พูดคุย:หญิงรักร่วมเพศ

หญิงรักร่วมเพศ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิผู้หญิง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับผู้หญิง ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ หญิงรักร่วมเพศ หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ
หญิงรักร่วมเพศ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิแอลจีบีทีศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ หญิงรักร่วมเพศ หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ชื่อบทความควรใช้ว่าอย่างไรดี แก้

ลิงก์ หญิงรักหญิง redirect มายังหน้านี้ (หญิงรักร่วมเพศ) นอกจากนี้ยังมีความนิยมใช้การทับศัพท์ว่า เลสเบี้ยน อีกด้วย จึงมีคำถามว่าชื่อบทความหลัก จะใช้ชื่อใดดี

จากบทสนทนาสั้นๆ ทางทวิตเตอร์กับ ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ นักวิชาการรัฐศาสตร์และสตรีศึกษา ให้ความเห็นว่า "จะใช้คำว่า 'หญิงรักหญิง' หรือ 'หญิงรักร่วมเพศ' ขึ้นอยู่กับว่าเน้นองค์ประกอบ sex หรือ love"[1] "กลุ่มเคลื่อนไหวใช้คำว่า 'หญิงรักหญิง' แต่ก็มีคนค้านว่า lesbianism เป็นเรื่องรสนิยมทางเพศที่ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับความรัก"[2]

มีคำกลางๆ ในภาษาไทยที่ใช้เรียกรวม เกย์ และ เลสเบี้ยน คือ "คนรักเพศเดียวกัน"[3] ถ้าเป็นหญิงก็ "หญิงรักหญิง"[4] ถ้าเป็นชายก็ "ชายรักชาย"[5] (สืบค้นจากเว็บไซต์ สสส.)

ตัวอย่างกลุ่มเคลื่อนไหวในประเทศไทยที่ใช้คำว่า "หญิงรักหญิง" ก็เช่น กลุ่มสร้างสื่อเพื่อสนับสนุนส่งเสริมสิทธิหญิงรักหญิงและความหลากหลายทางเพศ (สะพาน)[6] แล้วยังมีกลุ่มอัญจารี (Anjaree) ที่ทำงานรณรงค์เรื่องสิทธิหญิงรักหญิงมานาน http://www.anjaree.org/8201.html กลุ่มคนทำงานกลุ่มใหม่ๆ เช่น กัลยาสโมสร http://www.galayaclub.org/home/?p=693

อย่างไรก็ตาม ศัพท์บัญญัติโดยราชบัณฑิตยสถาน ใช้คำว่า "หญิงรักร่วมเพศ" ซึ่งก็มีข้อท้วงติงว่ากำกวม มีอย่างน้อยสองความหมายคือ 1) รักเพศเดียวกัน 2) รักการมีเซ็กส์ -- ซึ่งความเห็นของชลิดาภรณ์ก็อาจจะสะท้อนตรงนี้

ทางออกอีกทางคือ ใช้ทับศัพท์ว่า เลสเบี้ยน เป็นชื่อหลัก แล้วรายละเอียดในบทความก็มีอภิปรายถึงการใช้คำต่างๆ

จึงขอความเห็นครับ ว่าควรใช้คำใดเป็นชื่อบทความหลัก ขอบคุณครับ

-- bact' 19:00, 2 ตุลาคม 2555 (ICT)

การใช้คำว่า "หญิงรักหญิง" "หญิงรักร่วมเพศ" หรือแม้กระทั่ง "เสสเบี้ยน" อาจยังไม่ครอบคลุมบางอัตลักษณ์ เช่น บางคนตอนเกิดมาเป็นเพศหญิง (มีช่องคลอด) แต่เมื่อรู้ความ เขารู้สึกว่า เขาไม่ใช่ผู้หญิง แต่เป็นผู้ชายต่างหาก กลุ่มนี้ เขาไม่คิดว่าตัวเองเป็นหญิงตั้งแต่ต้น -- User:Vijitr 3 ตุลาคม 2555 −−Vijitr (พูดคุย) 14:54, 3 ตุลาคม 2555 (ICT)

