พูดคุย:ต้นไม้ตัดสินใจ

ต้นไม้ตัดสินใจ เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการวิกิไอที โดยพยายามที่จะปรับปรุงคุณภาพ รวบรวมเรื่องราวเนื้อหาสาระ ครอบคลุมเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต เน็ตเวิร์ก ซอฟต์แวร์
ถ้าต้องการมีส่วนร่วมในโครงการ สามารถดูวิธีการที่หน้าโครงการวิกิไอที และสถานีย่อยเทคโนโลยีสารสนเทศ
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

Name (เดิมบทความชื่อ ต้นไม้การตัดสินใจ) แก้

It seems to me that Thai word might be something since the tree doesn't mean only "ต้นไม้." I hope the answer should not simply saying that following the "ศัพท์บัญญัติ"

--Manop 22:02, 14 พฤศจิกายน 2005 (UTC)

Simple answer: It is a coinage. ;)
Not so simple answer: The word "tree" in "decision tree" is used in a metaphorical sense. That is, it doesn't refer to a biological tree but refers to its resemblance in shape to a tree. You may clearly see the resemblance when you take the diagram upside-down. Moreover, it seems that all meanings of the word "tree" in a dictionary are derived from the same sense, the biological one. Anyway, you can suggest alternatives to this article title. If any of them sounds more appropriate than the current title, we will use it instead.
Note: Please see related articles such as ต้นไม้ (ทฤษฎีกราฟ), กราฟ (คณิตศาสตร์). You may would like to make comments about them also. --Phisite 02:40, 15 พฤศจิกายน 2005 (UTC)
โทษทีครับ พอดีอยู่คณะพิมพ์ภา่ษาไทยไม่ได้ คิดว่าชื่อประหลาดนิดนึง ความเห็นส่วนตัวรู้สึกว่าคำว่า "ต้นไม้" ในภาษาไทยไม่ค่อยสื่อความหมายเท่าไรในเชิงนี้นะครับ ถ้าเป็นพวก กิ่งก้าน สาขา แตกใบ อะไรพวกนี้อาจจะมีความหมายลึกกว่าในทางเครือข่าย แต่ลองถามดูเผื่อใครมีไอเดียใหม่ครับ ตอนแรกอ่านบทความแล้วนึกว่า ตัวละครใน ลอร์ดออฟเดอะริงส์ซะอีก --Manop

เคยเห็น "แผนภูมิต้นไม้" เหมือนกัน, สำหรับแผนภูมิแสดงสาขาของวงศ์ตระกูล (family tree) ภาษาไทยเรามีคำว่า "สาแหรก" ดูจะตรงกัน, คำใหม่ๆ ก็คงต้องถกเถียงกัน เผื่อว่าได้ข้อสรุปที่น่าสนใจครับ

คำว่า ต้นไม้ตัดสินใจ น่าจะเหมาะสมดีในระดับนึงครับ. เนื่องจากในการเรียนการสอนวิชา ปัญญาประดิษฐ์ หรือ การเรียนรู้ของเครื่อง ที่ จุฬาฯ และ ธรรมศาสตร์ อ. ผู้สอน ก็ได้ใช้ศัพท์คำนี้ครับ เรียกได้ว่าถ้าใช้ศัพท์คำอื่น กลุ่มคนที่มีความรู้เรื่องปัญญาประดิษฐ์ในเมืองไทยจะงงเอาเสียมากกว่า. -- จุง 16:59, 15 พฤศจิกายน 2005 (UTC)
ผมได้ยินมาเหมือนกันว่ามีการใช้เรียนใช้สอนกันนะครับ แค่สงสัยนะครับพอดีอ่านแล้วงง ส่วนคำอื่นพวก แผนผังต้นไม้ อันนี้พอเข้าใจ (ต้นไม้ขยายคำว่าแผนผัง) ว่าเป็นแผนผังมีลักษณะคล้ายต้นไม้ มีกิ่งก้านแสดงผล --Manop 17:54, 15 พฤศจิกายน 2005 (UTC)
เห็นด้วยกับคุณ Phisite ครับ เพราะคำว่า ต้นไม้ นอกจากจะเป็นคำเรียกพืชยืนต้น ซึ่งเป็นเรื่องรูปธรรมแล้ว ก็ยังเป็นคำเรียกที่ใช้แทนโครงสร้างของข้อมูลชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องนามธรรมได้เช่นกัน ภาษาอังกฤษก็ใช้คำว่า tree น่ะครับ เกรงว่าถ้าบัญญัติศัพท์คำอื่นจะทำให้คลาดเคลื่อนไป
ในทางคณิตศาสตร์ (ทฤษฎีกราฟ) ต้นไม้ถูกนิยามไว้อย่างชัดเจนว่าคือกราฟรูปแบบหนึ่ง ที่ไม่มีวงจรอยู่ข้างใน ต้นไม้ตัดสินใจก็มีรูปร่างลักษณะอย่างนี้ครับ จึงมีการตั้งชื่อแบบนี้ขึ้นมา ซึ่งคนก็จะนึกภาพออกน่ะครับ เวลาได้ฟังคำว่าต้นไม้ ก็จะนึกภาพออกว่ามันต้องเป็นโครงสร้างที่มีรูปร่างเป็นอย่างนี้ๆ นี่เอง
แต่พอมารวมกันเป็น ต้นไม้ตัดสินใจ อาจจะฟังดูแปลกๆ ใช่มั้ยครับ เหมือนเป็นประโยคมากกว่า ต้นไม้เป็นประธาน ทำกริยาคือตัดสินใจ แต่ความหมายจริงๆ ที่คำนี้ต้องการสื่อคือ โครงสร้างข้อมูลชนิดนี้มีลักษณะเป็นต้นไม้ และสามารถทำการแบ่งแยกข้อมูลที่เข้ามาออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ ถ้าจะใช้คำให้ดึงดูดหน่อยก็จะบอกว่าต้นไม้นี้สามารถตัดสินใจได้ กลายเป็นต้นไม้ตัดสินใจ หรือ decision tree ครับ (ในวงวิชาการ ถ้าใครคิดอะไรใหม่ๆ ได้ ก็จะพยายามตั้งชื่อสิ่งที่ตนคิดให้ดูเก๋ไก๋ ดึงดูดใจหน่อย ต้นไม้ตัดสินใจก็เช่นเดียวกันครับ) ทีนี้ภาษาอังกฤษไม่มีปัญหาครับ เพราะ decision tree คำว่า decision นั้นขยาย tree ไม่เกิดความกำกวมอะไร แต่ในภาษาไทย คำว่า ตัดสินใจ อาจมองว่าเป็นคำกริยาก็ได้ ซึ่งก็ไม่รู้จะแก้อย่างไรเหมือนกัน -_-"

