พูดคุย:รายชื่อโรงเรียนประจำจังหวัดในประเทศไทย

รายชื่อโรงเรียนประจำจังหวัดในประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ รายชื่อโรงเรียนประจำจังหวัดในประเทศไทย หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
รายชื่อ บทความนี้อยู่ที่ระดับรายชื่อ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
รายชื่อโรงเรียนประจำจังหวัดในประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิสถานศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับสถานศึกษา อันประกอบด้วย โรงเรียน วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย รวมถึงสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ให้เป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ รายชื่อโรงเรียนประจำจังหวัดในประเทศไทย หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
รายชื่อ บทความนี้อยู่ที่ระดับรายชื่อ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ปรึกษาชื่อบทความ แก้

โดยส่วนตัวคิดว่าควรเปลี่ยนชื่อใช้เป็น รายชื่อโรงเรียนประจำจังหวัดในประเทศไทย จะเหมาะสมกว่า เนื่องจาก

  • ...โรงเรียนมัธยมศึกษา... โรงเรียนประจำจังหวัดทุกจังหวัดก็ล้วนเปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาไม่ต่างจากโรงเรียนมัธยมศึกษาโรงเรียนอื่นๆที่ประจำอำเภอหรือไม่ประจำอื่นๆ เหตุผลที่ในอดีตที่มีเฉพาะโรงเรียนประจำจังหวัดที่เปิดสอนแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาก็ไม่น่าจะสำคัญ
  • ...ของรัฐ... โรงเรียนประจำจังหวัดก็เป็นของรัฐอยู่แล้วไม่ต่างจากโรงเรียนรัฐบาลอื่นๆแต่อย่างใด

--N.M. | พูดคุย 17:33, 6 พฤศจิกายน 2554 (ICT)

  เห็นด้วย --Wittaya Kitka | พูดคุย 17:35, 6 พฤศจิกายน 2554 (ICT)

  1. ใครเป็นผู้กำหนดสถานะอย่างเป็นทางการให้โรงเรียนเหล่านี้เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดครับ ? (ศธ. มท. อบจ. หรือโรงเรียน)​ ถ้าไม่มีการกำหนดอย่างเป็นทางการอาจไม่จำเป็นต้องมีบทความนี้เลยก็ได้
  2. จังหวัดหนึ่งมีโรงเรียนประจำจังหวัดมากกว่า 2 โรงเรียน (หญิง+ชาย) ได้หรือไม่ครับ
  3. โรงเรียนประจำจังหวัดต้องเป็นโรงเรียนของรัฐหรือไม่ และจำเป็นต้องเป็นสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาแห่งแรกในจังหวัดหรือไม่

ป.ล. ทั้งนี้มีหมวดหมู่ หมวดหมู่:โรงเรียนประจำจังหวัด อยู่แล้วด้วย --taweethaも 17:49, 6 พฤศจิกายน 2554 (ICT)

ตอบคุณ taweethaも

  1. "สถานะ" ผู้กำหนดคือกระทรวงศึกษาธิการครับ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากประวัติของโรงเรียนที่เป็นแหล่งอ้างอิงในบทความนี้ครับ)
  2. "มากกว่า 2 โรงเรียน" ในขณะนี้ยังไม่มีครับ ขึ้นอยู่กับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการครับ แต่มีข้อสังเกตว่าภายหลังได้มีการเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาเพื่อขยายการศึกษาตามโรงเรียนต่างๆมากขึ้น ทำให้สถานะของโรงเรียนประจำจังหวัดค่อยๆลดลง
  3. "ต้องเป็นของรัฐหรือไม่,ระดับมัธยมแห่งแรกของจังหวัดหรือไม่" การเป็นโรงเรียนของรัฐเป็นโดยประวัติการก่อตั้งอยู่แล้วครับ เท่าที่ได้อ่านประวัติตามโรงเรียนต่างๆที่ประจำจังหวัดมีการจัดตั้งดังนี้ครับ
    1. ก่อตั้งโรงเรียนขึ้นมาใหม่
    2. ยกฐานะจากโรงเรียนในพื้นที่(จะเป็นโรงเรียนวัด,โรงเรียนราษฎ์,โรงเรียนประจำมณฑลก็ว่าไป)

ซึ่งทุกโรงเรียนขึ้นตรงกับรัฐครับ ส่วนมัธยมแห่งแรกโดยส่วนตัวคิดว่าไม่สำคัญ ถ้าในขนาดนั้นเป็นจังหวัดใหญ่ๆก็อาจมีโรงเรียนราษฎ์ที่เปิดสอนในระดับมัธยมมาก่อนหรือเปิดใกล้เคียงก็อาจเป็นได้ แต่ถ้าจังหวัดเล็กๆที่กำลังพัฒนา(ในสมัยก่อน)โรงเรียนประจำจังหวัดก็อาจมีความสำคัญมากขึ้นครับ

  1. "หมวดหมู่" ก็เหมือนหมวดหมู่โรงเรียนในจังหวัดต่างๆกับรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดต่างๆนี้ครับ --N.M. | พูดคุย 18:25, 6 พฤศจิกายน 2554 (ICT)

  1. เปลี่ยนชื่อให้แล้วครับ
  2. ปัจจุบัน มีหน้ารายชื่อ มีหมวดหมู่ และมีแม่แบบด้วย ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใดที่จะมีมีมากกว่าหนึ่งแบบ แต่มีถึง 3 แบบเลยมันก็กะไรอยู่
    • จากหน้ารายชื่ออาจเปลี่ยนเป็นหน้าบทความได้ไหมครับ จะได้มีการให้ข้อมูลมากขึ้น ไม่ถือว่าซ้ำซ้อนกันทั้ง 3 รูปแบบ โดยเขียนว่าประเทศไทยเริ่มมีโรงเรียนประจำจังหวัดมาตั้งแต่เมื่อใด กติกาเป็นอย่างไร คำสั่งของ ศธ. เรื่องโรงเรียนประจำจังหวัดสั่งมาจากการตัดสินใจของใคร รมต. ปลัดฯ หรืออธิบดีกรมสามัญฯ ปัจจุบันอ้างอิงที่มีเป็นอ้างอิงของโรงเรียนทั้งหมด ไม่มีอ้างอิงจาก ศธ. เลย

--taweethaも 19:05, 6 พฤศจิกายน 2554 (ICT)


คิดว่าถ้ามีข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนประจำจังหวัดพอสมควรแล้ว ค่อยเปลี่ยนชื่อทีหลังครับ --N.M. | พูดคุย 10:54, 7 พฤศจิกายน 2554 (ICT)

กลับไปที่หน้า "รายชื่อโรงเรียนประจำจังหวัดในประเทศไทย"