พูดคุย:ซิกส์ซิกมา

ซิกส์ซิกมา เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิการศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับการศึกษา ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ซิกส์ซิกมา หรือแวะไปที่หน้าโครงการเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

เอามิว(μ)ออก แก้

ความหมายของ มิว กับ ค่า ตัวแปลที่ประดับด้วย บาร์ (ขีดบน) นั้น ในทางคณิตศาสตรนั้น ไม่เหมือนกัน

ค่ามิว เป็นค่าเฉลี่ยที่ได้จากการ ดิฟเฟอเรนเชียล ในขณะที่ค่า บาร์เป็นค่าที่ได้จากการเอาค่าทั้งหมดของข้อมูลมารวมกัน หารด้วยจำนวนข้อมูล

ดังนั้น เพื่อป้องกันการสับสนสำหรับผู้อ่านที่มีทักษะทางคณิตศาสตร์ระดับสูง ผมจึงเอาออก

เครื่องหมาย ซิกมา ก็ด้วยเหตุผลเดียวกัน

--ไอ้ขี้เมา แห่งไร้สาระนุกรม 01:56, 31 พฤษภาคม 2551 (ICT)

ผมขออธิบายอย่างนี้ μ ใช้แทนค่าเฉลี่ยโดยวัดจากตัวอย่างสุ่ม โดยถือเอาว่า μ สามารถอธิบายค่าเฉลี่ยโดยรวมของข้อมูลทั้งหมดได้ ส่วน x bar ใช้แทนค่าเฉลี่ยที่วัดจากข้อมูลทั้งหมดซึ่งสามารถเอามาได้จริงๆ ดังนั้นใช้งานไม่เหมือนกันนะครับ เป็นไปไม่ได้ที่ว่ากระบวนการผลิตจะสามารถตรวจสอบสินค้าได้ทุกชิ้น ก็มีแต่เลือกสุ่มมาทั้งนั้น หรือการสำรวจโพลล์ความคิดเห็นที่ไหนๆ ก็เลือกสุ่มสำรวจได้แค่กลุ่มเดียว สถิติผมก็เรียนครับ ส่วนซิกมานั้นยิ่งต้องอธิบายครับ ในวิกิพีเดียอังกฤษยังอธิบายเลยว่าซิกมาคืออะไร (มันคือส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานนั่นเอง) ผมใส่เพื่ออธิบายให้ชัดขึ้นครับ ไม่ได้ทำให้คลุมเครือมากขึ้น ดังนั้น มันจะดิฟหรือไม่ดิฟ ไม่ใช่ประเด็นครับ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 02:00, 31 พฤษภาคม 2551 (ICT)

เข้าใจว่าคุณเรียน สถิติมา คุณเป็นโปรแกรมเมอร์นี่ครับ แต่ผมเรียน design for six sigma แล้วเขาใช้ในแบบที่ผมเขียนนี่ครับ อีกอย่าง จากหนังสือที่ผมใช้อ้างอิงข้างล่าง ค่าที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างนั้น เขาใช้ค่า X bar นี่ครับ แล้วคนเขียนก็เป็นถึง รองศาสตราจารย์ด้วย จำผิดหรือเปล่าครับ

ส่วนว่าจะอธิบายตามแบบภาษาอังกฤษนั้น พอดี ผมไม่อยากจะลอกเขาหน่ะครับ ในเมื่อผมกำลังเรียนอยู่ ผมก็เขียนตามที่เรียนจะง่ายและเร็วกว่านะครับ แต่ถ้าคุณอยากได้ตามนั้น ช่วยผมแปลเพื่อเสริมก็ดีนะครับ

หนังสือ วงค์รัตนะ, ชูศรี, พศ ๒๕๔๔, เทคนิกการใช้สถิติเพื่อการวิจัย, พิมพ์ครั้งที่ ๘, เทพนรมิตร์การพิมพ์, กทม, ISBN 974-03-0072-3 เขาว่างี้ด้วยนี่ครับ แล้วผมควรจะเชื่อใครหล่ะครับ อีกอย่าง เราก็เรียนวิทย์อย่างเท่าเทียมกัน คุณวิทยฯคอม ผมวิศวะ เราก็เท่าเทียมกันในด้านวิทยาศาสตร์นี่ครับ วิชาสถิติ วิศวะก็ต้องเรียนครับ

