ภาษาตูวา

(เปลี่ยนทางจาก ภาษาตูวัน)

ภาษาตูวา (ภาษาตูวา: тыва дыл, tyva dyl) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิก มีผู้พูด 200,000 คนในสาธารณรัฐตูวา ในไซบีเรียกลางตอนใต้ มีคำยืมจากภาษามองโกเลียและภาษารัสเซียมาก มีชาวตูวากลุ่มเล็กๆอยู่ในจีนและมองโกเลียด้วย

ภาษาตูวา
тыва дыл
ประเทศที่มีการพูดรัสเซีย, มองโกเลีย, จีน
ภูมิภาคตูวา
ชาติพันธุ์ชาวตูวา
จำนวนผู้พูด240,000  (2012)[1]
ตระกูลภาษา
เตอร์กิก
ระบบการเขียนอักษรซีริลลิก
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ รัสเซีย
รหัสภาษา
ISO 639-2tyv
ISO 639-3tyv
ภาษาตูวาถูกจัดเป็นภาษาที่มีความเสี่ยงตาม Atlas of the World’s Languages in Danger ของยูเนสโก
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด
ผู้พูดภาษตูวา

การจัดจำแนก แก้

ภาษาตูวาอยู่ในภาษากลุ่มเตอร์กิกตะวันออกเฉียงเหนือหรือไซบีเรีย ใกล้เคียงกับภาษากลุ่มเตอร์กิกไซบีเรียอื่นๆ เช่น ภาษาคากัส และภาษาอัลไต

สำเนียง แก้

ภาษาตูวาที่พบในตูวาแบ่งเป็น 4 สำเนียงคือ

  • สำเนียงกลาง เป็นสำเนียงที่ใช้ในการเขียน
  • สำเนียงตะวันตก ใช้พูดทางตอนเหนือของของแม่น้ำเคมชิก ได้รับอิทธิพลจากภาษาอัลไต
  • สำเนียงตะวันออกเฉียงเหนือหรือสำเนียงทอดซี ใช้พูดในบริเวณตอนบนของแม่น้ำบีอี-เคม มีคำศัพท์มากมายเกี่ยวกับการล่าที่ไม่พบในภาษาอื่น
  • สำเนียงตะวันออกเฉียงใต้ได้รับอิทธิพลจากภาษามองโกเลียมาก
  • สำเนียงอื่นๆของภาษาตูวายังมีอีกมากแต่ได้รับการศึกษาน้อย

เสียง แก้

พยัญชนะ แก้

ภาษาตูวามีหน่วยเสียงพยัญชนะ 19 เสียง /f/ และ /t͡s/ พบเฉพาะในคำยืมจากภาษารัสเซีย

Consonant phonemes of Tuvan
Labial Alveolar Palatal Velar
Nasal m n ŋ
Stop p t t͡ʃ k ɡ
Fricative s z ʃ ʒ x
Rhotic ɾ
Approximant ʋ l j

สระ แก้

เสียงสระในภาษาตูวามีสามแบบคือ เสียงสั้น เสียงยาว และเสียงสั้นแบบกดต่ำ สระเสียงยาวยาวเป็นสองเท่าของสระเสียงสั้น เสียงสั้นแต่กดต่ำเป็นเสียงสั้นที่เพิ่มเสียงไปอีกครึ่งหนึ่ง การกดต่ำนี้ถือเป็นการเน้นหนัก ไม่ใช่เสียงวรรณยุกต์

Vowel phonemes of Tuvan
Short Long Low Pitch
High Low High Low High Low
Front Unrounded i e ì è
Rounded y ø øː ø̀
Back Unrounded ɯ a ɯː ɯ̀ à
Rounded u o ù ò

ไวยากรณ์ แก้

ภาษาตูวาสร้างคำที่ซับซ้อนโดยใช้ระบบการเติมปัจจัย เช่น teve หมายถึงอูฐ teve-ler (เครื่องหมาย – แสดงว่าเป็นคนละหน่วยคำทางไวยากรณ์ การเขียนปกติจะไม่ใช้) หมายถึงอูฐหลายตัว teve-ler-im หมายถึงอูฐของฉัน teve-ler-im-den หมายถึง จากอูฐหลายตัวของฉัน

ภาษาตูวาแบ่งนามออกเป็น 6 การก ปัจจัยของแต่ละการกมีหลายความหมาย คำกริยาในภาษาตูวามีการลงท้ายเพื่อแสดงกาล มาลา และวัตถุประสงค์ได้หลายแบบ กริยาช่วยเป็นตัวขยายกริยาหลัก การเรียงประโยคเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา

คำศัพท์ แก้

คำศัพท์ในภาษาตูวาส่วนใหญ่มีจุดกำเนิดจากภาษากลุ่มเตอร์กิก และมีคำยืมจากภาษามองโกเลียมาก

ระบบการเขียน แก้

อักษรละติน แก้

การเขียนภาษาตูวาครั้งแรกใน พ.ศ. 2473 เขียนด้วยอักษรละตินประดิษฐ์โดยพระภิกษุชาวตูวา มอนคุช ลอบซังชินมิต ก่อนหน้านี้ชาวตูวาใช้ภาษามองโกเลียเป็นภาษาเขียน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2486 การเขียนด้วยอักษรละตินถูกแทนที่ด้วยอักษรซีริลลิก ตัวอักษรละตินที่ใช้คือ

A a B ʙ C c D d E e F f G g Ƣ ƣ
H h I i J j Ɉ ɉ K k L l M m N n
Ŋ ŋ O o Ө ө P p R r S s Ş ş T t
U u V v X x Y y Z z Ƶ ƶ Ь ь

