พูดคุย:แฮนด์บิล ฟิล์มมาร์เก็ต

แฮนด์บิล ฟิล์มมาร์เก็ต เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิภาพยนตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับภาพยนตร์ แนวภาพยนตร์ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ และนักแสดง ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ แฮนด์บิล ฟิล์มมาร์เก็ต หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ

เนื่องจากเมื่อปีที่แล้วในงาน Bangkok Film Festival ไม่ได้มีส่วนของ Film Market แต่ว่า มีแฮนด์บิลที่ว่านี้ในงานอื่นนะครับ คิดว่าไม่น่าจะเรียกแฮนด์บิลประเภทนี้ว่า แฮนด์บิลฟิล์มมาเก็ตครับ -- 58.9.188.16 23:04, 20 สิงหาคม 2552

ขอบคุณสำหรับความเห็น คำแนะนำ และคำวิจารณ์ในบทความ เมื่อคุณเห็นว่าบทความไหนควรปรับปรุงอย่าลังเลที่จะแก้ไข วิกิพีเดียเป็นเว็บไซต์ในลักษณะวิกิที่ทุกคนสามารถร่วมแก้ไขได้ โดยเลือกที่ แก้ไข ในส่วนบนของแต่ละบทความ ซึ่งการแก้ไขนั้นไม่จำเป็นจะต้องล็อกอิน (แม้ว่าจะมีข้อดีหลายอย่างถ้าล็อกอินก็ตาม) ทางวิกิพีเดียสนับสนุนให้ทุกคนกล้าแก้ไขบทความ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ทุกคนช่วยกันลงมือพัฒนาบทความให้ดีขึ้นกว่าเดิม ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าจะเริ่มอย่างไร สามารถดูได้ที่การเริ่มต้นในวิกิพีเดีย และคำสั่งพื้นฐานในการใช้งาน และถ้าต้องการทดสอบสามารถลองได้ที่ทดลองเขียน

พูดคุย:แฮนด์บิล ฟิล์มมาร์เก็ต แก้

ขอบคุณที่คุณได้เข้ามาแสดงความคิดเห็นในหน้าพูดคุยครับ เรื่อง การเรียกชื่อ แฮนด์บิล ฟิล์มมาร์เก็ต มันไม่ใช่ความคิดที่ผมคิดขึ้นมาคนเดียว ผมเคยคุยกับเพื่อน หรือใครหลายๆคนที่มีการสะสมอยู่ ก็ได้คำตอบว่า เรียกอย่างนี้ก็เข้าใจง่ายดีสำหรับความเข้าใจของคนไทย เพราะคนไทยถนัดที่จะเรียกใบปลิวที่เกี่ยวกับภาพยนตร์ว่า แฮนด์บิลอยู่แล้ว คำนำหน้าของสิ่งที่เรียกนี้ก็ควรจะเรียกว่า แฮนด์บิล แต่ถ้าคุณ ไปตลาดซื้อขายหนังที่อเมริกา ที่นั่นก็อาจเรียก มูวี่ ฟลายเออร์ (Movie Flyers) หรือ sales flyers อันนี้ผมอธิบายซ้ำกับบทความนะครับ

ส่วนที่คุณแสดงความคิดเห็นว่า "เนื่องจากเมื่อปีที่แล้วในงาน Bangkok Film Festival ไม่ได้มีส่วนของ Film Market แต่ว่า มีแฮนด์บิลที่ว่านี้ในงานอื่นนะครับ คิดว่าไม่น่าจะเรียกแฮนด์บิลประเภทนี้ว่า แฮนด์บิลฟิล์มมาเก็ตครับ" ผมก็อยากขอถามกลับว่า แล้วคุณคิดว่า มันควรจะเรียกว่าอะไร ช่วยแสดงความคิดเห็นด้วยครับ เพราะตลอดเวลาหลายปี ที่หลายคน เห็นและรู้จักแฮนด์บิล ชนิดนี้ แต่ไม่รู้ว่าจะเรียกมันว่าอย่างไรถึงจะเหมาะสม และพากันเรียกผิดๆ และเข้าใจผิดว่า ของเหล่านี้หาได้ทั่วไปตามโรงหนังในต่างประเทศ ซึ่งก็ได้อธิบายไปแล้วในบทความ ว่า ไม่ใช่แน่ๆ และที่เห็นแจกนั่นคือส่วนน้อยนิดมากๆครับ ถ้าคุณจะพบแหล่งรวม ต้องที่ ตลาดซื้อขายภาพยนตร์ครับ หลังจากนั้น คุณก็ไม่เห็นเขาจัดงานอีก แล้วใช่มั้ยครับ และก็ไม่เคยเจอมันอีกเลย ถูกต้องนะครับ

