มัลลิกา อิ่มวงศ์

ศาสตราจารย์[1]ดร.มัลลิกา อิ่มวงศ์ เป็นนักวิทยาศาสตร์หญิงชาวไทยที่มีผลงานโดดเด่นในเรื่องโรคมาลาเรีย[2] ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาชีวโมเลกุลและพันธุศาสตร์โรคเขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์มัลลิกาเป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ไทยที่ได้รับการอ้างอิงสูงสุดในร้อยละ 2 ของโลกในปี พ.ศ. 2564[3] เธอร่วมกับหน่วยงานอย่าง Worldwide Antimalarial Resistance Network (WWARN) และ หน่วยวิจัยโรคเขตร้อนมหิดลอ็อกซ์ฟอร์ด (Mahidol Oxford Tropical Medicine Research Unit – MORU) ศึกษาการแพร่ระบาดของโรคมาลาเรียสายพันธุ์ดื้อยา ฟัลซิปารัม (P. falciparum)[4]

ศาสตราจารย์มัลลิกาได้รับรางวัลผลงานวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ 2565[5], 2564[6],2560[7] โครงการวิจัยเรื่อง "ภาวะการดื้อยาต้านมาลาเรียของชีวโมเลกุลในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในทศวรรษที่ผ่านมา" ถือเป็นผลงานเด่นที่ทำให้มหาวิทยาลัยมหิดล ติดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ของ US News & World Report Rankings ในปี 2022 ทั้งในสาขาโรคติดเชื้อ (Infectious Diseases) และสาขาภูมิคุ้มกันวิทยา (Immunology)[8] ได้รับทุนเมธีวิจัยอาวุสโสของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยเมื่อ พ.ศ. 2562[9]รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2559 โดยมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมชาชูปถัมภ์[10] จากผลงานการพัฒนาการตรวจเชื้อมาลาเรียความไวสูงซึ่งสามารถตรวจเชื้อได้ต่ำกว่าการตรวจกล้องจุลทรรศน์ 2,000 เท่า[11] และได้รับทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ครั้งที่ 8 เมื่อ พ.ศ. 2553[12] ศาสตราจารย์มัลลิกาได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปีงบประมาณ 2566 โดยสำนักการวิจัยแห่งชาติ[13]

ประวัติการศึกษา แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 134 (244ง): 7. 3 ตุลาคม 2017.
  2. "Prof. Mallika Imwong". www.tm.mahidol.ac.th. Mahidol University Faculty of Tropical Medicine. สืบค้นเมื่อ 6 March 2022.
  3. Bass, Jeroen; Boyack, Kevin; Ioannidis, John P.A. (19 October 2021). "August 2021 data-update for "Updated science-wide author databases of standardized citation indicators"". Elsevier BV. 3. doi:10.17632/btchxktzyw.3.
  4. "ในวันที่มาลาเรียกลายพันธุ์เริ่ม 'ดื้อยา' ทำไมพลังวิจัยไทยถึงไม่เคยหยุดนิ่ง". The MATTER. 28 ธันวาคม 2017.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "รางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานวิจัย ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕" (PDF). สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ. 23 พฤศจิกายน 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-08-04. สืบค้นเมื่อ 2022-03-27.
  6. "รางวัลการวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานวิจยั ประจําปีงบประมาณ ๒๕๖๔" (PDF). สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ. 16 พฤศจิกายน 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-08-04. สืบค้นเมื่อ 2022-03-27.
  7. "รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานวิจัย ประจําปี ๒๕๖๐". สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. 9 มกราคม 2018.
  8. "ม.มหิดล ติด Top 100 สาขาโรคติดเชื้อ และภูมิคุ้มกัน US News & World Report Rankings 2022". www.hfocus.org. Hfocus.
  9. "สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทานโล่เกียรติยศ ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น เมธีวิจัยอาวุโส สกว. และดุษฎี คปก. ดีเด่น". tsri.or.th. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
  10. "งานประกาศผลรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น และนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี 2559". www.promotion-scitec.or.th. มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์.
  11. "มอบรางวัลพระราชทาน'นักเทคโนโลยีดีเด่น'". www.naewna.com. แนวหน้า.
  12. "นักวิจัยสตรีที่ได้รับทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ปีที่ 8". www.fwisthailand.com. L'Oréal Thailand.
  13. "NRIIS : ระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ". nriis.go.th (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-30. สืบค้นเมื่อ 2022-11-30.
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๑๓๔, ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๖๘, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