ภาษาคลิงงอน (อังกฤษ: Klingon language; คลิงงอน: tlhIngan Hol, pIqaD:  , /ˈt͡ɬɪ.ŋɑn xol/) เป็นภาษาประดิษฐ์ซึ่งพูดโดยชาวคลิงงอนในจักรวาลของสตาร์ เทรค ได้รับการประดิษฐ์โดยมาร์ก โอแครนด์ นักภาษาศาสตร์ชาวอเมริกัน

ภาษาคลิงงอน
tlhIngan Hol
tlhIngan Hol
ออกเสียง/ˈt͡ɬɪ.ŋɑn xol/
สร้างโดยมาร์ก โอแครนด์, เจมส์ ดูอัน, จอน โพวิลล์
การจัดตั้งและการใช้ภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ สตาร์ เทรค (ได้แก่ เดอะเนกซต์เจเนอเรชัน, ดีปสเปซไนน์, วอยอิจเจอร์, เอนเทอร์ไพรส์ และ ดิสคัฟเวอรี), ในอุปรากรเรื่อง อุ และละครเวทีเรื่อง คลิงงอนคริสต์มัสแครอล และ เดอะบิกแบงเธียรี
ผู้ใช้ไม่ทราบ (มีผู้พูดที่ชำนาญบางส่วน อ้างถึง1996)[1]
จุดประสงค์
ระบบการเขียนอักษรละติน (ชุดตัวอักษรคลิงงอน)
อักษรคลิงงอน
ที่มาภาษาประดิษฐ์
 A priori languages
สถานภาพทางการ
ผู้วางระเบียบมาร์ก โอแครนด์
รหัสภาษา
ISO 639-2tlh
ISO 639-3tlh
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ก่อนที่ภาษาคลิงงอนจะถูกประดิษฐ์ขึ้นมา ชาวคลิงงอนในภาพยนตร์เรื่องสตาร์ เทรค จะสื่อสารกันโดยใช้ภาษาอังกฤษ แต่เมื่อภาษาคลิงงอนถูกประดิษฐ์แล้ว ชาวคลิงงอนก็ได้เปลี่ยนไปสื่อสารโดยใช้ภาษาคลิงงอนแทน

มีผู้คนจำนวนน้อยมากที่สามารถใช้ภาษาคลิงงอนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากคำศัพท์ในภาษาคลิงงอนส่วนใหญ่มีจุดศูนย์กลางมาจากแนวคิดเกี่ยวกับยานอวกาศและการทำสงคราม ทำให้ภาษาคลิงงอนเป็นภาษาที่ยากต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ประวัติ แก้

ภาษาคลิงงอนถูกนำไปใช้เป็นครั้งแรกในภาพยนตร์เรื่อง สตาร์ เทรค: เดอะโมชันพิกเจอร์ ซึ่งออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2522

มีการจัดตั้งสถาบันภาษาคลิงงอนขึ้นในสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำหน้าที่ส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมและภาษาของคลิงงอนเอาไว้[2]

 
ตราสัญลักษณ์เดิมของวิกิพีเดีย มีอักษรคลิงงอนตัวหนึ่ง ( ) ปรากฏอยู่มุมบนขวาของสัญลักษณ์ดังกล่าว

นอกจากนี้ ในตราสัญลักษณ์ของวิกิพีเดีย ซึ่งเป็นรูปลูกโลก อันแสดงถึงความเป็นนานาชาติและความหลากหลายทางภาษา ที่เคยใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546-2553 มีอักษรคลิงงอนตัวหนึ่งปรากฏอยู่มุมบนขวาของตราสัญลักษณ์ดังกล่าว ซึ่งในตราสัญลักษณ์ปัจจุบันได้มีการนำอักษรคลิงงอนตัวนั้นออกไปแล้ว

ผู้พูด แก้

มีผู้คนจำนวนน้อยมากที่สามารถใช้ภาษาคลิงงอนได้เป็นอย่างดี โดยในหนังสือ In the Land of Invented Languages ที่แต่งโดย อาริกา โอเครนต์ มีการสันนิษฐานว่า มีผู้ที่พูดภาษาคลิงงอนได้อย่างคล่องแคล่วราว 20-30 คน[3] สาเหตุเนื่องจากคำศัพท์ในภาษาคลิงงอนส่วนใหญ่นั้น มักจะมีจุดศูนย์กลางมาจากแนวคิดเกี่ยวกับยานอวกาศและการทำสงคราม จึงทำให้ภาษาคลิงงอนเป็นภาษาที่ยากต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