เห็นในบทความภาษาอังกฤษ มีหัวข้อ Origin and transformation of the term และในภาษาอังกฤษ lesbianism ก็เปลี่ยนทางไปหน้า Lesbian สำหรับในภาษาไทยอาจจะเขียนเป็นหัวข้อหนึ่งเลยก็ได้ บทความนี้ยังมีเนื้อหาน้อยมาก --Sry85 (พูดคุย) 00:02, 4 ตุลาคม 2555 (ICT)

เสนอให้ใช้คำว่า "หญิงรักหญิง" เพราะ ๑) คำว่า "รักร่วมเพศ" เป็นคำที่มีอคติซึ่งคนทั่วไปมักไม่คำนึงถึง เพราะเป็นคำที่ใช้กันมานานจนเกิดความเคยชิน อย่างไรก็ตาม คณะทำงานพัฒนาแนวทางเสนอข่าวประเด็นผู้หญิง ร่วมกับ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มีความเห็นร่วมกันว่า คำว่า "รักร่วมเพศ" มีนัยะสื่อให้เห็นภาพว่าคนกลุ่มนี้นิยมมีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้ง ผิดแผกไปจากคนรักต่างเพศ การใช้คำว่า "หญิงรักหญิง" (รวมทั้ง "ชายรักชาย") ก็เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้คำที่มีความหมายในทางดูหมิ่น หรือ ล้อเลียน และยังสื่อให้เห็นว่าคนเพศเดียวกันสามารถมีความรักให้แก่กันได้ (ดูหน้า ๙๕ ของหนังสือเล่มนี้ซึ่งตีพิมพ์ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙) http://www.whaf.or.th/content/393 http://www.whaf.or.th/sites/default/files/guidelinenewsbook.pdf

๒) การเกิดขึ้นของคำนี้ มีประวัติศาสตร์ที่มา และมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเข้าใจต่อสังคมไทย "หญิงรักหญิง" หมายถึง ผู้หญิงที่มีความปรารถนา มีจิตใจรักเพศเดียวกัน โดยที่อาจมีเพศสัมพันธ์กัน หรือไม่มีก็ได้ คำนี้เกิดขึ้นพร้อมกับการเปิดตัวของ "กลุ่มอัญจารี" ในปี พ.ศ.๒๕๓๖ ซึ่งออกมารณรงค์ให้สังคมเข้าใจ ยอมรับ และเคารพถึงการมีตัวตนอยู่ในสังคมของผู้หญิงที่รักเพศเดียวกัน คำว่า "หญิงรักหญิง" มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างคำศัพท์ซึ่งสามารถใช้ครอบคลุมผู้หญิงรักเพศเดียวกันได้ทุกๆ กลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น ทอม ดี้ หรือ หญิงรักหญิงที่ไม่นิยามว่าตนเองเป็นทอม หรือ ดี้ (โปรดดู สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย, สื่ออย่างมือโปร แนวทางการเสนอเรื่องราวของผู้มีความหลากหลายทางเพศ, ๒๕๕๔, หน้า ๒๕

๓) มีผู้หญิงที่รักหญิงหลายคนไม่นิยมใช้คำว่า "เลสเบี้ยน" เรียกตัวเองหรือเรียกกันเอง เพราะสังคมไทยยังใช้คำนี้ในเชิงเหยียดกันอยู่ ทั้งยังตอกย้ำภาพลบเก่าๆ (เรื่องเดิม, หน้า ๒๕ และ ๗๖)

--Vijitr (พูดคุย) 14:59, 7 ตุลาคม 2555 (ICT)Vijitr

๔) กลุ่มอัญจารี ซึ่งเป็นกลุ่มที่ริเริ่มให้ใช้คำว่า "หญิงรักหญิง" ตั้งแต่ ๒๕๓๖ อธิบายถึงเหตุผลที่ใช้คำนี้และไม่ใช้คำว่า "ทอม" "ดี้" หรือคำทับศัพท์อย่าง "เลสเบี้ยน" ว่า

