พูดคุย:คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ

รวมบทความ แก้

จะแยก หรือจะยุบรวมกับ บทความรัฐประหาร 2549 ดีครับ พอดีมีผู้ใช้มาเขียนไว้ --ธวัชชัย 11:47, 20 กันยายน 2006 (UTC)

  • ผมว่าน่าจะรวมกันนะครับ ง่ายดี มิทราบว่าเป็นเช่นใดครับ Mda 19:15, 20 กันยายน 2006 (UTC)
  • เห็นด้วยเหมือนกันครับ -- Lerdsuwa 12:20, 20 กันยายน 2006 (UTC)
  • งั้นรวมเลยนะครับ --ธวัชชัย 12:27, 20 กันยายน 2006 (UTC)

ผมคือคนเขียนบทความนี้ครับ ขอโทษด้วยครับผม สงสัยว่า ทำไมถึงจะรวมเหรอครับ ผมแปลกใจ เพราะ

  1. บทความนี้ คือบทความเกี่ยวกับ "คณะบุคคลผู้ก่อการ" แต่บทความ "รัฐประหาร 2549" เป็นบทความที่ว่าด้วย "เหตุการณ์" มันแตกต่างกันอยู่ ไม่ใช่หรือครับ??
  2. ทั้งสองบทความ ต่างมีความยาวพอสมควร ถ้านำมารวมกัน มันจะยาวมาก จนมีสาระสำคัญมากเกินไปหรือเปล่าครับ??

อยากให้ช่วยพิจารณาด้วยครับ ขอบคุณครับ -- Zenith Zealotry 20:33, 21 กันยายน 2006 (UTC)

ชี้แจงนิดหน่อยครับ ตอนแรกที่ผู้ใช้ท่านอื่น ชี้แจงให้รวมบทความ เพราะเนื้อหาน้อยและใกล้เคียงกับอีกบทความนะครับ แต่ตอนนี้เนื้อหามีพอสมควรแล้ว แยกออกมาก็สะดวกกว่าตามที่ คุณ Zenith Zealotry ว่าครับ เหมือนกับส่วนแถลงการณ์ ที่ตอนนี้ก็ได้แยกไปแล้วเช่นกัน--Manop | พูดคุย -   20:44, 21 กันยายน 2006 (UTC)

ขอบคุณครับที่ชี้แจงให้เข้าใจ -- Zenith Zealotry 20:52, 21 กันยายน 2006 (UTC)

คปค. และ คมช. แยกหรือรวม? แก้

คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ควรจะแยก หรือรวมบทความ ดีครับ? ที่ผมแยกออกไปในครั้งแรก เพราะคิดว่า บทบาทหน้าที่ต่างกัน คือ คปค. ทำรัฐประหาร ส่วน คมช. มีบทบาทในการรับสนองพระบรมราชโองการ และเป็นพี่เลี้ยงของรัฐบาลใหม่ แต่ดูเหมือนว่าในทางปฏิบัติ เหมือนจะเป็นองค์กรเดียวกัน แค่เปลี่ยนชื่อ เท่านั้นเอง - 2T - ('-' )( '-' )( '-') - 05:36, 3 ตุลาคม 2006 (UTC)

รัฐประหาร? แก้

พอดีว่า ผมฟังข่าวบางสายเขาบอกว่า เป็นการปฏิวัติอะฮะ เพราะเขาล้มรัฐธรรมนูณ ด้วย ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองด้วย สรุปตกลงมันคือ รัฐประหาร หรือ ปฏิวัติกันแน่อะฮะ ผมเริ่มงงไปหมดแล้ว --明 アキラ - คุย   12:00, 22 กันยายน 2006 (UTC)

