พูดคุย:การขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป/กรุ 1

...

ช่วย ๆ กันเพิ่มเติม/แก้ไขละกันนะครับ มีกี่ด้านก็เอามาใส่ให้หมด

ส่วนถ้าใครมีข้อมูลกรณีอื่น ๆ ที่น่าสนใจ/เป็นที่สนใจของสาธารณะ อย่าง สปก. สนามบินสุวรรณภูมิ พฤษภาทมิฬ การลอยตัวค่าเงินบาท หรืออะไรก็ตาม ก็สามารถเริ่มหัวข้อใหม่ได้เช่นกัน หากมีเนื้อหาเยอะพอที่จะแยกเป็นหัวข้อใหม่ได้

ขอบคุณครับ

-- bact' คุย 11:34, 29 มกราคม 2006 (UTC)

อย่าตั้งเป้าไว้ในใจว่า ทักษิณโกง แล้วพยายามเขียนให้มองเป็นลักษณะเช่นนั้น ไม่อย่างนั้น ก็เป็น Hidden Agenda ในใจ ตอนแรกผมไม่ได้สนใจบทความของทักษิณ ชินวัตร แต่เมื่ออ่านแล้ว เห็นได้ชัดเจนว่า ผู้เขียนมีจุดประสงค์ในใจที่จะสื่อ คือ ทักษิณโกง ดูในบทความ มีคำว่า "คอรัปชั่น" มากมาย ซึ่งถ้าเอากันตามหลักฐาน ก็ไม่มีประเด็นใดเลยที่พิสูจน์ได้ แต่เมื่อวิเคราะห์ตามหลัก Content Analysis มาปรากฏคำใดขึ้นมาก แสดงถึงความต้องการของคนเขียนที่จะสื่อไปในทางนั้น ผมจึงเอากรณีของ รมต. 2 คนของนายชวน ที่โดนคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วไปลง โดยไม่ได้กล่าวคำว่า นายชวน โกงเลย ให้หลักฐานมันฟ้องเอง

แต่กรณี ประวัติทักษิณ เนื้อหาวนอยู่เช่นนี้ นี่จึงไม่ใช่ประวัตินายกรัฐมนตรีแต่อย่างใด เพราะไม่มีผลงาน หรืออะไรที่เกี่ยวข้องแม้แต่น้อย มีแต่พยายามชี้นำว่า ทักษิณโกง โดยใช้แต่ "คำกล่าวหา" ทางสื่อมวลชน เป็นประเด็นนำ หาใช้ "ข้อพิสูจน์" แต่อย่างใดไม่ เมื่อผมพยายามแก้ ก็จะมีคนพยายามใส่เข้ามาให้คนมองเช่นนี้

แต่กรณีนายชวน นั้น คนที่แก้กลับพยายามชี้ให้เห็นว่าเป็นคนดี โดยใส่ข้อความที่ไม่ได้มีการพิสูจน์เช่นกัน ลงไป


เมื่อไปพิจารณา บทความ "จอร์จ บุช" ปรากฏว่าบทความนั้น มีคุณค่า แก่ผู้อ่านมากกว่ามาก กว่ามาก เป็นการเอาข้อมูลแนวคิดมาลงรอบด้าน โดยไม่พยายามชี้ว่า "บุช" เป็นคนอย่างไร ให้"หลักฐาน" พิสูจน์เอง

บทความ ทักษิณ และ ชวน จะไม่มีทาง ก้าวพ้นจากตรงนี้ไปได้ หากผู้ที่แก้ไข มีสมมุติฐานในใจว่า "รัฐบาลทักษิณโกง" แล้วก็พยายามใส่อะไรเพื่อพิสูจน์ความคิดของตนตรงนี้ ซึ่งฝ่ายสนับสนุนทักษิณ ก็คงยอมไม่ได้ เช่นกัน ก็เหมือนกับฝ่ายสนับสนุนนายชวน ไม่ยอมที่จะให้มีข้อมูลชี้ว่านายชวนไม่ดีนั้นแหละ

ดังนั้น บทความทั้งสองอันนี้ จึงไม่มีทางที่จะได้รับการยอมรับ หากยังมุ่งเป้าหมายไปเช่นนี้ ก็คงมีการตามแก้กันอีกนับสิบปี ตลอดเวลาที่ทักษิณเป็นรัฐบาล