  ๔.๑ Lesbian เป็นคำที่มาพร้อมกับอคติมากมาย เนื่องจากถูกคิดค้นจากชุดการอธิบายความรู้ทางจิตวิทยาแบบเก่าที่มองว่า การรักเพศเดียวกันเป็นความผิดปกติทางจิตหรือเบี่ยงเบน นอกจากนี้ คำนี้ทำให้หลายคนยังติดภาพลบจากหนังดป๊ที่มีฉากร่วมเพศระหว่างหญิงกับหญิง (ที่ทำเพื่อตอบสนองจินตนาการทางเพศของผู้ชาย) 
  ๔.๒ คำว่า "ทอม" "ดี้" ไม่ครอบคลุมไปถึงหญิงรักหญิงทุกกลุ่ม
  ๔.๓ กลุ่มอัญจารีต้องการคิดหาคำนิยามความเป็นตนเอง หรือความเป็นผู้หญิงที่รักเพศเดียวกันที่เป็นคำกลางๆ ปราศจากอคติทางเพศ และควรเป็นคำในภาษาไทย 

สุดท้ายจึงได้คำว่า "หญิงรักหญิง" ที่มีความหมายตรงไปตรงมา ฟังดูเป็นกลาง ปลอดจากอคติทางเพศ และครอบคลุมความเป็นหญิงรักหญิงหลากหลายกลุ่ม (โปรดดูหน้า ๑๖๖ งานเขียนของสุไลพร ชลวิไล) http://www.nhrc.or.th/webdoc/SexLanguageInThaiSociety.pdf

๕) หลักการยอกยาการ์ตาว่าด้วยการใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ในประเด็นวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ (The Yogyakarta Principles : The Application of International Human Rights Law in Relation to Sexual Orientation and Gender Identity) อันเป็นผลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการของผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชน นักนิติศาสตร์ระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาหลักการต่างๆ ตามกฎหมายว่าด้วยการใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในประเด็นวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ ณ เมืองยอร์กยากาตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อ ๖-๙ พ.ย.๒๕๔๙ ซึ่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้จัดตีพิมพ์ฉบับภาษาไทยเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๕๑ นั้น ก็ได้แปลคำว่า lesbian ว่า หญิงรักหญิง

(โปรดดู สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, หลักการยอกยาการ์ตาว่าด้วยการใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ในประเด็นวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ, กรุงเทพฯ: บริษัท เอส.เอ็ม.เซอร์คิทเพรส จำกัด, หน้า ๒๑)

--110.168.204.47 09:02, 8 ตุลาคม 2555 (ICT)Vijitr

คำว่าหญิงรักร่วมเพศ หมายถึง หญิงที่รักเพศเดียวกัน รึเปล่าครับ ไม่น่าหมายถึงการร่วมเพศ ส่วนตัวคิดว่าคงดูภาพรวมของคำอื่นด้วย อย่างเช่น ไบเซ็กชวล ราชบัณฑิตฯใช้ รักร่วมสองเพศ ถ้าจะแปลตามหลักการของคุณใช้ว่าอะไรดี ชายรักชายและหญิง /หญิงรักชายและหญิง รึเปล่า --Sry85 (พูดคุย) 21:35, 8 ตุลาคม 2555 (ICT)

ขอตอบดังนี้ค่ะ

๑) มีความพยายามรณรงค์ให้เลิกใช้คำว่า "ร่วมเพศ" ในทุกๆ อัตลักษณ์ทางเพศ (sexual identity) ที่ไม่ใช่การรักต่างเพศ (heterosexuality) ค่ะ ฉะนั้น จึงมีข้อเสนอจากกลุ่มคนทำงานเรื่องนี้ ให้ใช้คำว่า "หญิงรักหญิง" แทน "หญิงรักร่วมเพศ" เพราะความจริงก็คือ มีผู้หญิงที่รักใคร่ชอบพอเพศเดียวกัน แต่ไม่ได้อยากร่วมเพศเสมอไปนะคะ

๒) หลายๆ ท่านอาจไม่ตระหนักว่า แค่คำว่า "ร่วมเพศ" จะส่งผลแตกต่างอะไรนักหรือ? ขอตอบว่า แตกต่างมหาศาลค่ะ

