Fleet management ระบบบริหารและติดตามพิกัดตำแหน่งยานพาหนะ จะประกอบไปด้วย เทคโนโลยีระหว่าง GIS และ GPS ใช้งานประกอบกัน (โดยน่าจะนิยามได้ว่าเป็นยิ่งกว่า GPS Tracking เพราะ GPS Tracking นั้นน่าจะอยู่ในส่วนที่ใช้ในการติดตามเท่านั้นโดยยังไม่มีส่วนของการจัดการการสั่งงานเพิ่มเติมเข้าไปด้วย) ซึ่งยานพาหนะจะติดตั้งอุปกรณ์ (Expert Track) ซึ่งเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบฝังตัวขนาดเล็กซึ่งประกอบไปด้วย ส่วนรับสัญญาณดาวเทียม ส่วนที่ใช้สำหรับอ่านค่าเซ็นเซอร์ต่างๆ และส่วนที่ใช้ในการเก็บหรือส่งข้อมูลเช่น Fleet Management GPS Unit Box M2 โดยอุปกรณ์จะรับสัญญาณจากดาวเทียม GPS เพื่อหาตำแหน่งพิกัดของยานพาหนะ ณ เวลานั้น อุปกรณ์ในการหาตำแหน่งจะทำการบันทึกการเดินทาง ตำแหน่ง ความเร็ว โดยจะเก็บค่าพิกัดเป็น เป็นองศา จัดเก็บใน memory หรือส่งข้อมูลแบบ online ข้อมูลจะถูกส่งไปยัง base center ขององค์กรณ์ที่ใช้งานระบบนี้ และจะถูกนำเข้าเพื่อจัดเก็บและวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมทางด้าน GIS ต่อไป

องค์ประกอบของระบบ fleet management

แก้
  • 1. อุปกรณ์ GPS Box สำหรับติดตั้งในตัวรถ เพื่อทำการระบุตำแหน่งและส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องเช่น ความเร็วรถ, ปริมาณน้ำมัน , ตำแหน่งล่าสุด และอื่นๆ ผ่านระบบ GSM/GPRS มายังแม่ข่ายเพื่อทำการจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลข้อมูล


  • 2. โปรแกรม fleet management คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล real-time ที่ได้จากอุปกรณ์บนตัวรถ มาแสดงผลในรูปแบบตำแหน่งแผนที่แบบเคลื่อนไหวและข้อมูลตำแหน่งแบบหลายช่วงเวลา รายงานสรุปเชิงวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้ใช้ สามารถนำข้อมูลไปใช้ในระบบสารสนเทศการขนส่งและสารสนเทศทางธุรกิจอื่นๆต่อไป


โดยโปรแกรม fleet management จะมีฟังก์ชันการทำงานหลักได้แก่

  • ฟังก์ชันค้นหาสถานที่สำคัญ
  • ฟังก์ชันแสดงแผนที่และข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์(GIS)
  • ฟํงชั่นแสดงตำแหน่งยานพาหนะ real-time ในรูปแบบภาพเคลื่อนไหว
  • ฟังก์ชันแสดงผลข้อมูลการเคลื่อนที่ของรถย้อนหลัง
  • ฟังก์ชันแสดงรายงานการเคลื่อนที่ของรถ อัตราความเร็ว ระยะทาง และเวลาการเคลื่อนที่
  • ฟังก์ชันแจ้งเตือนการควบคุมพื้นที่การทำงานและความเร็ว
  • ฟังก์ชันเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานระหว่างยานพาหนะ
  • รายงานสรุปค่าใช้จ่ายเช่น ค่าเชื้อเพลิง ค่าบำรุงรักษา ค่าจ้างเวลาทำงาน ทั้งแบบ รายวัน รายสัปดาห์ และแบบรายเดือน
  • ฟังก์ชันวิเคราะห์ต้นทุนและการวางแผนการขนส่ง
ภาพตัวอย่างรายงานการใช้เชื้อเพลิง

ประโยชน์ของระบบ

แก้
  1. ลดระยะเวลาการขนส่ง
  2. สะดวกในการบริหารจัดการ และอำนวยการขนส่ง แบบเรียลไทม์
  3. ง่ายต่อการควบคุมการทำงานของพนักงาน และรักษาวินัยจราจร ลดอุบัติเหตุ
  4. สามารถประเมินต้นทุนการขนส่งได้อย่างแน่นอน จากระยะทางและการติดตามปริมาณน้ำมัน
  5. ลดการทุจริตของพนักงาน เช่นการขโมยน้ำมัน,การใช้รถในกิจการส่วนตัว
  6. ป้องกันการโจรกรรมรถยนต์และสินค้า
  7. สามารถติดตามความก้าวหน้าในการจัดส่งสินค้า
  8. สามารถนำข้อมูลการขนส่งมาประมวลผลและวางแผนร่วมกับระบบการกระจายสินค้าของบริษัท

อ้างอิง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้