ภาพยนตร์ลาว
ภาพยนตร์ลาว คือภาพยนตร์ภาษาลาว โดยในยุคแรกประมาณปี ค.ศ. 1950[1] เป็นต้นมาภาพยนตร์ลาวส่วนใหญ่เป็นหนังสารคดีที่ทำขึ้นเพื่อโน้มน้าวประชาชนให้รักชาติ ภายใต้การอำนวยการสร้างของรัฐบาลและกลุ่มแนวลาวรักชาติ (Lao Patriotic Front)[1] อาทิเช่นภาพยนตร์เรื่อง Gathering in the Zone of Two Provinces ถือเป็นภาพยนตร์ที่เก่าแก่ที่สุด ไม่ปรากฏปีที่สร้าง สร้างโดยคนทำภาพยนตร์เวียดนาม ,20 ปีแห่งการปฏิวัติ (1965) , ไซซะนะละดูแล้ง (ชัยชนะฤดูแล้ง - 1970) และ แดนแห่งอิดสะระ (1970)
ต่อมารัฐบาลลาวเริ่มทำหนังบ้างและมีจุดประสงค์เพื่อปลูกฝังให้คนรักชาติเช่นเดิม เช่น เพื่อนฮัก เพื่อนแค้น และ แผ่นดินของเฮา (ทั้ง 2 เรื่องไม่ปรากฏปีที่ฉาย) มีการเผยแพร่ด้วยวิธีเร่ฉายตามชานเมืองเพื่อให้เข้าถึงคนหมู่มาก
หลังปี ค.ศ. 1975 หลังการปลดปล่อยประเทศ วงการหนังลาวเข้าสู่ภาวะซบเซา แต่อย่างไรก็ตามกระทรวงวัฒนธรรมได้ตั้งศูนย์สำเนาฟิล์มขึ้นเพื่อรักษาฟิล์มหนังและผลิตสารคดีเผยแพร่ทางโทรทัศน์ในวาระสำคัญต่างๆ มากกว่าการปลุกระดมดังแต่ก่อน เช่น บันทึกการประชุมนานาชาติ ,บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วม, บันทึกการสร้างเมืองใหม่ เป็นต้น
ต่อมาปี 1983 รัฐบาลลาวและเวียดนามร่วมกันสร้างภาพยนตร์เล่าเรื่องเรื่องแรก คือ เสียงปืนจากทุ่งไห่ กำกับโดย สมจิต พนเสนาและ พัน กี นัม ผู้กำกับชาวเวียดนาม เป็นภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกองกำลังทหารยุคคอมมิวนิสต์ แต่ได้ผลลัพธ์ที่ไม่ดีนัก ต่อมารัฐบาลลาวสร้างหนังเรื่อง บัวแดง ในปี 1988 เป็นเรื่องราวรันทดของครอบครัวที่ถูกพรากจากกันโดยสงครามกลางเมือง เป็นเรื่องที่มีฉากหลังอยู่ในปี 1972 ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จดี[1] และหนังจากทุนเวียดนามเรื่อง ขรัวพญาช้าง[2]
ในปี ค.ศ. 2008 กับภาพยนตร์ลาวเรื่อง สะบายดีหลวงพระบาง นำแสดงโดย อนันดา เอเวอริ่งแฮม และ คำลี่ พิลาวง
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 "หนังลาวยุคก่อนและหลังการปลดปล่อย". นิตยสารไบโอสโคป ฉบับที่ 78 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2551 หน้า 70
- ↑ Production note สะบายดี หลวงพะบาง เก็บถาวร 2008-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน sabaideemovie.com