   ๒.๑ คำว่า "หญิงรักร่วมเพศ" "ชายรักร่วมเพศ" มีนัยของการเป็นคำเหยียด ที่สร้างผลกระทบทั้งทำร้ายจิตใจคนที่เป็น "เจ้าของเรื่อง" (เกย์ เลส กะเทย ฯลฯ)เหมือนกับเขาเป็นตัวประหลาด ผิดปกติ ฯลฯ  
 ๒.๒ ทั้งยังเป็นข้ออ้างให้คนที่มีอคติอย่างรุนแรง ใช้กำลังทำร้ายร่างกาย "เจ้าของเรื่อง" ด้วยค่ะ ดังที่มีข่าวอยู่บ่อยๆ ว่า กะเทยที่พัทยาถูกเตะทั้งๆ ที่ตัวเองก็เดินเล่นเฉยๆ ไม่ได้ไปแซว หรือไปว่าอะไรใคร  หรือทอมบางคนถูกขู่ว่าจะทำให้เป็นผู้หญิง (ที่รักผู้ชาย) ทำให้ "เป็นปกติ" ด้วยการ "ต้องลองของจริง" 

รู้ไหมคะว่า ทอมจำนวนมากกลัวถูกข่มขืนนะคะ (อันนี้ตัวดิฉันเองก็ไม่เคยตระหนักมาก่อน จนกระทั่งได้ยินจากปาก ทอม เอง)

หรือ เพราะติดกับคำว่า "รักร่วมเพศ" (ที่มาพร้อมคำอธิบายว่า ผิดปกติ ผิดธรรมชาติ ฯลฯ) หลายๆ คนจึงเกิดอาการโฟเบียเมื่อเจอทอม เจอเกย์ กะเทย ทั้งๆ ที่เขาก็คือ คนธรรมดาๆ เหมือนเราๆ ท่านๆ และ ในหัวไม่ได้คิดแต่เรื่องเซ็กส์ค่ะ ดิฉันเคยได้ยินผู้ชายพูดเล่นบ่อยๆ เวลามีกะเทยเดินผ่านมา โดยบอกว่า "เสียวด้านหลัง" หรือพอดูหนัง "Yes or No" ภาค ๒ จบ เดินออกจากโรงก็มีคนพูดขึ้นมาว่า "ไป ไปกระทืบทอมกัน"

๓) ดิฉันคิดว่า วิกิพีเดีย ไม่จำเป็นต้อง "ตาม" คำอื่นๆ ที่ราชบัณฑิตบัญญัติ เพราะราชบัณฑิตก็ไม่ได้รู้รอบค่ะ เขาบัญญัติศัพท์ต่างๆ ตามโลกทัศน์ของเขา ด้วยความไม่รู้ (ignorant) หรือบางทีก็ด้วยการอ้างอิงชุดความรู้ทางการแพทย์ที่ประกอบสร้างขึ้นด้วยอคติอย่างร้ายแรงและน่ากลัว เพราะทำร้ายคนมานักต่อนัก ดังตัวอย่างที่ยกมาในข้อ ๒)

ความเห็นดิฉันคือ ภาคประชาชนเราน่าจะเป็นคนริเริ่มบัญญัติศัพท์ใหม่เองได้ เป็นคำศัพท์ที่เป็นมิตรต่อคน "เจ้าของเรื่อง" เพื่อสร้างสังคมที่ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย และเป็นสังคมที่ไม่ดัดจริตรักกันแค่ลมปาก

๔) ส่วนคำว่า bisexual นั้น มีการบัญญัติว่า "คนรักสองเพศ" ค่ะ

๕) สรุป : กรุณาหลีกเลี่ยงคำใดๆ ที่พยายามดึงเรื่องการร่วมเพศมากำหนดตัวตน/ อัตลักษณ์ ของคนเถิดนะคะ

--Vijitr (พูดคุย) 14:28, 29 ตุลาคม 2555 (ICT)vijitr

แต่วิกิพีเดียไม่รับศัพท์บัญญัติเองครับ เพราะวิกิพีเดียไม่ใช่แหล่งเผยแพร่งานค้นคว้าต้นฉบับ นอกจากนี้ วิกิพีเดียยังไม่ใช่สถานที่เริ่มรณรงค์ความถูกต้องในสังคมด้วย เพราะวิกิพีเดียไม่ได้เป็นส่วนของภาคประชาชน ภาคประชาสังคม หรือกลุ่มก้อนองค์กรทางสังคมใด ๆ --Aristitleism (พูดคุย) 15:07, 29 ตุลาคม 2555 (ICT)