หากเอาบทความ "จอร์จ บุช" มาเป็นแนวทาง ก็อาจมีข้อยุติได้ ซึ่งผมคิดว่า ผู้เขียนบทความจอร์จ บุช มีความเป็นกลางสูง (เพราะไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียเนื่องจากเป็นเรื่องของต่างประเทศ) แต่บทความทักษิณ และชวน ไม่มีทางเพราะเมื่อเป็น คนไทยเขียน ย่อมมีส่วนได้ส่วนเสียในทางการเมือง แม้ว่า ใจคิดว่าตัวเองเป็นกลาง แต่มันไม่มีทางเป็นไปได้

ปล. หากคุณ Bact ยังพยายามพิสูจน์ว่า ทักษิณโกง ทักษิณเอื้อผลประโยชน์ให้พวกพ้อง ผมก็คงต้องตามแก้ ในส่วนที่ไม่มีข้อมูลเชิงประจักษ์ เป็นแค่คิดว่า คาดว่า แล้วโยงเรื่องราว แบบที่ฝ่ายค้านชอบทำ โดยขาดการเชื่อมโยงที่เป็นจริง นอกจาก "ตรรกะ" เท่านั้น อย่างกรณีขายกิจการโทรคมนาคม เป็นต้น มันไม่ได้มีอะไรพิสูจน์ว่า เหตุการณ์ B เกิดตามหลัง เหตุการณ์ A แล้ว B ต้องเกิดจาก A เป็นต้น แต่คุณ Bact พยายามใช้ตรรกะอันนี้พิสูจน์ ซึ่งเป็นตรรกะที่ไม่ถูกต้อง เหมือนกับคนพยายามพิสูจน์ว่า เศรษฐกิจเติบโตมีความสัมพันธ์กับ กระโปรงสั้นยาวของผู้หญิง โดยเอาไปวัดแล้วหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ ซึ่งออกมาว่ามีความสัมพันธุ์ แต่ใครๆ ก็รู้ว่าเป็นเรื่อง "ตลกทางสถิติ" ก็แค่นั้น

การจับโยงเรื่อง พรบ. โทรคมนาคม เพื่อชี้ไปที่เป้าหมายสุดท้ายว่า ที่จะพิสูจน์ว่า "ทักษิณเอื้อผลประโยชน์ให้พวกพ้อง" จึงเป็นแค่ "การอภิปรายในสภา" มันไม่ควรมีในวิกิพีเดีย ที่พยายามชี้ว่า "ใครเป็นอย่างไร"


ทั้งหมดทั้งปวงเป็นการ "เล่นโวหาร" กับตรรกะผิดๆ เท่านั้น ที่มีความพยายามพิสูจน์ "สิ่งที่ตัวเองเชื่อในใจ"

บทความนี้ คงต้องแก้อีกนับสิบปี หากจะพยายามพิสูจน์อะไรในใจของคุณ


หากก้าวพ้นไปจากตรงนี้ คงได้รับการยอมรับระหว่างสองฝ่ายมากขึ้น เอาบทความจอร์จ บุชเป็นตัวอย่าง ลบเรื่อง คิดว่า คาดว่า ออกไป เอาเรื่องนโยบาย แนวคิด ผลงาน ของรัฐบาลมาใส่แทน โดยไม่ใส่ความเห็นของตนลงไปในทุกบรรทัดว่า แนวคิดนี้ทำได้ หรือไม่ได้ เมื่อมันเป็นแนวคิดของเขาก็ใส่ให้ครบ จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ไม่ใช่ประเด็น เพราะเราใส่ว่ารัฐบาลทักษิณ หรือทักษิณมีแนวคิดอย่างไรแค่นั้น


แต่เท่าที่ผ่านมา บทความทักษิณกับชวน วนๆ อยู่ว่า ฝ่ายนั้นโกง ฝ่ายนี้ไม่โกง

ผมก็เบื่อเช่น กันที่ต้องแก้ไขเวียนไปวนมา แต่ผมยอมไม่ได้ที่จะให้ประเทศนี้ คนสังคมนี้ "กล่าวหาใครโดยใช่ความเชื่อ มากกว่าหลักฐาน" เพราะผมเคยไปคุยในเว็ปบอร์ดต่างประเทศ โดนคำถามเดียวว่า "มีหลักฐานอะไรพิสูจน์หรือเปล่า" ก็หน้าหงายกลับมา แต่คนไทย ไม่เป็นเช่นนั้น ไม่มีหลักฐาน แต่พยายามเอาความเชื่อของตนมามาสรุป นี่ไม่ใช่สังคมอารยะแต่อย่างใด การสงสัยคนนั้นทำได้ แต่วิญญูชนเมื่อไม่มีหลักฐานพิสูจน์ย่อมไม่พูดออกมา