มีผู้พูดภาษาคลิงงอนคนหนึ่ง ชื่อว่า ดาร์มอนด์ สเปียส์ ได้สอนให้ลูกชายของเขาเอง ที่ชื่อว่า แอลิก พูดภาษาคลิงงอนเป็นภาษาแรก ในขณะที่แม่ของลูกชายคนนั้น สื่อสารกับลูกชายของเธอด้วยภาษาอังกฤษ[4] ทำให้แอลิกแทบจะไม่โต้ตอบกับพ่อของเขาด้วยภาษาคลิงงอนเลย ถึงแม้ว่าเขาจะพูดภาษาคลิงงอนได้ชัดเจนดีก็ตาม หลังจากที่แอลิกมีอายุครบ 5 ปีแล้ว สเปียส์ซึ่งเป็นพ่อของแอลิก รายงานว่าลูกของเขาไม่โต้ตอบอะไรเลย เมื่อเขาพูดภาษาคลิงงอนกับลูกของเขา ทำให้เขาต้องตัดสินใจหันมาใช้ภาษาอังกฤษแทน[5][6]

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 บริษัทยูโรทอล์ก ได้วางจำหน่ายโปรแกรมสอนภาษาคลิงงอนที่ชื่อว่า "Learn Klingon" โดยภาษาคลิงงอนจะถูกแสดงในโปรแกรมโดยใช้ทั้งอักษรละตินและอักษรคลิงงอน (plqaD) และเป็นโปรแกรมแรกที่สอนภาษาคลิงงอน โดยเขียนภาษาคลิงงอนด้วยอักษรคลิงงอน (plqaD) และได้รับการยอมรับจากทางซีบีเอสและมาร์ก โอแครนด์ โดยฟอนต์ทรูไทป์ที่ใช้สำหรับแสดงผลอักษรคลิงงอนมีชื่อว่า Hol-pIqaD

ลักษณะและการนำไปใช้งาน แก้

เดิมภาษาคลิงงอนถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อใช้ในหนังเรื่องสตาร์ เทรคเท่านั้น การจะนำภาษาคลิงงอนไปใช้สื่อสารในชีวิตประจำวัน หรือการแปลความในภาษาคลิงงอน เป็นเรื่องยากมาก เนื่องจากในภาษาคลิงงอนมีคำศัพท์เพียง 3,000 คำ ซึ่งถือว่าน้อยมาก

ระบบการเขียน แก้

 
คำว่า Qapla’ ที่หมายถึง ความสำเร็จ ในภาษาคลิงงอน

ภาษาคลิงงอนสามารถเขียนโดยใช้อักษรละตินหรืออักษรคลิงงอนก็ได้ แต่ในละครชุดโทรทัศน์ส่วนใหญ่มักจะเขียนภาษานี้ด้วยอักษรคลิงงอนมากกว่า ซึ่งตัวอักษรคลิงงอนมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า plqaD ซึ่งชื่อนี้ถูกตั้งขึ้นโดยผู้ที่ชื่นชอบภาพยนตร์และละครชุดโทรทัศน์เรื่อง สตาร์ เทรค แต่ไม่มีใครทราบที่มาของชื่อเรียกนี้

ตัวอย่างประโยคในภาษาคลิงงอน แก้

tlhIngan Hol Dajatlh’a’?
คุณพูดภาษาคลิงงอนได้ไหม?
jIyajbe’.
ฉันไม่เข้าใจ
Dochvetlh vISoplaHbe’.
ฉันกินอันนั้นไม่ได้
bIlughbe’.
คุณผิดแล้ว


ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. According to Lawrence Schoen, director of the KLI. Wired 4.08: Dejpu'bogh Hov rur qablli!*
  2. Lisa Napoli (October 7, 2004). "Online Diary: tlhIngan maH!". New York Times.
  3. "But what about speakers in the sense of people who can carry on a spontaneous live conversation in Klingon? (...) I would say, oh, twenty or so. Maybe thirty." Arika Okrent. In the Land of Invented Languages. New York (Spiegel & Grau). 2010, p. 273.
  4. Dean, Eddie (1996-08-09). "Klingon as a Second Language D'Armond Speers Teaches His Son an Alien Tongue, Washington City Paper, August 9, 1996". Washingtoncitypaper.com. สืบค้นเมื่อ 2013-12-11.
  5. Fry's Planet Word, BBC TV, 2011.
  6. "Babble On Revisited, Wired, Issue 7.08, August 1999". Wired.com. 2009-01-04. สืบค้นเมื่อ 2013-12-11.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้