ดิฉันยอมรับในหลักการที่ว่า วิกิพีเดียไม่ใช่ พท.โฆษณาหรือแท่นปราศรัย ค่ะ

แต่อย่างที่ 'Bact เขียนตั้งแต่แรก มีคำกลางๆ ในภาษาไทยที่ใช้เรียก เช่น คนรักเพศเดียวกัน หญิงรักหญิง ฯลฯ (นอกเหนือไปจากคำกำกวมที่ราชบัณฑิตบัญญัติ คือ "หญิงรักร่วมเพศ") ซึ่งถ้าดูจากประวัติศาสตร์การใช้คำว่า "หญิงรักหญิง" อย่างน้อยก็ตั้งแต่ ๒๕๓๖ เมื่อเปิดตัวกลุ่มอัญจารี และคำเหล่านี้ก็ค่อยๆ กลายเป็นกระแสหลัก เพราะคนในสังคมไทยเริ่มตระหนักในความถูกต้องทางการเมือง หรือ political correctness ของการใช้คำ

นอกจากนี้ ถึงแม้หลักการของวิกิพีเดียคือ การไม่ใช่สถานที่เริ่มรณรงค์ความถูกต้องในสังคม แต่โดยจริยธรรมของคนทำงานสื่อทุกๆ ประเภท เราสมควรระมัดระวังอย่างยิ่งที่จะไม่ผลิตซ้ำความเชื่อผิดๆ ที่เป็นความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม ทั้งยังควรเปิดกว้างให้สังคมตรวจสอบและเสนอความเห็นต่างได้

ที่เขียนมาทั้งหมด ดิฉันมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาบทความตามที่สามารถหาแหล่งอ้างอิงและรับรู้มาค่ะ ไม่ได้ต้องการแสดงความเห็นส่วนตัวใดๆ

กลับมาที่ประเด็นที่ 'Bact ชวนคุยว่า ควรใช้คำใดเป็นชื่อบทความหลัก เห็นว่าน่าจะใช้คำว่า "หญิงรักหญิง" เป็นชื่อบทความหลักค่ะ

--Vijitr (พูดคุย) 13:13, 31 ตุลาคม 2555 (ICT)Vijitr

ราชบัณฑิต เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบัญญัติศัพท์ การใช้ "หญิงรักร่วมเพศ" "ชายรักร่วมเพศ" น่าจะเหมาะสม การใช้ หญิงรักหญิง อาจเป็นการใช้ของคนกลุ่มหนึ่ง ที่กล่าวว่า มีนัยของการเป็นคำเหยียด เหมือนเป็นความเห็นของผู้เขียน มีการรีเสิร์ชอย่างไรบ้างครับ --Sry85 (พูดคุย) 13:41, 31 ตุลาคม 2555 (ICT)

ผมคิดว่าเรื่องว่าจะใช้ชื่อหลักเป็นอะไร คงคุยกันอีกยาว และถ้ายังไม่ได้ข้อสรุปร่วมกัน ก็คงต้องอิงกับหลักที่ใช้กันมาตลอดของวิกิพีเดียไทย คือเอาตามราชบัณฑิตไปก่อน

อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยตอนนี้เราเห็นแล้วว่ามันมีความไม่ลงตัวกันในเรื่องชื่อ ดังนั้นที่น่าจะตกลงร่วมกันได้อีกอย่างคือ เขียนเรื่องเกี่ยวกับประวัติและความหมายโดยนัยของชื่อ/การแปลชื่อต่างๆ ลงไปในบทความครับ ซึ่งข้อมูลก็มีอยู่แล้วในหน้าพูดคุยนี้ ซึ่งก็จะทำให้คนที่เข้ามาอ่าน รู้ว่ามีคำอื่นๆ ที่ใช้เรียกว่าอะไรบ้าง คำแต่ละคำแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

ซึ่งในส่วนของประวัติคำ หรือ etymology นี้ สามารถเขียนได้เลยครับ ไม่ต้องรออนุมัติ -- bact' 00:09, 2 พฤศจิกายน 2555 (ICT)

กลับไปที่หน้า "หญิงรักร่วมเพศ"