 131.227.231.92 12:26, 29 มกราคม 2006 (UTC)


ย้ายมาจากหน้าหลัก

หมายเหตุ

^  ประเด็นกิจการที่มีความมั่นคงของชาติต้องตกอยู่ในมือของต่างชาติ เป็นประเด็นการวิจารณ์ที่เลือกปฎิบัติ และขาดหลักการในการพิจารณา เนื่องจากกิจการหลายอย่างของไทยที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของชาติ เช่น กิจการด้านพลังงาน กิจการด้านธนาคาร เป็นต้น ก็มีต่างชาติเป็นผู้ดำเนินการหรือเป็นเจ้าของมานานแล้วเช่นกัน แต่ผู้วิจารณ์มักไม่มองไปยังภาพรวมทั้งหมดว่ายุทธศาสตร์ของประเทศเป็นอย่างไร กิจการอะไรบ้างที่ไม่ควรให้ต่างชาติดำเนินการ กิจการอะไรบ้างที่ให้ต่างชาติดำเนินการได้ แต่ผู้วิจารณ์หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาโจมตีทันที ที่ตระกูลชินวัตรขายหุ้นออกไปให้แก่สิงคโปร์ ซึ่งถือเป็นการเลือกปฎิบัติและขาดสาระทางวิชาการเป็นอย่างยิ่ง

^ การพิจารณว่า พฤติกรรมใดเหมาะสมหรือไม่เป็นเรื่องอัตวิสัยอย่างยิ่ง ในประเด็นการขายหุ้นของครอบครัวชินวัตร จึงต้องพิจารณาสองประการคือ ประเด็นด้านกฎหมาย และประเด็นด้านจริยธรรม ประเด็นด้านกฎหมายนั้นชัดเจนแล้วว่า ไม่ผิดสามารถดำเนินการได้ ส่วนประเด็นด้านจริยธรรมต้องมองว่า ทรัพย์นั้นได้มาอย่างถูกต้องหรือไม่ เป็นสัมมาอาชีวะหรือไม่ ตามพุทธบัญญัติแล้ว หากทรัพย์นั้นได้มาอย่างถูกต้อง และเป็นสัมมาอาชีวะ (มีในพุทธบัญญัติ เช่น อาชีพที่เกี่ยวกับอาวุธ ของมึนเมาไม่เป็นสัมมาอาชีวะ) แต่กิจการขายโทรศัพท์มือถือนั้นถือได้ว่าเป็นสัมมาอาชีวะ ทรัพย์ได้มาอย่างถูกต้อง การขายออกไปถูกต้องตามกฎหมายจึงไม่ผิดจริยธรรมแต่อย่างใด ดังนั้น ประเด็นความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมจึงเป็นการวิจารณ์ที่คลุมเครือ และไม่เป็นธรรมต่อผู้ถูกวิจารณ์อย่างยิ่ง เนื่องจากผู้วิจารณ์ไม่สามารถชี้ได้ว่า ไม่เหมาะสมเยี่ยงไร เป็นเพียงยกคำขึ้นมากล่าวอย่างลอยๆ และคลุมเครือ

-- bact' คุย 18:09, 29 มกราคม 2006 (UTC)


ยกมาไว้นี่ก่อนนะครับ เนื่องจากเนื้อหาในหน้าหลัก (ซึ่ง AA, BB อ้างถึง) มีการแก้ไข และอยู่นอกบริบท -- กำลังจะหาทางยัดกลับลงไป

-- bact' คุย 18:18, 29 มกราคม 2006 (UTC)

หรือว่าควรจะย้ายไว้หน้าพูดคุยนี้ดีครับ (ไม่ได้ลบ แต่ย้ายไว้ในหน้าพูดคุย เก็บไว้ให้คนที่สนใจอ่าน) เพราะถึงแม้ "หมายเหตุ" นี้อ่านดูมีเหตุผล แต่ก็ดูเป็นข้อสรุปส่วนตัวมากไปหน่อย

-- จุง 18:35, 29 มกราคม 2006 (UTC)


ผมกำลังสงสัยว่า ความเห็นทุกอย่างที่ไม่ได้มาจากนักเศรษฐศาสตร์ เป็น "เรื่องไร้สาระ" ?

