มองโกเลียนเจอร์บิล

มองโกเลียนเจอร์บิล
เจอร์บิลป่าในมองโกเลีย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
อันดับ: อันดับสัตว์ฟันแทะ
วงศ์: วงศ์หนู
วงศ์ย่อย: Gerbillinae
สกุล: Meriones
สกุลย่อย: Pallasiomys
สปีชีส์: M.  unguiculatus
ชื่อทวินาม
Meriones unguiculatus
(Milne-Edwards, 1867)

มองโกเลียนเจอร์บิล (อังกฤษ: Mongolian Gerbil) เป็นสายพันธุ์หนึ่งของหนูเจอร์บิลหรือหนูทะเลทราย เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่มีความทนทานและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศที่แห้งแล้งได้ดีมาก มีอนุวงศ์รวมแล้วประมาณ 110 ชนิด จะพบมากในทะเลทรายของแถบ แอฟริกัน , อินเดีย และ เอเชีย ด้วยความที่เป็นสัตว์อ่อนโยนและทนทาน จึงกลายเป็นที่นิยมในเวลาไม่นาน

ขนาดของหนูเจอร์บิล แก้

หนูเจอร์บิลจะมีความยาวจนถึงหาง ที่ระหว่าง 15 ถึง 30 เซนติเมตร หรืออาจจะมากกว่านี้นิดหน่อย และหนูเจอร์บิลขนาดโต จะสามารถมีน้ำหนักเฉลี่ยได้ถึง 70 ถึง 100 กรัม อยู่ที่การเลี้ยงของผู้เลี้ยงที่จะสามารถเอาใจใส่ในเรื่องของอาหารการกินของหนูเจอร์บิลได้ดีแค่ไหนด้วย

พฤติกรรมและนิสัยของหนูเจอร์บิล แก้

หนูเจอร์บิลเป็นสัตว์สังคมสูงและอาศัยอยู่กันเป็นกลุ่ม จะคอยพึ่งพากันและกัน รักครอบครัว และจะรับรู้ได้จากความรู้สึกของกลิ่นจากต่อมที่ผลิตมาจากส่วนใต้ท้อง เพื่อไว้คอยบ่งชี้ถึงสถานะของสมาชิกในครอบครัว ดังนั้น ถ้ามีตัวแปลกกลิ่นหรือแปลกถิ่นเข้ามา ก็จะถูกหนูเจอร์บิลในถิ่นเดิมเข้าโจมตี เพราะจากกลิ่นที่ไม่คุ้นเคยนั่นเอง

วิธีการเลือกหนูเจอร์บิล แก้

หนูเจอร์บิลที่ดีจะต้องมีดวงตาที่กลมโตดูสดใส มีเส้นขนที่เงางามและราบรื่น จมูกไม่เป็นสะเก็ด มีความชัดเจน บริเวณก้นไม่เปียก และที่สำคัญ หนูเจอร์บิลนั้นจะต้องจะต้องดูคึกและแข็งแรง อยากรู้อยากเห็น ยิ่งกระโดด ดีดไปมาเลยยิ่งดี ตามบุคลิกภาพโดยธรรมชาติของมัน

หนูเจอร์บิลสัตว์เลี้ยงภายในบ้าน แก้

หนูเจอร์บิลมีต้นกำเนิดพื้นเพมาจากประเทศมองโกเลีย และได้ถูกนำมาจากประเทศจีนครั้งแรกเข้าสู่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในศตวรรษที่ 19 และต่อมาก็ถูกนำไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 1954 โดย ดร.Victor Schwentker เพื่อสำหรับไปใช้ในการทดลองและวิจัย และต่อมาหนูเจอร์บิลก็ได้เป็นที่รู้จักเป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรมสัตว์เลี้ยงในปี 1964 และเป็นสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความชื่นชอบในเวลาอันรวดเร็ว และจะสามารถพบได้ในร้านค้าสัตว์เลี้ยงทั่วไปในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา

 
ครอบครัวหนูเจอร์บิล

ที่อยู่อาศัยของหนูเจอร์บิล แก้

ควรจะเป็นที่ที่มีอากาศถ่ายเทและไม่โดนแสงโดยตรง ลมไม่โกรกอยู่ตลอดเวลา แสงสว่างของไฟต้องเป็นเวลา อุณหภูมิต้องปกติให้คงที่เท่าที่จะทำได้ หนูเจอร์บิลมีประสาทการรับฟังที่ดีมากจึงไม่ควรเป็นที่ที่มีเสียงดังจนเกินไปเพราะอาจจะเป็นปัญหาสืบเนื่องไปถึงการผสมพันธุ์ หนูเจอร์บิลนั้นจะชอบขุดมากและจะชอบแทะทุกสิ่ง โดยเฉพาะพลาสติกควรละเว้นเป็นอันขาด เพราะอาจจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพที่รุนแรงมากได้ในอนาคตจากที่เข้าไปแทะพลาสติกนั่นเอง ส่วนล้อหมุนหรือล้อที่ใช้สำหรับวิ่ง ก็คงจะไม่จำเป็นเพราะเค้าอาจจะกัดจนไม่เหลือชิ้นดี และที่ใส่อาหารก้อไม่ควรทำจากไม้หรือพลาสติกเช่นกัน สรุปคือ ทุกอย่างที่อยู่ในบ้าน ควรจะเป็นสิ่งของที่ำทำมาจากเซรามิคหรือดินเผาจะดีกว่า

