สมดุลทางอุณหพลศาสตร์

โดยทั่วไปเมื่อระบบทางอุณหพลศาสตร์สองระบบสัมผัสกันจะมีการแลกเปลี่ยนพลังงานต่อกันและกัน ภาวะสมดุลทางอุณหพลศาสตร์ (อังกฤษ: Thermodynamical equilibrium) เกิดขึ้นเมื่อทั้งสองระบบไม่มีการถ่ายทอดพลังงานกันอีกแล้ว หรือเราอาจนิยามให้หมายถึงสภาวะที่ระบบอุณหพลศาสตร์อยู่ในสภาวะสมดุลทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น สมดุลทางกลศาสตร์ สมดุลทางไฟฟ้า สมดุลทางเคมี หรือสมดุลทางอุณหภูมิ เป็นต้น

อนึ่ง ภาวะสมดุลทางอุณหพลศาสตร์นี้ เป็นนิยามสำคัญในกฎข้อที่ 0 ของอุณหพลศาสตร์

สมดุลความร้อน

แก้

การเกิดสมดุลความร้อนเกิดขึ้นเมื่อระบบ 2 ระบบที่มีการสัมผัสทางอุณหภูมิถึงกันนั้นไม่มีค่าการแลกเปลี่ยนพลังงานรวม ผลที่เกิดคือ เมื่อระบบ 2 ระบบอยู่ในภาวะสมดุลความร้อน เมื่อนั้นระบบทั้งสองมีค่าอุณหภูมิเท่ากัน[1]

อ้างอิง

แก้
  1. R.K. Pathria, 1996