-- bact' คุย 18:18, 29 มกราคม 2006 (UTC)

สารานุกรม

ก่อนที่จะเถียงเรื่องรายละเอียด ทุกฝ่ายช่วยสรุปซัก 3-4 บรรทัด ไว้ส่วนบนด้วยนะครับ ก่อนที่จะเริ่มรายละเอียด --Manop | พูดคุย -   19:14, 29 มกราคม 2006 (UTC)

...

ความเห็นใดที่มีหลักฐานมีหลักการ วางอยู่บนแนวคิดใด อย่างมีเหตุมีผล ย่อม้ไม่ไร้สาระ แต่โดยมาก นักอื่นๆ มักไม่มีหลักการที่นักแน่นมากกว่า "อัตวิสัย" อย่างเช่น "คำว่าเจตนารมย์ของกฎหมาย" ใครเป็นคนตีความเพื่อให้ได้ข้อยุติ เพราะคำนี้เป็นนามธรรม ท้ายสุดก็ไปถึงศาลรัฐธรรมนูญจนได้ 131.227.231.92 19:22, 29 มกราคม 2006 (UTC)

ส่วนในประเ้ด็นเรื่องการที่สื่อมวลชนต้องตกไปอยู่ในการบริหารของต่างชาตินั้น ยกคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในเวลาที่เขียนบทความนี้ว่า แม้จะไม่ผิดรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเมื่อดูจากสัดส่วนผู้ถือหุ้นแล้ว บริษัทไอทีวียังคงเป็นนิติบุคคลไทยอยู่ แต่จะขัดกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ที่ต้องการให้เจ้ากิจการสื่อมวลชนเป็นของบุคคลสัญชาติไทย หรือไม่ เนื่องจากอำนาจการบริหารนั้นตกเป็นของผู้ถือหุ้นต่างชาติแล้ว ซึ่งประเด็นนี้จะยุติได้ก็ต่อเมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

ข้อความข้างบนนี้เป็นความเห็นล้วนๆ เอามาอยู่ในส่วนอภิปรายก็แล้วกัน เนื่องจากรอให้ศาลหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องตัดสิน ไม่ได้ลบเหมือนกัน 131.227.231.92 19:24, 29 มกราคม 2006 (UTC)

ประเด็นนี้เป็นความเห็นไม่ใช่ข้อเท็จจริงต้องรอศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาด

ช่วงกลางเดือนมกราคม...
(ข้อความเก่าถูกลบไป)
...ใต้การบริหารงานของต่างชาติอยู่แล้วส่วนหนึ่ง ตั้งแต่ก่อนสมัยรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ)

---ไม่อยากลบแต่ไม่อยากให้ความเห็นมาลงอยู่เลยย้ายมาไว้ตรงนี้ก็แล้วกัน131.227.231.92

ผมยังไม่เห็นว่าข้อความส่วนไหนด้านบนนั้นที่เป็นการตัดสิน (ที่ "ต้องรอให้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสิน") นะครับ ขออนุญาตย้ายกลับ -- bact' คุย 21:18, 29 มกราคม 2006 (UTC)

ผมย้ายกลับให้อีกรอบครับ --- Jittat 02:55, 30 มกราคม 2006 (UTC)


ผมตัดกลับมาไว้ที่เดิม131.227.231.155

เพื่อความชัดเจนนะครับ ผมจะแยกเป็นส่วน ๆ เลยนะครับ แล้วถ้าเป็นไปได้ลองมาค่อย ๆ ดูแล้วกันนะครับ ว่าอันไหนเป็นความเห็น อันไหนไม่เป็นนะครับ อ้อ ข้อความบางส่วนผมพยายามแก้ให้เป็นกลางมากขึ้น โดยระบุว่าอะไรเป็นความเห็น อะไรไม่ใช่แล้วนะครับ ไม่ใช่ข้่อความเดิม รบกวนอ่านละเอียด ๆ ด้วยนะครับ --- Jittat 13:46, 30 มกราคม 2006 (UTC)
  • ช่วงกลางเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 รัฐบาลได้ประกาศใช้พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 มีสาระสำคัญเกี่ยวกับ การขยายสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติในบริษัทที่ประกอบกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่ จากไม่เกิน 25% เป็นไม่ถึง 50% และให้ยกเลิกสัดส่วนกรรมการบริษัทที่ต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ออกทั้งหมด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2549 และมีผลบังคับใช้วันเสาร์ที่ 21 มกราคม
อันนี้ไม่น่าจะเป็นแน่ ๆ นะครับ แล้วก็เกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับเรื่องนี้ด้วย