การผสมพันธุ์ของหนูเจอร์บิล แก้

หนูเจอร์บิลนั้น จะใช้เวลากันหลายชั่วโมงในการผสมพันธุ์ จะเสร็จในระยะเวลาสั้นๆ แต่บ่อย โดยการไล่ตามของตัวผู้ ที่ตัวเมียนั้นจะคอยวิ่งหนี

ของเล่นสำหรับหนูเจอร์บิล แก้

  • แท่งไม้ เพื่อช่วยให้หนูได้แทะเล่นและลับฟัน
  • ล้อวิ่ง แต่ก็ต้องทำใจเรื่องที่จะต้องถูกแทะจนไม่เหลือชิ้นดีในเวลาไม่นานด้วย
  • แกนกระดาษ เอาไว้ใช้เป็นอุโมงค์และแทะเคี้ยวเล่น
  • บ้านลูกมะพร้าว เอาไว้ใช้เป็นถ้ำและแทะเล่นก็ได้
  • บันไดไม้และสะพานไม้ เอาไว้ใช้ปีนป่ายและแทะเล่นได้อีกด้วย
  • ทรายอาบน้ำ ไม่ใช่ทรายที่ใช้ก่อสร้างนะ จะเป็นทรายละเอียดชนิดพิเศษ หาซื้อได้ตามร้านขายสัตว์เลี้ยงทั่วไป เอาไว้ให้หนูเจอร์บิลของเราทำความสะอาดขนให้เงางามอยู่เสมอ

อาหารของหนูเจอร์บิล แก้

จะแบ่งออกได้เป็นสามประเภทคือ ผักสดและผลไม้ ที่ไม่อุ้งน้ำมากจนเกินไปหรือว่ามีรสเปรี้ยว เพราะอาจจะทำให้หนูท้องเสียได้ ซึ่งเป็นโรคที่อันตรายมากสำหรับหนูประเภทนี้ ต่อไปคือ ธัญพืชแบบแห้งต่างๆ จะเป็นอาหารบัดดี้หรือเมล็ดพืชต่างๆ ที่มีขายอยู่ตามร้านอาหารสัตว์ทั่วไป สุดท้ายก็คือแมลง จะแบบเป็นๆ หรือแบบอบแห้งก็ได้ อาหารทุกชนิดสำหรับหนูเจอร์บิลนั้น จะต้องระวังเรื่องสารพิษตกค้างไว้ด้วยอย่างยิ่ง และควรจะเปลี่ยนอาหารให้กินบ้างเพื่อที่หนูเจอร์บิลของเราจะได้รับสารอาหารได้อย่างครบถ้วน เพราะการบำรุงนั้นเป็นสิ่งที่ดีเสมอ และให้ในปริมาณที่พอเหมาะไม่มากจนเกินไป และที่สำคัญที่สุด "น้ำอย่าให้ขาด"

หนูเจอร์บิลกับการลับฟัน แก้

มีอยู่หลายๆ กรณีที่มักจะพูดถึงเสมอว่า ถ้าไม่มีอะไรให้หนูเจอร์บิลแทะ จะทำให้หนูเจอร์บิลของเราฟันยาวหรือเปล่า และพอฟันยาวขึ้นมาก็จะทำให้กินอาหารไม่ได้ เป็นเหตุให้หนูเจอร์บิลต้องเสียชีวิตไป ถ้าอ้างถึงบุคคลทั่วไปที่เลี้ยงกัน ก็ไม่เคยนำแท่งไม้หรืออะไรให้แทะเลย แต่อย่าลืมว่า เราไม่ได้ไปคอยสังเกตการณ์อยู่ตลอดเวลาว่าหนูเจอร์บิลของเรานั้น ใช้วิธีการลับฟันแบบไหน อาจจะจากการแทะไม้ เซรามิคหรือดินเผาต่างๆ ที่อยู่ภายในที่เลี้ยงของเราก็เป็นได้ แต่ทางที่ดีที่สุดก็คือ ให้เราใส่ท่อนไม้เล็กๆ หรืออะไรก็ได้ที่เป็นไม้ ไว้ในที่เลี้ยงของเราไว้ซักชิ้นก็น่าจะดี กันไว้ดีกว่าแก้

 
หนูเจอร์บิลขณะกำลังกินอาหาร

ความนิยมหนูเจอร์บิลในประเทศไทย แก้

หนูเจอร์บิลได้ถูกนำมาเพาะเลี้ยงในประเทศไทยเป็นเวลาหลายปีแล้ว แต่มีจำนวนผู้เพาะเลี้ยงน้อยมากในขณะนั้น รวมถึงจำนวนผลผลิตของหนูเจอร์บิลก็ไม่ได้มีเยอะเหมือนกับหนูชนิดอื่นๆ และต่อมา ก็เพิ่งจะมาได้รับความนิยมมากในช่วงกลางปี พ.ศ. 2555 จนถึงปัจจุบัน และมีแนวโน้มจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างช้าๆ ไม่ว่าจะนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงภายในบ้าน หรือ นำไปเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อชนิดอื่นๆ

โทนสีของหนูเจอร์บิล แก้

  • สีกระรอก
  • สีทอง
  • สีเทา
  • สีน้ำตาล
  • สีขาว
  • สีวิเชียรมาศ
  • สีครีม
  • สีดำ
  • สีด่าง

อ้างอิง แก้

  1. "Meriones unguiculatus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. 2008. สืบค้นเมื่อ January 26, 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้