมัชฌิมาวาสหรือวัดกลาง พุทธสถานที่ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กัน[5][6][7]

มัสยิดอุสาสนอิสลาม
Masjid Asasul Islam
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทมัสยิด
สถาปัตยกรรมไทยและจีน
เมืองบ้านบน ถนนพัทลุง ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา[1][2]
ประเทศไทย ประเทศไทย
เริ่มสร้างพ.ศ. 2390

ประวัติ แก้

มัสยิดอุสาสนอิสลามหรือมัสยิดบ้านบนถูกสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2390 โดยช่างชุดเดียวกันกับที่เกณฑ์ไปสร้างวัดมัชฌิมาวาสหรือวัดกลาง[8] ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชทรัพย์ให้ขณะที่ทรงแวะเข้าเมืองสงขลาระหว่างเดินทางไปชวา[9] ทั้งนี้บุคคลที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการสร้างมัสยิดนี้คือโต๊ะหมัดและโต๊ะหมะ[8] ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังพระราชทานเครื่องตกแต่งภายในอีก เช่น โคมระย้า[8] ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานโคมไฟสีเขียวซึ่งเป็นเครื่องสังเค็ดในงานพระเมรุในหลวงรัชกาลก่อน[9] หลังจากนั้นก็มีการบูรณะซ่อมแซมมัสยิดเรื่อยมา เช่นขยายปีกสองข้าง หรือสร้างโดมรูปหัวหอมบนหออาซาน[8]

เดิมมัสยิดอุสาสนอิสลามเป็นมัสยิดกลางประจำจังหวัดสงขลา[4] แต่ภายหลังได้มีการสร้างมัสยิดกลางดิย์นุลอิสลาม ถนนลพบุรีราเมศวร์ ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่[10] มัสยิดอุสาสนอิสลามจึงลดบทบาทเป็นมัสยิดประจำชุมชนไป[9]

สถาปัตยกรรม แก้

ตัวมัสยิดเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนศิลปะประยุกต์ไทย-จีน ก่อสร้างโดยช่างที่ถูกเกณฑ์ไปสร้างวัดมัชฌิมาวาสหรือวัดกลางซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กัน[8] แม้จะมีสัณฐานคล้ายอุโบสถของวัดในพระพุทธศาสนาแต่ก็ไม่ขัดต่อหลักการในศาสนาอิสลามแต่อย่างใด[7][11] ส่วนหออาซานเดิมมีลักษณะเดียวกันกับหอระฆังในวัดพุทธเช่นกัน แต่ภายหลังได้ถูกต่อเติมและสร้างโดมรูปหัวหอมขึ้นภายหลัง[9]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "มัสยิดอุสาสนอิสลาม". กรมการศาสนา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-07. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "ชาวไทยมุสลิม สงขลา ร่วมละหมาดขอพรพระเจ้า วันตรุษอีดิลฟิตรี". ไทยรัฐออนไลน์. 17 กรกฎาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "รายชื่อและที่ตั้งมัสยิด ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา". ฐานข้อมูลการท่องเที่ยว 5 จังหวัดชายแดนใต้. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 "สุดปลาบปลื้ม! คุณใหม่ เยี่ยมชมสถาปัตยกรรม ณ วัดมัชฌิมาวาสพร้อมเดินทางเข้าสักการะศาลเจ้าพ่อหลักเมือง". ข่าวเมืองน่าน. 25 กรกฎาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  5. "สงขลา ความแตกต่างที่ลงตัว". Thai Garuda. 26 มกราคม 2555. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "เจ้าหญิงนักประวัติศาสตร์ เยือนเมืองเก่าสงขลา". สยามรัฐออนไลน์. 26 กรกฎาคม 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-27. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.0 7.1 "งดงาม! คุณสิริกิติยา เจนเซน สวมผ้าคลุมเยี่ยมชมมัสยิดอุสาสนอิสลาม". มุสลิมไทยโพสต์. 26 กรกฎาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 "มัสยิดอุสาสนอิสลาม". ฉันรักแปล. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 "มัสยิดบ้านบน (มัสยิดอุสาสนอิสลาม)". บ้านในนคร. 3 มิถุนายน 2560. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "มัสยิดกลางดิย์นุลอิสลาม สงขลา". Songkhla Only. 3 สิงหาคม 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-19. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. ศิริลักษณ์ แคล้วคลาด และวสันต์พรรษ จำเริญนุสิต (23 กรกฎาคม 2561). "คุณสิริกิติยา เจนเซน ลงพื้นที่เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ-เขาตังกวน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เพื่อส่งเสริมเมืองสงขลาก้าวสู่เมืองมรดกโลก". สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-01. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)