฿฿฿:: พรบ. เข้าสภาก่อนที่ทักษิณเขาคิดจะขายหุ้น คุณคิดว่าทักษิณย้อนเวลาไปได้อย่างนั้นหรือ อย่างมากที่เกิดขึ้นคือ พรบ. เป็นส่วน ของ พรบ.ที่ดำเนินการตามข้อตกลงของ WTO นานแล้ว และไม่ได้เกี่ยวกับการขายหุ้น (ที่จริงมันก็ไม่เกี่ยว) แต่เมื่อเขาตกลงขายหุ้น เขาก็แค่คิดว่า รอให้ พรบ.ประกาศก่อนค่อยขาย เพราะตอนนี้ พรบ.ผ่านรัฐสภาไปแล้วรอลงพระปรมาภิธัยแค่นั้น จะได้ไม่ผิดกฎหมาย สิ่งที่เขาเอามาใช้คือ Information ที่รู้ว่า พรบ.จะประกาศเมื่อไหร่ก็แค่นั้น แล้วมันก็ไม่ได้เป็นความลับเพราะผ่านสภาอย่างเปิดเผย เรื่องนี้คือ "การจับแพะชนแกะที่ชัดเจนที่สุด" แต่คุณไม่รู้สึก เพราะมุ่งแต่จะ "พิสูจน์ว่าทักษิณโกง" ผมไม่ใช่เด็กผมเคยทำงานมานาน ต้องแต่ระดับหมู่บ้านจนถึงห้องประชุม ครม. ห้องประชุมกรรมาธิการสภา (แต่ผมก็ไม่เคยรู้จักกับพรรค ทรท. หรือ ทักษิณ) ทำไมผมจะไม่ทราบกลไกของระบบ


  • ฝ่ายผู้คัดค้านรัฐบาลทักษิณมองว่านี่เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับครอบครัว เนื่องจาก หลังจากนั้นเพียง 2 วัน ในวันจันทร์ที่ 23 มกราคม ครอบครัวชินวัตรและดามาพงศ์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ในชินคอร์ป ก็ขายหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ จำนวน 49.595% ให้กับบริษัทเทมาเส็กของสิงคโปร์ ผ่านบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ โดยสาเหตุที่ต้องขายผ่านบริษัทโฮลดิ้งส์ (บริษัทถือหุ้นแทน) นั้น ก็เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้บริษัทที่ชินคอร์ปถือหุ้นอยู่ มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติเกิน 49% นั่นคือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส) บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) (ชินแซท) และ บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) (ไอทีวี) เนื่องจากสามบริษัทดังกล่าวนี้ มีผู้ถือหุ้นต่างชาติจำนวนหนึ่งอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว นอกจากนี้ในกรณีไอทีวี ซึ่งเป็นกิจการสื่อสารมวลชนนั้น หากมีผู้ถือหุ้นต่างด้าวเกินครึ่งหนึ่ง ก็จะขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 39 วรรคห้า ที่กล่าวว่า: “เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
อันนี้เป็น "ความเห็น" ของกลุ่มผู้คัดค้าน ผมไม่เห็นว่าทำไมจะใส่ลงไปไม่ได้นะครับ เพราะว่า ในย่อหน้าถัดมาก็มีความเห็นของกลุ่มผู้สนับสนุน ในความยาวที่ใกล้เคียงกัน

฿฿฿:: ความเห็นของสังคมมีมากมาย เรื่องนี้มีแต่จะสร้างความแตกแยก ไม่ได้นำไปสู่อะไร มันก็โยงกลับไปความเห็นแรกของผมคือ "สมมุติฐานที่ว่า ทักษิณ ออก พรบ.มาเพื่อเอื้อประโยชน์ขายหุ้น (หรือว่าไม่จริง คุณเชื่อเช่นนั้นอยู่แล้ว แต่ผมไม่เชื่อ เอาเป็นคณิตศาสตร์ก็ได้

A= พรบ.

