ภาษากุรุข (Kurukh; อักษรเทวนาครี: कुड़ुख़) เป็นภาษาในตระกูลภาษาดราวิเดียนที่พูดโดยเผ่าโอโรนหรือเผ่ากุรุข ที่อยู่ในรัฐพิหาร ฌารขัณฑ์ โอริศา มัธยประเทศ ฉัตตีสครห์ และเบงกอลตะวันตก ในประเทศอินเดีย และบังกลาเทศภาคเหนือ มีความใกล้เคียงกับภาษาบราฮุย และภาษามัลโตหรือภาษาปาหาเรีย บางครั้งเรียกภาษาโอโรน

ภาษากุรุข
कुड़ुख़
ประเทศที่มีการพูดอินเดีย, บังกลาเทศ
ชาติพันธุ์ชาวกุรุข
จำนวนผู้พูด2,053,000 คน (พ.ศ. 2540)  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรเทวนาครี
รหัสภาษา
ISO 639-2kru
ISO 639-3kru

การจัดจำแนก แก้

ภาษากุรุขอยู่ในตระกูลภาษาดราวิเดียน[1] จัดอยู่ในกลุ่มภาษาดราวิเดียนเหนือ ใกล้เคียงกับภาษาปาหาเรีย เขียนด้วยอักษรเทวนาครี

ผู้พูด แก้

ผู้พูดภาษานี้ที่เป็นเผ่าโอโรนและไกสานรวมกันประมาณ 2,053,000 คน อัตราการรู้หนังสือพบในเผ่าโอโรน 23% เผ่าไกสาน 17% ภาษานี้มีโอกาสที่จะเป็นภาษาตาย[2] รัฐบาลของรัฐฌารขัณฑ์และฉัตติสครีย์ได้สนับสนุนให้สอนภาษากุรุขในโรงเรียนที่มีชนเผ่าทั้งสองเป็นจำนวนมาก

วรรณกรรม แก้

มีการแปลไบเบิลเป็นภาษากุรุขเมื่อ พ.ศ. 2543 มีการสอนภาษาในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเช่น มหาวิทยาลัยรันชีและมหาวิทยาลัยสิโธ กาโญ วารสารเช่น Nam Kurkhat, Singi Dai และ Jharkhand Dhara ตีพิมพ์บทความที่เขียนด้วยภาษากุรุข มีการตีพิมพ์หนังสือด้วยภาษากุรุขในรัฐฌารขัณฑ์ โอริศา ฉัตติสครีย์ มัธยประเทศและเบงกอลตะวันตก

อ้างอิง แก้

  1. Stassen, Leon (1997). Intransitive Predication. Oxford Studies in Typology and Linguistic Theory. Oxford University Press. p. 220. ISBN 978-0199258932.
  2. Daniel Nettle and Suzanne Romaine. Vanishing Voices: The Extinction of the World's Languages. Oxford: Oxford University Press, 2000. Page 9.


แหล่งข้อมูลอื่น แก้