ทีนี้ก็มาดูจุดประสงค์ที่บริษัทผู้สร้างภาพยนตร์แต่ละประเทศทั่วโลก จัดพิมพ์ แฮนด์บิลเหล่านี้ขึ้นมา ก็เพื่อการขายลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ให้กับประเทศอื่นๆทั่วโลก โดยใช้ภาษาอังกฤษ เป็นภาษากลางในการพิมพ์แฮนด์บิลเหล่านี้ และงานที่ ผู้ซื้อ และผู้ขาย จะมาพบกันได้มากที่สุดก็คือ ตลาดซื้อขายหนัง(Film Market)ซึ่งมักจะจัดคู่กับเทศกาลภาพยนตร์ในประเทศนั้นๆ ในตลาดซื้อขายหนัง เช่น งานเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ (ฝรั่งเศส) ,งานMIFED ที่ มิลาน อิตาลี,งาน AFI ที่ สหรัฐอเมริกา,งานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ โตเกียว,งานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน (เกาหลี) ,งานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ โตรอนโต (แคนาดา) ,งานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ เบอร์ลิน (เยอรมัน) เป็นต้น และที่สำคัญครับ หนังจำนวนมากมายมหาศาล ที่มีการทำแฮนด์บิลชนิดนี้ขึ้นมา ทั้งที่ยังไม่ได้มีการสร้างหนังเรื่องนั้นด้วยซ้ำ หนังหลายเรื่องเป็นเพียงแค่โปรเจ็คที่จะสร้าง ฉะนั้น เขาไม่มีตัวอย่างหนัง หรืออะไรที่เกี่ยวกับหนังมาโชว์เลยสักนิด นอกจาก กระดาษแผ่นเดียวที่เรียกว่าแฮนด์บิลประเภทนี้ล่ะครับ เป็นสิ่งเดียวที่จะนำเสนอลูกค้าที่เดินผ่านไปผ่านมาใน Film market หยิบไปอ่านเพื่อเรียกร้องความสนใจว่า โปรเจ็คหนังเรื่องนี้มีดีอะไรที่ต้องรีบซื้อทั้งที่มันยังไม่ได้สร้าง หากในแฮนด์บิล ระบุว่ามีดาราระดับแม่เหล็ก นำแสดง มีงบสร้างมหาศาล และอะไรต่างๆที่จะเขียนโม้ในแฮนด์บิลแล้วน่าสนใจ คนก็จะเริ่มสนใจ และจะเริ่มมีการเจรจาต่อรองเกิดขึ้น เรียกว่า เป็นการขายฝันชัดๆ เรียกได้ว่า แฮนด์บิลเหล่านี้เกิดมาเพื่อ ตลาดซื้อขายหนังโดยแท้ คุณเคยแปลกใจใหมว่า ทำไมหนังหลายเรื่อง ไม่เห็นจะได้เรื่องเลย หนังแย่มาก ทำไม บริษัทหนังถึงซื้อมาฉาย ทำไมไม่เอาแต่หนังดีๆมาฉาย เหตุผล ก็คือ การแข่งขัน แย่งชิง ซื้อขายหนัง ตั้งแต่หนังยังไม่สร้างนี่ล่ะครับ ตั้งแต่มันเป็นแค่โปรเจ็ค ในแผ่นแฮนด์บิลนี้ล่ะครับ บางเรื่อง เป็นแค่รูปกราฟิก ที่ดูไม่รู้เรื่อง และมีชื่อหนังอยู่ตรงกลางก็มีครับ ฉะนั้นคุณไม่มีโอกาสรู้เลยว่าหนังเรื่องนั้น จะยอดเยี่ยมจริงตามที่บริษัทที่เสนอขายหนังโม้ไว้ เอาแค่ว่า ในแฮนด์บิลบอกว่า มีดาราดัง แสดง...ยกตัวอย่าง จวนจีฮุน และบอกว่างบสร้าง 80ล้านดอลลาร์สหรัฐ แค่นี้ ก็แย่งกันซื้อแล้วครับ โดยที่ไม่สนว่าหนังจะออกมาดีจริงหรือไม่ เพราะถ้าคุณไม่รีบตัดสินใจ บริษัทอื่นก็จะซื้อตัดหน้าคุณไป มันเป็นอย่างนี้จริงๆ ในตลาดซื้อขายหนังครับ อันนี้ผมอธิบายเป็นสากลที่สุดแล้วนะครับ

ฉะนั้นการที่งานBangkok International Film Festival จะมีส่วนของ Film Market หรือไม่ก็ตาม แฮนด์บิลนี้ก็ไม่ได้หายไปจากระบบการซื้อขายภาพยนตร์ครับ และการที่คุณจะไปเห็นแฮนด์บิลนี้จากงานอื่นๆ ที่คุณไม่ได้ระบุว่าคืองานอะไร ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกครับ เพราะใน ตลาดซื้อขายหนัง ก็จะมีหนังที่สร้างเสร็จสมบูรณ์ไปขายด้วยเหมือนกัน ฉะนั้นในงานอื่นๆที่เกี่ยวกับหนังของเขา ที่เขาพอจะมองเห็นลู่ทางในการโปรโมทหนังของเขาได้ เขาก็ไปแจกเพื่อโปรโมทหนังครับ เป็นหลักเบสิคพื้นฐานที่ คนทำการตลาดทุกคนต้องคิดออกครับ ของเขาพิมพ์มาแล้วก็ต้องพยายามใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุดครับ ดุที่จุดประสงค์ในการจัดทำ ก็จะเห็นได้ชัดเจนครับ ที่บอกว่า เห็นในส่วนอื่นๆ งาน อื่นๆ นั้น ขอบอกว่า เป็นเพียงส่วนน้อนนิดเท่านั้น จะเอาเป็นประเด็นหลักคงไม่ถูกต้อง ทำใจเป็นกลางดูจุดประสงค์หลักครับ ขอบคุณที่แสดงความคิดเห็นครับ เพราะนานๆจะได้แวะมาดูว่ามีใครมาช่วยแก้ หรือคอมเม้นท์ให้มันสมบูรณ์ใหม คุณทำให้ผมคิดออกว่ามีบางประเด็นที่หลายๆคนไม่ทราบครับ

กลับไปที่หน้า "แฮนด์บิล ฟิล์มมาร์เก็ต"