B= ทักษิณคิดจะขายหุ้น

t1 = เวลาที่1

t2 = เวลาที่2

t1 เวลาก่อนหน้า t2

A เกิดขึ้นที่ t1 และ B เกิดขึ้นที่ t2

คุณคิดหรือว่า A เกิดขึ้นจาก B (ออกพรบ. มาเอื้อประโยชน์ต่อการขายหุ้น)B เกิดที่หลัง แต่เป็นสาเหตุของ A ตรรกะจากที่ไหนครับ ทางคณิตศาสตร์ง่ายๆ มันก็ผิดอยู่แล้ว มีอย่างที่ไหน เชื่อว่า อดีตเกิดจากอนาคต

เมื่อพารากราฟแรกมันผิด พารากราฟต่อมาคือสิ่งที่ผิด เป็นการจับเอาสองเรื่องที่ไม่เกี่ยวกัน มาเชื่อมโยงกัน

ผมไม่ได้เถียงว่าผิด หรือถูก เพราะว่า เรื่องนี้ เถียงยังไงคุณ ผม และคนอื่น ๆ ก็คงจะคิดเหมือน ๆ กันไม่ได้ นอกจากนี้วิกิพีเดียไม่ใช่ที่ตัดสินใคร
เนื้อหาตรงนี้มันเป็นความเชื่อหนึ่งของคนในสังคม ไปดูหนังสือพิมพ์อะไรก็ได้ แล้วข้อความที่เขียนก็บอกว่าเป็นความเห็นอย่างชัดเจนอยู่แล้ว ผมไม่ได้เถียงว่าความเห็นถูกหรือผิด ไม่ใช่หน้าที่ของผม ผมแค่ให้ดูว่าข้อความดังกล่าว มันชี้นำอะไรมากเกินไปหรือเปล่า ถ้ามากเกินไปจะเขียนใหม่ยังไง?
ถ้าคนในสังคมเชื่ออย่างนี้ เราเขียนว่าคนเชื่อกันอย่างนี้ หนังสือพิมพ์ลง และวิพากษ์วิจารณ์ขนาดนี้ ผมว่าเราก็ต้องใส่ไว้ในบทความด้วย ส่วนจะเขียนให้มันไม่บ่งชี้มากก็ค่อย ๆ เขียนไป
ถ้าคุณคิดว่ามันเขียนแล้วชี้นำ หรือเป็นการตัดสิน เป็นการจับแพะชนแกะ คุณก็ต้องแก้ แก้ให้เนื้อหาไม่บ่งชี้มาก หรือไม่ก็มีอีกพารากราฟให้คุณเขียนแก้ หาหลักฐานมายืนยันว่าทักษิณเขาตัดสินใจหลังจากนั้น หรืออื่น ๆ ไม่ใช่ว่าเอาข้อมูลเกี่ยวกับความเชื่อหรือความสงสัยนี้ออกไปเฉย ๆ
ทั้งหมดนี้แหล่ะครับ คือความเป็นกลางของที่นี่ คือมีความเห็นรอบด้านครับ --- Jittat 16:11, 30 มกราคม 2006 (UTC)
  • อย่างไรก็ตาม ทางฝ่ายผู้ที่สนับสนุนรัฐบาลทักษิณได้ชี้แจงว่า พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม เป็น พรบ. ที่ออกบังคับใช้เป็นการทั่วไปในภาคธุรกิจโทรคมนาคม ของประเทศ ไม่ได้บังคับใช้กับบริษัทชินวัตรเพียงบริษัทเดียว และในเรื่องส่วนเรื่องสัดส่วนการลงทุนจากต่างชาตินั้น ได้มีข้อตกลงขององค์การการค้าโลก มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ในยุครัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ว่า ประเทศไทยจะต้องเปิดเสรีรับการลงทุนจากต่างประเทศใน 8 ปี และกฎหมายนี้ ก็เข้าสู่การพิจารณาของสภามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ก่อนที่ตระกูลชินวัตรจะมีดำริขายหุ้น และกฎหมายที่ผ่านสภานิติบัญญัติทั้งสองสภาไปแล้วย่อมไม่เป็นความลับ นอกจากนี้การเจรจาขายหุ้นเพิ่งเริ่มขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 ฝ่ายผู้ที่สนับสนุนจึงสรุปว่าทั้งหมดนี้เป็นประเด็นโจมตี พ.ต.ท.ทักษิณ ที่พยายามเชื่อมโยงเหตุการณ์เข้าด้วยกันอย่างไม่มีหลักฐาน เพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง
เป็นความเห็นของผู้สนับสนุน
  • การเปลี่ยนมือของผู้ถือหุ้นครั้งนี้ ทำให้มีผู้กล่าวว่าโดยพฤตินัยแล้ว สองบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของประเทศไทย คือ เอไอเอส (ชินคอร์ปถือหุ้น 42.8%, สิงเทล (สิงคโปร์) 19.2%) และชินแซท (ชินคอร์ป 51.38%) ต้องตกอยู่ภายใต้การบริหารงานของต่างชาติทันที เช่นเดียวกับกิจการสำคัญอื่น ๆ ของประเทศ เช่น ธุรกิจพลังงาน และธุรกิจการเงินการธนาคาร (ซึ่งตกอยู่ภายใต้การบริหารงานของต่างชาติอยู่แล้วส่วนหนึ่ง ตั้งแต่ก่อนสมัยรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ)
ระบุว่า "มีผู้กล่าวว่า..."

