มะห์ซูรี

(เปลี่ยนทางจาก มะห์สุหรี)

มะห์ซูรี บินตี ปันดัก มายะฮ์ (มลายู: Mahsuri binti Pandak Mayah) เป็นหญิงสาวที่อาศัยอยู่บนเกาะลังกาวี รัฐเกอดะฮ์ ประเทศมาเลเซียในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ตามตำนานระบุว่า เธอถูกกล่าวหาว่าเป็นชู้ และประหารชีวิตด้วยการแทง ส่วน มากัมมะห์ซูรี สุสานของเธอ กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของเกาะ

ตำนาน

แก้

มะห์ซูรีเป็นลูกสาวของชาวสยามที่ย้ายจากจังหวัดภูเก็ตไปยังเกาะลังกาวีเพื่อหาชีวิตที่ดีกว่า เธอเป็นหญิงสาวที่สวยงามที่สุดบนเกาะและแต่งงานกับนักรบนาม วัน ดารุซ ภายหลังสามีของเธอต้องไปทำสงครามกับฝ่ายเกอดะฮ์ต่อไทย และทิ้งมะห์ซูรีให้ดูแลตัวเอง ในตอนนั้นเธอเป็นเพื่อนกับนักเดินทางวัยรุ่นนาม เดอรามัง วัน มาโฮรา ภรรยาของผู้ใหญ่บ้าน อิจฉาความงามของมะห์ซูรี เธอจึงเผยแพร่ข่าวลือว่ามะห์ซูรีนอกใจและมีชู้กับเดอรามังตอนที่วัน ดารุซไม่อยู่ ท้ายที่สุด ข่าวลือหนาหูจนชาวบ้านกล่าวหาว่าเธอเป็นชู้อย่างเปิดเผย มะห์ซูรีร้องขอความบริสุทธิ์ของเธอ แต่กลับไม่มีใครเชื่อ

มะห์ซูรีถูกผูกที่ต้นไม้และโดนแทงให้ตายหลายครั้ง แต่ไม่ได้ผล หลังการพยายามประหารชีวิตที่ล้มเหลวทุกครั้ง มะห์ซูรีจึงบอกให้พวกเขาฆ่าเธอด้วยกริชของครอบครัว หลังเธอโดนแทงแล้ว เลือดสีขาวไหลออกมาจากบาดแผล แสดงถึงความบริสุทธิ์ของเธอ นกบางตัวบินอยู่เหนือเธอเพื่อปกปิดร่างกายของเธอ ขณะที่เธอกำลังจะเสียชีวิต มะห์ซูรีจึงสาปแช่งลังกาวีให้พบกับความโชคร้ายเจ็ดชั่วอายุคน[1][2] ภายหลังราชอาณาจักรนี้ถูกกองเรือรบสยามบุกครอง ชาวบ้านที่ปาดังมัตซีรัตเผานาข้าวเพื่อไม่ให้มันตกไปอยู่ในน้ำมือสยาม

ครอบครัวของมะห์ซูรีเดินทางกลับสยาม (ภายหลังมีชื่อว่า ประเทศไทย)

ผลกระทบ

แก้

พลเมืองบนเกาะลังกาวีหลายคนเชื่อว่าตำนานเป็นจริง โดยอ้างถึงการปลูกพืชผลที่ล้มเหลวมาหลายสิบปีหลังมะห์ซูรีเสียชีวิต ลังกาวีก็ถูกฝ่ายไทยโจมตีหลายครั้ง โดยการรุกรานครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นใน ค.ศ. 1821 ทุ่งนาที่ชาวนาเผาทิ้งยังคงรู้จักกันในชื่อ เบอรัซเตอร์บาการ์ หรือ "ข้าวไหม้" จนกระทั่งช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 (หลังประมาณ 7 ชั่วอายุ) ลังกาวีเริ่มเจริญรุ่งเรืองในฐานะสถานที่ท่องเที่ยว ลูกหลานของมะห์ซูรียังคงอาศัยอยู่ในจังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย และไปเยี่ยมชมสุสานของเธอที่ลังกาวีในบางโอกาส[3] หนึ่งในลูกหลานของเธอคือ ศิรินทรา ยายี (ชื่อมลายู: วัน ไอชะฮ์ วัน นาวาวี; Wan Aishah Wan Nawawi) กลายเป็นจุดสนใจขณะที่เธอเยี่ยมชมในรัฐเกอดะฮ์ใน ค.ศ. 2000[4]

อ้างอิง

แก้
  1. admin. "Myth and Legends – Naturally Langkawi" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-04-08.
  2. Guri, Catohrinner Joyce (2014-12-01). "Langkawi – the legend of Mahsuri". Asian Itinerary (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-04-08.
  3. "Langkawi Historical Background". Official Airline Guide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 April 2008. สืบค้นเมื่อ 24 December 2007.
  4. Com, The Phuket News (2012-04-02). "GRANDPA YARNS: An heir of mystery". The Phuket News Com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-04-08.

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้