มัสยิดอัลคุละฟาอ์

มัสยิดอัลคุละฟาอ์ (อาหรับ: جامع الخلفاء) เป็นมัสยิดซุนนีในเมืองแบกแดด ประเทศอิรัก

มัสยิดอัลคุละฟาอ์
มัสยิดอัลก็อศร์
อาหรับ: جامع الخلفاء;
جامع القصر
มัสยิดอัลคุละฟาอ์ใน ค.ศ. 2014
ศาสนา
ศาสนาอิสลาม
จารีตอิสลามนิกายซุนนี
สถานะองค์กรมัสยิด
สถานะใช้งาน
ที่ตั้ง
ที่ตั้งแบกแดด ประเทศอิรัก
สถาปัตยกรรม
ประเภทมัสยิด
รูปแบบอับบาซียะฮ์
ผู้ก่อตั้งอัลมุกตะฟี
ลงเสาเข็มค.ศ. 902
เสร็จสมบูรณ์ค.ศ. 908
ลักษณะจำเพาะ
หอคอย1
ความสูงหอคอย34 เมตร (112 ฟุต)

มัสยิดนี้เริ่มสร้างขึ้นตามพระราชกระแสรับสั่งของเคาะลีฟะฮ์องค์ที่ 17 อัลมุกตะฟี (ค. 902 – 908) แห่งรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ ในฐานะมัสยิดกลางสำหรับพระราชวังที่แผ่ขยายไปทุกสารทิศซึ่งสร้างโดยพระองค์กับอัลมุอ์ตะฎิด พระราชบิดา ด้วยเหหตุนี้ มัสยิดนี้มักถูกเรียกกันในชื่อ มัสยิดอัลก็อศร์ (อาหรับ: جامع القصر) ซึ่งในภาษาอาหรับแปลตรงตัวว่า "มัสยิดของพระราชวัง" ต่อมา มัสยิดนี้ถูกขนานนามว่า มัสยิดของเคาะลีฟะฮ์ ซึ่งทำให้ได้ชื่อในปัจจุบันว่า อับคุละฟาอ์ มัสยิดนี้เป็นหนึ่งในแลนด์มาร์กทางประวัติศาสตร์ของเมืองแบกแดด และได้รับการกล่าวถึงในบันทึกการเดินทางของอิบน์ บะฏูเฏาะฮ์ ขณะไปที่แบกแดดใน ค.ศ. 1327[1]

ส่วนที่โดดเด่นที่สุดของมัสยิดคือหอมินาเรตสูง 34-เมตร (112-ฟุต) ที่ยังคงมีรูปแบบเดิมจากสมัยอับบาซียะฮ์ และเป็นส่วนเดียวที่ยังหลงเหลือในปัจจุบัน โดยหอนี้ได้รับการตกแต่งใหม่ใน ค.ศ. 1960[2] อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน มันมีความเสี่ยงที่จะถล่มลงมาเนื่องจากการขาดการบำรุงรักษา ซึ่งมีการกล่าวหาว่าเกิดจากการแบ่งแยกนิกายระหว่างมัสยิดแบบซุนนีกับรัฐบาลส่วนใหญ่ของชีอะฮ์[3] เนื่องจากความเอียงของมินาเรต ทำให้ชาวบ้านเรียกมัสยิดนี้ว่า "อัลอะห์ดับ" (อาหรับ: الأحدب) แปลว่า "หลังโกง"[4]

อ้างอิง แก้

  1. كتاب دليل خارطة بغداد المفصل - تأليف الدكتور مصطفى جواد والدكتور أحمد سوسة - مطبعة المجمع العلمي العراقي. 1958. p.125.
  2. Khulafa Central Mosque. Archnet. Retrieved January 5, 2018.
  3. Why is Khulafa Mosque's minaret on verge of collapse? Al Monitor. Retrieved January 5, 2018.
  4. "The Taj Mahal And The Golden Age Of Islam". Ancient Engineering. ฤดูกาล 1. ตอน 10 (ภาษาอังกฤษ). 2021. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 21:49. CuriosityStream.