ฟอร์บิดเดนคัลเลอส์

"ฟอร์บิดเดนคัลเลอส์" (อังกฤษ: Forbidden Colours) เป็นเพลงที่ประพันธ์โดยนักดนตรีชาวญี่ปุ่น รีวอิชิ ซะกะโมะโตะ และเนื้อร้องโดยโดยนักดนตรี นักแต่งเพลงและนักร้องชาวอังกฤษ เดวิด ซิลเวียน เพลงนี้เป็นเพลงร้อง ธีมเพลงประกอบภาพยนตร์ของ นางิสะ โอชิมาเรื่อง Merry Christmas, Mr. Lawrence (ในบางที่ใช้ชื่อว่า Furyo) ออกครั้งแรกในอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ ต่อมาเพลง "ฟอร์บิดเดนคัลเลอส์" ได้ถูกนำมาร้องใหม่ในเพลงดูเอ็ต ของค่ายเวอร์จิ้นในปี 1983 เป็นซิงเกิลที่ 2 ของซิลเวียนและซะกะโมะโตะ ตามหลังซิงเกิลที่ชื่อ "Bamboo Houses" ในปี 1982

"ฟอร์บิดเดนคัลเลอส์"
เพลงโดยรีวอิชิ ซะกะโมะโตะ, เดวิด ซิลเวียน
จากอัลบั้ม'Soundtrack: Merry Christmas, Mr. Lawrence'
วางจำหน่าย1983
บันทึกเสียง1983
แนวเพลงป็อป, ร็อก, อีเลกโทรนิก
ความยาว4:13
ค่ายเพลงVirgin Records
โปรดิวเซอร์รีวอิชิ ซะกะโมะโตะ

ชื่อเพลงมาจากนิยายของนักเขียนชาวญี่ปุ่นที่ชื่อ มิชิมะ ยุกิโอะ ในปี 1953 ในชื่อเดียวกัน ถึงแม้ว่าไม่เกี่ยวกับภาพยนตร์โดยตรง แต่งานทั้ง 2 นี้ยังเกี่ยวกับรักร่วมเพศ

ในปี ค.ศ. 1984 มีการบันทึกเสียงใหม่และออกในหน้าบีของซิงเกิล "Red Guitar" ซิงเกิลแรกของอัลบั้มเดี่ยวชุดแรกของซิลเวียนชุด Brilliant Trees และต่อมายังเป็นเพลงแถมในอัลบั้มปี 1987 ของเขาที่ชื่อ Secrets of the Beehive ทั้งซะกะโมะโตะและซิลเวียนได้บันทึกเสียงเพลงนี้หลายครั้งหลายรูปแบบ รวมถึงในรูปแบบเพลงบรรเลง (ภายใต้ชื่อเพลงว่า "Merry Christmas, Mr. Lawrence") และเพลงร้อง เวอร์ชันเพลงบรรเลงที่มีเสียงร้องของซิลเวียนยังอยู่ในอัลบั้มเพลงของซะกะโมะโตะ ชุด Cinemage ในปี 1999

รูปแบบและรายชื่อเพลง แก้

ดนตรีโดยรีวอิชิ ซะกะโมะโตะและเนื้อร้องเดวิด ซิลเวียน (หรือหากเป็นคนอื่นจะมีระบุเสริม)

  • UK 7" Virgin Records VS 601 & 7" pic disc VSY 601
  1. "Forbidden Colours" – 4:42
  2. "The Seed and the Sower" (เพลงบรรเลง) (ซะกะโมะโตะ) – 5:00
  • UK 12" Virgin Records VS 601-12
  1. "Forbidden Colours" – 4:42
  2. "The Seed and the Sower" (เพลงบรรเลง) (ซะกะโมะโตะ) – 5:00
  3. "Last Regrets" (เพลงบรรเลง) (Sakamoto) – 2:40
  • UK 3" CD Virgin Records CDT 18 (ออกในปี 1988)
  1. "Forbidden Colours" - 4.42
  2. "Bamboo Houses" - 5.26
  3. "Bamboo Music" - 5.38

ผู้มีส่วนร่วมทำเพลง แก้

ภาคผลิต แก้

การทำใหม่และใช้ในสื่อ แก้

  • ในปี 1990 ใช้เป็นเพลงประกอบโฆษณาฟิล์มถ่ายรูปสียี่ห้อ ฟูจิ ที่มี ธงไชย แมคอินไตย์ แสดง[1]
  • ในเดือนมีนาคม 2000 วงแทรนซ์จากเยอรมนีที่ชื่อ วอเทอร์เกต นำเพลงฮิตของพวกเขาติดอันดับ 3 ในสหราชอาณาจักร ชื่อเพลง "Heart of Asia" โดยใช้เมโลดี้หลักและดนตรีในเวอร์ชันบรรเลงของเพลงนี้
  • แม็กซิม มรวิกา ทำเพลงในรูปแบบเปียโนในอัลบั้มของเขาที่ชื่อ Variations Part I&II (2004)
  • เพลงนี้ประกอบในภาพยนตร์สิงคโปร์ที่ชื่อ - The Leap Years, ออกในเดือนธันวาคม ปี 2005.
  • อังกัน ใช้ส่วนหนึ่งของเพลงในเพลงของเธอที่ชื่อ "Hymne à la vie / Seize the Moment / Sebelum Berhenti" จากอัลบั้มชุด Elevation
  • ในเดือนมีนาคม 2009 ศิลปินชาวญี่ปุ่น อุตะดะ ฮิกะรุ มีเพลงที่ชื่อ "Merry Christmas Mr. Lawrence" ซึ่งใช้เมโลดี้จากเพลงนี้
  • ในเดือนพฤศจิกายน 2009 ศิลปินคลาสสิกชาวอังกฤษที่ชื่อ ฟารีล สมิธ ออกเพลงที่ชื่อ "Somewhere Far Away" โดยใช้เมโลดี้จากเพลงนี้ แต่เปลี่ยนเนื้อเพลง[2][3]

อ้างอิง แก้

  1. "Bird Thongchai - Fuji Film Commercial (Japanese Girl)". ยูทูบ. 2010-02-04.
  2. "David Sylvian And Riuichi Sakamoto - Forbidden Colours". chartarchive.org. สืบค้นเมื่อ October 3, 2012.
  3. "Forbidden Colours". irishcharts.ie. สืบค้นเมื่อ October 3, 2012.