ฟูริงานะ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ฟูริงานะ (ญี่ปุ่น:
ฟูริงานะส่วนใหญ่เขียนในอักษรฮิรางานะ แม้ว่าในบางครั้งจะเขียนด้วยอักษรคาตากานะ โรมาจิ หรืออักษรคันจิแบบง่าย ส่วนในข้อความแนวตั้ง จะเริ่มต้นประโยคจะอยู่ด้านขวามือ ส่วนในข้อความแนวนอน จะเขียนไว้เหนือเส้น ดังตัวอย่างข้างล่าง
|
หรือ |
|
รูปร่าง
แก้ฟูริงานะอาจปรากฏอยู่บนคันจิตัวต่อตัว หรืออาจจะอยู่ตรงกลางของด้านบนของคำหรือวลีก็ได้ วิธีหลังเป็นที่นิยมกว่าเนื่องจากภาษาญี่ปุ่นมีคำอยู่หลายคำที่มีเสียงอ่านเฉพาะตัว นั่นคือเสียงของทั้งคำไม่สอดคล้องกับเสียงของคันจิแต่ละตัว
โดยทั่วไปแล้ว ฟูริงานะจะเขียนแทนด้วยฮิรางานะ แต่ในกรณีที่ต้องการแยกแยะความแตกต่างระหว่างเสียงอ่านแบบญี่ปุ่นกับเสียงอ่านแบบจีน ตัวอย่างเช่นพจนานุกรมคันจิ จะเขียนเสียงอ่านแบบญี่ปุ่นด้วยฮิรางานะ และเสียงอ่านแบบจีนด้วยคาตากานะ
นอกจากนี้ อักษรบางตัวที่เมื่อเขียนด้วยฮิรางานะแล้วเป็นตัวเล็ก พอนำไปเขียนเป็นฟูริงานะแล้วอาจจะมีขนาดเท่ากับตัวอักษรตัวอื่นก็ได้เช่น
การใช้งาน
แก้ฟูริงานะมักใช้ในสิ่งของสำหรับเด็กที่ยังอ่านคันจิได้ไม่มากแต่สามารถเข้าใจเมื่อเขียนเป็นคำอ่านด้วยฮิรางานะได้ ทั้งนี้ เป็นเพราะเด็ก ๆ จะเรียนฮิรางานะและคาตากานะก่อนจะเริ่มเรียนคันจิ
นอกจากนี้ฟูริงานะยังใช้เขียนคำอ่านของคันจิที่ไม่ค่อยใช้กันด้วย สื่อต่าง ๆ มักใช้ฟูริงานะกับคันจิที่ไม่ได้อยู่ในรายการโจโยกันจิ
ฟูริงานะมีปรากฏในคันจิบนป้ายของสถานีรถไฟต่าง ๆ แม้ว่าคันจิเหล่านั้นจะเป็นที่รู้กันอยู่แล้ว ฟูริงานะมักใช้ในแผนที่แสดงชื่อของสถานที่ที่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก
ชื่อ
แก้ชาวญี่ปุ่นเขียนชื่อด้วยคันจิ แต่คันจิบางตัวก็มีวิธีอ่านได้หลายวิธี ดังนั้นจึงมีการใช้ฟูริงานะเพื่อระบุการอ่านที่ถูกต้อง เวลากรอกแบบฟอร์มต่าง ๆ ที่เป็นทางการ จะมีช่องให้ใส่ชื่อและช่องให้ใส่ฟูริงานะเสมอ
การเรียนภาษา
แก้หนังสือเรียนภาษาญี่ปุ่นสำหรับชาวต่างชาติมักจะใช้ฟูริงานะบอกคำอ่านของคันจิ
หนังสือเรียนภาษาต่างประเทศของชาวญี่ปุ่นก็ใช้ฟูริงานะด้วยเช่นกัน เช่น ใช้ฟูริงานะบอกคำอ่านของอักษรฮันกึลในภาษาเกาหลี
อ้างอิง
แก้- ↑ Geoffrey Sampson (1990). Writing Systems: A Linguistic Introduction. Stanford University Press. p. 190. ISBN 978-0-8047-1756-4.
ข้อมูล
แก้- Mangajin's Basic Japanese Through Comics [Part I] New York: Weatherhill, 1998: 48–49
- J Paul Warnick, Review of Nihon o Hanasoo in The Journal of the Association of Teachers of Japanese, Vol. 32, No. 2 (Oct., 1998), pp. 80–83.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Add Ruby automatically for Japanese Web site—Multi-language phonetic reading site that can add phonetic reading to any site or texts in five different alphabets, hiragana, katakana, Roman, hangul, Devanagari, and Cyrillic letters for Japanese.