--ไอ้ขี้เมา แห่งไร้สาระนุกรม 02:26, 31 พฤษภาคม 2551 (ICT)

ผมมีเล่มนี้ครับเป็นตำราที่ยังเก็บไว้อยู่

  • วีนัส พีชวณิชย์. ทฤษฎีความน่าจะเป็นและการประยุกต์. กรุงเทพฯ : ประกายพรึก, 2535. ISBN 974-87321-6-9

เป็นหนังสือของอาจารย์สาขาวิชาคณิตศาสตร์-สถิติ คณะวิทย์ฯ ธรรมศาสตร์ (แน่นอนผมเรียนที่นี่) ค่าเฉลี่ยของตัวแปรสุ่มใช้มิวหมดทุกที่เลยครับ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 02:34, 31 พฤษภาคม 2551 (ICT)

ส่วน σ ผมแจ้งสั้นๆว่าเหมือน มิว แต่ในที่ใช้ ทางผมใช้ S แทนกรณีสุ่มครับ และนี่คือเหตุผลที่เอาออก ผมไม่ต้องการให้เกิดการชี้นำว่าเป็นตัวแปรนั้น ตัวแปรนี้ ซึ่งอย่างที่ทำตัวหนาไว้ว่า ป้องกันการเข้าใจผิด

ถึงจะเล็กนิดหน่อย แต่ผมไม่ต้องการให้ใครเข้าใจอะไรผิดนะครับ เพราะคนอ่านอาจจะจำผิดไปจนวันตาย หรือไปทำเรื่องพลาดให้ขายหน้า แล้วกลับมาด่าบิดาผมเอาได้ ถ้าผมมั่นใจว่า เออ ใช่ ตัวแปรนี้แหละ คนทั้งโลกเข้าใจในลักษณะนี้ ผมจะใส่ครับ อย่าง F ที่หมายถึง แรง อันนี้โอเคเลย แต่บังเอิญว่า X bar กับ มิว และ ซิกมากับ S ให้ความหมายที่ คล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกัน ง่ายๆ คุณมานั่งเถียงกับผมเพราะไอ้นี่ไม่ใช่เหรอ

--ไอ้ขี้เมา แห่งไร้สาระนุกรม 04:10, 31 พฤษภาคม 2551 (ICT)

"การกระจายแบบระฆังคว่ำ" → "การกระจายเป็นรูประฆังคว่ำ" แก้

ต้องขออภัยด้วยที่เขียนผิ เพิ่งตรวจสอบพบว่า ต้องเขียนว่า การกระจายเป็นรูประฆังคว่ำ [1]

ผมสิต้องเป็นคนขอโทษมากกว่าเพราะเกือบจะลบทิ้งไปแล้ว เพราะได้เอาคำว่า "การแจกแจงปกติ" มาแทรกไว้ข้างหน้าแล้วจากนั้นก็ลบ "การกระจายแบบระฆังคว่ำ" ออกไป นึกดูอีกทีก็เปลี่ยนใจ เอากลับมาลงใหม่ แวบมาดูอีกที ข้อความข้างๆ มันมี "การกระจายตัว" ผมก็เลยใส่ "ตัว" ลงไป แบบนี้พอนึกภาพออกไหมครับ ไม่ได้สร้างเรื่องนะครับ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 02:56, 31 พฤษภาคม 2551 (ICT)

อ้างอิง แก้

  1. วงค์รัตนะ, ชูศรี, พศ ๒๕๔๔, เทคนิกการใช้สถิติเพื่อการวิจัย, พิมพ์ครั้งที่ ๘, เทพนรมิตร์การพิมพ์, กทม, ISBN 974-03-0072-3

สินค้า ->ระบบปฏิบัติการ แก้

นอกจากการผลิตแล้ว ซิกส์ซิกมา ยังใช้ในระบบปฏิบัติการด้วยครับ

--ไอ้ขี้เมา แห่งไร้สาระนุกรม 02:23, 31 พฤษภาคม 2551 (ICT)