อักษรซีริลลิก แก้

อักษรที่ใช้เขียนภาษาตูวาในปัจจุบันเป็นอักษรซีริลลิกที่ดัดแปลงมาแบบที่ใช้เขียนภาษารัสเซีย และเพิ่มอักษรพิเศษอีกสามตัว อักษรที่ใช้ได้แก่

А а Б б В в Г г Д д Е е Ё ё Ж ж
З з И и Й й К к Л л М м Н н Ң ң
О о Ө ө П п Р р С с Т т У у Ү ү
Ф ф Х х Ц ц Ч ч Ш ш Щ щ Ъ ъ Ы ы
Ь ь Э э Ю ю Я я

อ้างอิง แก้

  1. ภาษาตูวา ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)

ข้อมูล แก้

  • Anderson, Gregory D. S. (2004). Auxiliary Verb Constructions in Altai-Sayan Turkic (ภาษาอังกฤษ). Wiesbaden: Otto Harrassowitz. ISBN 3-447-04636-8.
  • Anderson, Gregory D. S.; Harrison, K. David (1999). Tyvan. Languages of the World/Materials 257 (ภาษาอังกฤษ). Lincom Europa. ISBN 978-3-89586-529-9.
  • Harrison, K. David (2001). Topics in the Phonology and Morphology of Tuvan (PDF) (วิทยานิพนธ์ Doctoral) (ภาษาอังกฤษ). Yale University. OCLC 51541112.
  • Harrison, K. David (2005). "A Tuvan Hero Tale, with Commentary, Morphemic Analysis, and Translation". Journal of the American Oriental Society (ภาษาอังกฤษ). 125: 1–30.
  • Krueger, John R. (1977). Krueger, John R. (บ.ก.). Tuvan Manual. Uralic and Altaic Series Volume 126 (ภาษาอังกฤษ). Editor Emeritus: Thomas A. Sebeok. Indiana University Publications. ISBN 978-0-87750-214-2.
  • Mänchen-Helfen, Otto (1992) [1931]. Journey to Tuva (ภาษาอังกฤษ). Translated by Alan Leighton. Los Angeles: Ethnographic Press University of Southern California. ISBN 978-1-878986-04-7.
  • Mawkanuli, Talant. 1999. "The phonology and morphology of Jungar Tuva," Indiana University PhD dissertation.
  • Mongush, M. V. (1996). "Tuvans of Mongolia and China". International Journal of Central Asian Studies (ภาษาอังกฤษ). 1: 225–243.
  • Nakashima, Yoshiteru (中嶋 善輝 Nakashima Yoshiteru). 2008 "Tyva Yapon Biche Slovar', トゥヴァ語・日本語 小辞典" Tokyo University of Foreign Studies, http://www.aa.tufs.ac.jp/project/gengokensyu/08tuvan6.pdf (Archive)
  • Ölmez, Mehmet; Tuwinischer Wortschatz mit alttürkischen und mongolischen Parallelen, Wiesbaden 2007, ISBN 978-3-447-05499-7
  • Rind-Pawloski, Monika. 2014. Text types and evidentiality in Dzungar Tuvan. Turkic Languages 18.1: 159–188.
  • (ในภาษามองโกเลีย) Sečenbaγatur, Qasgerel, Tuyaγ-a [Туяa], Bu. Jirannige, Wu Yingzhe, Činggeltei. 2005. Mongγul kelen-ü nutuγ-un ayalγun-u sinǰilel-ün uduridqal [A guide to the regional dialects of Mongolian]. Kökeqota: ÖMAKQ. ISBN 7-204-07621-4.
  • Takashima, Naoki (高島 尚生 Takashima Naoki). 2008 "Kiso Tuba-go bunpō 基礎トゥヴァ語文法," Tokyo University of Foreign Studies, http://www.aa.tufs.ac.jp/project/gengokensyu/08tuvan1.pdf (Archive)
  • Takashima, Naoki. 2008 "Tuba-go kaiwa-shū トゥヴァ語会話集," Tokyo University of Foreign Studies, http://www.aa.tufs.ac.jp/project/gengokensyu/08tuvan3.pdf (Archive)
  • Taube, Erika. (1978). Tuwinische Volksmärchen. Berlin: Akademie-Verlag. LCCN: 83-853915
  • Taube, Erika. (1994). Skazki i predaniia altaiskikh tuvintsev. Moskva : Vostochnaia literatura. ISBN 5-02-017236-7
  • Todoriki, Masahiko (等々力 政彦 Todoriki Masahiko). 2011 "Possibly the oldest Tuvan vocabulary included in Wu-li-ya-su-tai-zhi lue, the Abridged Copy of the History of Uliastai, 烏里蘇台志略にみえる,最古の可能性のあるトゥバ語語彙について". Tōyōbunka-Kenkyūjo Kiyō 東洋文化研究所紀要 159 238–220. ISSN 0563-8089 The University of Tokyo, http://repository.dl.itc.u-tokyo.ac.jp/dspace/bitstream/2261/43632/1/ioc159007.pdf (Archive)
  • Oelschlägel, Anett C. (2013). Der Taigageist. Berichte und Geschichten von Menschen und Geistern aus Tuwa. Zeitgenössische Sagen und andere Folkloretexte / Дух-хозяин тайги –Современные предания и другие фольклорные материалы из Тувы / Тайга ээзи – Болган таварылгалар болгаш Тывадан чыгдынган аас чогаалының өске-даа материалдары. [The Taiga Spirit. Reports and Stories about People and Spirits from Tuva. Contemporary Legends and other Folklore-Texts.] Marburg: tectum-Verlag. ISBN 978-3-8288-3134-6

แหล่งข้อมูลอื่น แก้