คิดว่าเรื่องชื่อไม่น่ามีปัญหาอะไรเท่าไรนะครับถ้าเข้าใจตรงกัน (และมีชื่อภาษาอังกฤษกำกับด้วย) แต่น่าจะมีเนื้อหาอีกหน่อย โดยเฉพาะ โมเดล? บัพ? --Manop |พูดคุย 20:46, 17 พฤศจิกายน 2005 (UTC)

ในภาษาไทยอาจจะยังไม่เป็นที่ชินหูเท่าไหร่ แต่ถ้าได้เรียนกับ รศ. ดร. บุญเสริม ที่จุฬาฯ หรือ อ. ดร. สุกรี ที่ธรรมศาสตร์ หรือ อ. ดร. นวลวรรณ ที่เกษตรฯ ก็จะได้ฟังจนคุ้นชินครับ อย่างที่คุณ Jung กล่าวไว้
ไม่ได้เรียนกับ อาจารย์จุฬา ธรรมศาสตร์ หรือ เกษตรฯ ครับ เป็นชาวบ้านธรรมดาที่อ่านวิกิพีเดีย
ผมว่า ชื่อนี้มีปัญหาครับ ต้นไม้ ตัดสินใจ มันอ่านแล้วเหมือนกับว่า ต้นไม้ (นึกภาพต้นไม้) แล้วตัดสินใจ (นึกภาพ สามารถตัดสินใจได้) แต่ภาษาอังกฤษ มันไม่เหมือนอะครับ --Jutiphan | พูดคุย - 08:29, 5 มกราคม 2007 (UTC)
  • เปลี่ยนเป็น "แผนภูมิการตัดสินใจ" ดีไหมครับ --Horus | พูดคุย 20:24, 30 มิถุนายน 2552 (ICT)
คำว่าแผนภูมิก็สื่อดีนะครับ แต่ว่าทำให้ความหมายคลาดเคลื่อนไปอย่างรุนแรง เพราะว่า ต้นไม้ ในคำนี้ มีความหมายสำคัญของลักษณะโครงสร้างข้อมูลที่แตกแขนงออกไปอย่างที่ไม่อาจกลับมารวมกันได้อีก (ไม่มีวงจรในกราฟ) จากข้างบนก็เห็นว่าคนที่เคยเรียนคำนี้ในภาษาไทยมาก็ค่อนข้างจะยอมรับได้ แต่ท่านที่ไม่เคยเรียนหรือเริ่มเรียนเป็นภาษาอังกฤษเลยจะมองว่าคำนี้ควรปรับปรุง อย่างไรก็ตามจะใช้คำไหนก็แล้วแต่อย่าให้เสียความหมายก็พอครับ ผมคิดว่าขณะนี้ยังไม่อาจหาคำที่ดีกว่า ต้นไม้การตัดสินใจได้ครับ --taweethaも 20:38, 30 มิถุนายน 2552 (ICT)
กลับไปที่หน้า "ต้นไม้ตัดสินใจ"