ผมงงกับข้อความของคุณที่ว่า "ซิกส์ซิกมา ยังใช้ในระบบปฏิบัติการด้วยครับ" ผมก็เลยนึกว่า ซิกซ์ซิกมามันเป็นโปรแกรมเหรอ --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 03:55, 31 พฤษภาคม 2551 (ICT)

คำว่า ระบบปฏิบัติการเนี่ย ไม่ได้มีใช้เพียงในโลหคอมเพียวเตอร์หรอกนะครับ แถมหมายถึง แผนกงานที่ทำงานที่ไม่ข้องกับการเงินการตลาด เช่น สมมติว่า คุณออกต้า เปิดบริการเขียนโปรแกรม การที่คุณมานั่งเขียนโปรแกรมตามที่ถูกจ้าง ก็ถือได้ว่าเป็นงานปฏิบัติการ

หรือถ้าเรามอง วิกิ นะครับ การที่ทุกคน แม้แต่ผู้ดูแล นั่งเขียน นั่งดูแล ก็คือส่วนหนึ่งของระบบปฎิบัติการครับ ส่วนทาง วิกิอิงค์นั้น เขาก็จะมีผู้ที่ดูและการเงินการบัญชีของเขาอยู่ซึ่งเรามองไม่เห็น เพราะเขาไม่ได้แสดงอะไรให้เราดู

แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะองค์กรแสวงหาผมกำไรหรือไม่ ล้วนประกอบไปด้วย สามส่วนคือ การเงิน การตลาด และการบัญชีทั้งหมดครับ

แล้วการตลาดเกี่ยวกับงานกุศลตรงไหน ก็ตรงที่ทำให้คนรู้ว่ามีการบริจาคที่นี่นะ แล้วทำให้คนอยากบริจาค เป็นงานของฝ่ายการตลาดทั้งหมดครับ

--ไอ้ขี้เมา แห่งไร้สาระนุกรม 04:51, 31 พฤษภาคม 2551 (ICT)

ตารางในนิยาม? แก้

ตารางในนิยามที่ระดับ 1, 3, 4 ซิกมา ทำไมถึงมีค่า DPMO เท่ากันหมดละครับ สงสัยก๊อปปี้มาแล้วลืมเปลี่ยนเลข --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 04:10, 31 พฤษภาคม 2551 (ICT)

ท้วงติแบบที่เข้าหูคนก็เป็นหนิครับ ใช่ ผมใส่ผิดเอง ผมแก้ค่าให้แล้วครับ --ไอ้ขี้เมา แห่งไร้สาระนุกรม 04:20, 31 พฤษภาคม 2551 (ICT)

เอ่อ ยังเหลืออีกช่องยังไม่ได้แก้ ที่ระดับ 4 ดูเหมือนเลขจะสลับกันนะ ไม่เรียงจากมากมาน้อย --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 04:36, 31 พฤษภาคม 2551 (ICT)

อ่านตัวเลขหลักให้ดีๆสิครับ แต่เดี๋ยวผมจะไปใส่เครื่องหมาย , ให้อ่านง่ายขึ้นก็แล้วกัน ดีไหมครับ

--ไอ้ขี้เมา แห่งไร้สาระนุกรม 04:40, 31 พฤษภาคม 2551 (ICT)

อุป ดูผิดตาราง เดี๋ยวจัดการให้ครับ --ไอ้ขี้เมา แห่งไร้สาระนุกรม 04:41, 31 พฤษภาคม 2551 (ICT)

ตามตำราที่ผมใช้นั้น O ย่อมาจาก Operations นะครับ ของคุณใช้ตำราไหน กรุณาเอามายืนยันด้วย

นอกจากนี้ จากเอกสารทางวิชาการหลายต่อหลายฉบับ เขาก็ใช้เหมือนกับผมนะครับ ขอบคุณ

--ไอ้ขี้เมา แห่งไร้สาระนุกรม 12:36, 14 มิถุนายน 2551 (ICT)

กลับไปที่หน้า "ซิกส์ซิกมา"