  • อาจตอบช้าไปแต่ไว้เป็นความรู้นะครับ ในทางรัฐศาสตร์ความหมายของการปฏิวัติกับการรัฐประหารมีความแตกต่างกันครับ โดยถึงแม้ว่าจะเป็นการ "ยึดอำนาจ" จากรัฐบาลที่ปกครองรัฐในขณะนั้นก็ตาม แต่วัตถุประสงค์ของการก่อการแตกต่างกันครับ กล่าวคือ การรัฐประหาร เป็นเพียงการเปลี่ยนองค์รัฐาธิปัตย์ (ผู้ถืออำนาจสูงสุดของรัฐ) เท่านั้นโดยโครงสร้างหรือรูปแบบการบริหารโดยภาพรวมไม่ได้เปลี่ยนแปลง ขณะที่ การปฏิวัติ เป็นทั้งการเปลี่ยนองค์รัฐาธิปัตย์และโครงสร้างทั้งการเมือง สังคม หรือเศรษฐกิจครับ -- GK3033
แล้วแต่จะนิยามแต่ละคำกันอย่างไร ผมขอสรุปง่ายๆ ว่า รัฐประหารที่สำเร็จ ผู้กระทำรัฐประหารเรียนตัวเองว่าคณะปฏิวัติ คณะปฏิรูปการปกครอง (หรือจะเรียกตัวเองว่าอย่างอื่นก็ไม่มีใครขัด) ส่วนรัฐประหารที่ไม่สำเร็จรัฐบาลในขณะนั้นจะเรียกผู้ก่อการรัฐประหารว่ากบฏ (หรือหาคำอื่นที่รัฐบาลสะดวกใจ บางกรณีก็อาจเรียก "ผู้ร่วมกลับใจช่วยชาติ" ก็มี กรณีที่ให้ร่วมมือกับรัฐบาล) ส่วนการเปลี่ยนเปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 บางท่านจะเรียนให้ต่างออกไปจากการปฏิวัติว่า "อภิวัฒน์" เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองในสาระสำคัญ --taweethaも 17:52, 31 ตุลาคม 2553 (ICT)

ที่มาของคณะปฏิรูปฯ แก้

เกี่ยวกับเรื่องผู้ก่อการ โดยเฉพาะตำแหน่งประธาน และ รองหัวหน้าหมายเลข 3 ที่ไม่ได้เข้าเฝ้า จริงๆแล้วเป็นการแต่งตั้งเพื่อให้เห็นว่า คณะฯเป็นเอกภาพ แต่ก็ต้องยอมรับใน "ใจ" ของท่าน พลเอกสนธิ จริงๆ ผมคันไม้คันมืออยากเขียนแล้วนะนี่ ..... แต่ว่าติดอยู่ที่คำสั่งที่ 5 นี่แหละ ผมยังอยากเขียนเรื่องอื่นต่อไปน่ะครับ(ฮา)

เสนอให้ล็อกบทความครับ แก้

คิดว่าตอนนี้สถานการณ์ยังไม่เข้าที่ครับ การล็อกบทความให้แก้ไขเฉพาะสมาชิกน่าจะเป็นเรื่องที่ดี และเป็นการปลอดภัยต่อวิกิพีเดียด้วยครับ หากมีการแก้ไขที่ส่งผลต่อการปฏิรูปฯจากบุคคลภายนอก อาจเป็นอันตรายต่อวิกิพีเดียได้ครับ

Imagene 04:43, 23 กันยายน 2006 (UTC)|พูดคุย

ป้ายเตือน แก้

เสนอให้เอาป้ายเตือนแบบพิเศษ (..คำสั่งคณะปฏิรูปฉบับที่ 5/2549..) ในทุกหน้าบทความออก เนื่องจากไม่มีความจำเป็น เพราะนโนบายวิกิพีเดียเองก็ครอบคลุมทุกเรื่องที่เป็นห่วงอยู่แล้ว (หากต้องการย้ำเป็นพิเศษ สามารถใช้ป้ายเตือนที่มีอยู่แล้วได้ ไม่จำเป็นต้องทำเป็นกรณีพิเศษ) -- bact' คุย 06:34, 23 กันยายน 2006 (UTC)

ดูเพิ่ิม/คุยต่อที่: พูดคุย:รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549#ป้ายเตือน

นำป้ายออกแล้ว ดู พูดคุย:รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549#ลงคะแนน -- bact' คุย 20:37, 23 กันยายน 2006 (UTC)
กลับไปที่หน้า "คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"