ภาษาเซนทิเนล (อังกฤษ: Sentinelese) เป็นภาษาที่สันนิษฐานกันว่าเป็นภาษาของชาวเซนทิเนลแห่งเกาะเซนทิเนลเหนือในหมู่เกาะอันดามัน ประเทศอินเดีย แต่เนื่องจากการขาดการติดต่อระหว่างชาวเซนทิเนลกับส่วนที่เหลือของโลกเป็นเวลาอย่างน้อยสามศตวรรษ เราจึงไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับภาษาของพวกเขาเลย[3] และไม่มีทางที่เราจะทราบสถานะของภาษานี้ เนื่องจากชาวเกาะไม่อนุญาตให้คนภายนอกขึ้นเกาะ โดยแสดงความเป็นปฏิปักษ์อย่างยิ่งต่อผู้ที่พยายามจะเข้าไป[4]

ภาษาเซนทิเนล
ประเทศที่มีการพูดอินเดีย
ภูมิภาคเกาะเซนทิเนลเหนือ
ชาติพันธุ์ชาวเซนทิเนล (ประมาณ 100–250 คน
ณ ปี พ.ศ. 2550)[1][2]
จำนวนผู้พูด(สันนิษฐานว่าเท่ากัน) 
ตระกูลภาษา
ไม่ทราบ อาจเป็นภาษากลุ่มเอิงเก
รหัสภาษา
ISO 639-3std

การจำแนกประเภท แก้

สันนิษฐานกันว่าชาวเซนทิเนลใช้ภาษาเพียงภาษาเดียว และภาษานั้นเป็นสมาชิกของตระกูลภาษาอันดามัน[3] เมื่อพิจารณาจากข้อมูลที่มีไม่มากนักในแง่ความใกล้เคียงด้านวัฒนธรรมและเทคโนโลยีรวมทั้งความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์กับเกาะอื่น ๆ คาดว่าภาษาของพวกเขาน่าจะใกล้ชิดกับภาษากลุ่มเอิงเกอ (Ongan) มากกว่าภาษากลุ่มอันดามันใหญ่ (Great Andamanese)[5] ในหน้า 10 ของหนังสือ A Grammar of the Great Andamanese Language: An Ethnolinguistic Study (ไวยากรณ์ภาษาอันดามันใหญ่ : การศึกษาทางภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์) ของแอนวิตา แอบบี นักภาษาศาสตร์ชาวอินเดีย มีแผนภูมิตระกูลภาษาอันดามันที่ช่วยให้เข้าใจมากขึ้นว่าภาษาเซนทิเนลเกี่ยวข้องกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูลนี้อย่างไร[6] ถึงกระนั้น เคยมีการพาผู้พูดภาษาเอิงเกอไปยังเกาะเซนทิเนลเหนืออย่างน้อยสองครั้งเพื่อให้ช่วยสื่อสารกับชาวเกาะ ปรากฏว่าพวกเขาไม่สามารถรู้จำภาษาที่ชาวเกาะใช้ระหว่างการแลกเปลี่ยนสนทนาที่เกิดขึ้นสั้น ๆ อย่างไม่เป็นมิตรได้เลย[7][8]

สถานะ แก้

ภาษาเซนทิเนลจัดเป็นภาษาใกล้สูญเนื่องจากมีผู้พูดน้อย แม้ยังไม่ทราบจำนวนผู้พูดที่แน่นอน แต่ประมาณกันว่าอยู่ระหว่าง 100 ถึง 250 คน[1][2] รายงานการวิจัยของรัฐบาลอินเดียได้ประมาณอย่างคร่าวไว้ว่าผู้พูดภาษานี้มีจำนวน 100 คน (ณ ปี พ.ศ. 2549)[6] แต่เกรเกอรี แอนเดอร์สัน นักภาษาศาสตร์ชาวอเมริกันกล่าวว่า "[ในเมื่อ] ไม่ทราบข้อมูลและไม่มีการติดต่อกับผู้พูด ก็ควรจัดให้เป็นภาษาในข่ายใกล้สูญ จำนวนผู้พูดเป็นความเพ้อฝันโดยแท้ เพราะไม่เคยมีการนับเลยสักครั้ง[9]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Matthias Brenzinger, "Language diversity endangered," p. 40, (Walter de Gruyter, 2007) ISBN 3-11-017049-3, ISBN 978-3-11-017049-8, found at Google Books. Accessed 2009-10-07.
  2. 2.0 2.1 Christopher Moseley, "Encyclopedia of the world's endangered languages," p. 289, 342 (Routledge, 2007) ISBN 978-0-7007-1197-0, found at [1]. Accessed 2009-10-07.
  3. 3.0 3.1 "The most isolated tribe in the world?" found at Survival International website เก็บถาวร 2019-10-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Accessed 2009-10-07.
  4. Van Driem, G. (2007). Endangered Languages of South Asia. In Handbook of Endangered Languages (pp. 303–341). Berlin: Mouton de Gruyter.
  5. Ethnologue report for Sentinel. Accessed 2009-10-07.
  6. 6.0 6.1 Endangered Languages of the Andaman Islands. Anvita Abbi (2006) · LINCOM Studies in Asian Linguistics · Vol. 64 · München: Lincom.
  7. Vishvajit Pandya, "In the Forest: Visual and Material Worlds of Andamanese History (1858–2006)," p. 361, (University Press of America, 2008) ISBN 0-7618-4153-9, ISBN 978-0-7618-4153-1, found at Google Books. Accessed 2009-10-07.
  8. Dan McDougall, "Survival comes first for the last Stone Age tribe world: Two poachers lie in shallow graves beside the Indian Ocean after they trespassed on an endangered tribe's island. Now even relatives of the victims' want the killers left alone." The Observer, 12 February 2006. Found at Article from The Guardian. Accessed 2009-10-07.
  9. Personal Communication. Gregory Anderson (2012).