รบกวนคุณ 131.227.231.155 ช่วยพิจารณาด้วยนะครับ ถ้ามีการแก้กลับไปกลับมาเช่นนี้คนเขียนทุกคน ต้อง คุยกันนะครับ ไม่เช่นนั้นอาจโดนระบุว่าเป็นการ พยายามพลักดันมุมมองของตนเองได้นะครับ ทุกคนต้องพยายามหาทางออกให้ได้บทความที่ทุกคน "ยอมรับได้" ซึ่งถ้ายังมีใครแก้กลับไปกลับมาโดยไม่สนใจคุยต่อเนื่องกันไปมาอีก admin มีสิทธิ์ที่จะ block ได้นะครับ (ไม่เว้นแม้กระทั่งคนเขียนที่เป็น admin เองด้วย) --- Jittat 13:42, 30 มกราคม 2006 (UTC)


ผมว่ายากที่จะคุยกันรู้เรื่องแล้ว เพราะเขาคอยจ้องแก้สิ่งที่ผมเขียน ผมเขียนลไปเท่าไหร่ เขาก็ตัดออกไปหมดสิ้น เหมือนจงใจว่าจะผลักแนวคิด ของเขาออกไปคนเดียว เมื่อไม่ได้อย่างใจก็จะมาขู่กันว่าจะบล็อก กลายเป็นว่า เว็บไซต์นี้ เป็นของคุณ กับของ bact เท่านั้น แก้อย่างไร โทนบทความก็ออกมาเหมือนจงใจจะ ตัดสินว่า "ครอบครัวชินวัตรนี้โกง" ให้ได้ ลองคั้งใจอย่างนี้เสียแล้วมันก็ยาก คุณ Jittat ลองสำรวจความคิดของตัวเองอีกครั้งนะครับ บทความอภิสิทธิ์ คนก็แก้เสียเหมือนคนสนับสนุนอภิสิทธิ์อย่างไรอย่างนั้น เอาเป็นว่าเรื่องที่ยังมีการโต้แย้งกันอยู่ ก็เอาไปไว้ในส่วนอภิปรายก็แล้วกัน ไม่อย่างนั้น ผมคงยอมรับได้ยาก คุณดูซิหมายเหตุของผม เขียนยาวไม่ถึงสิบนาที นาย Bact ตัดฉับเอาไปไว้ในส่วนอภิปราย เปลี่ยนโทนของเนื้อหาเสร็จศัพท์ แต่พอกรณีของเขา เป็นความเห็นเหมือนกับ กลับดื้อรั้นที่จะเอาของตัวเองใส่มาให้ได้ เอาเป็นว่า ผมกำลังต่อสู้อยู่กับกลุ่มที่ "ครอบงำวิกิพีเดีย" ที่ไม่มีใจเป็นกลางสักเท่าไหร่ (แต่คิดว่าตัวเองมี เป็นการหลอกตัวเองระดับลึกที่สุด เหมือนอนุสัยที่จมอยู่) ตอนนี้กลายเป็นว่า "วิกิพีเดีย" คือ เว็บบอร์ดทางการเมืองของ ฝ่ายต่อต้านทักษิณยังไงยังงั้น

ตัวเอย่างเช่น การตัดแต่งรูป ของอภิสิทธิ์ โดยให้เห็นผลว่า ป้องกันการจูงใจ แต่กรณีทักษิณ บทความชี้ไปโต้งๆ ว่า ต้องการให้เห็นว่า ครอบครัวทักษิณโกง ทักษิณเป็นคนเลว (แต่คุณมานพไม่รู้สึก เพราะอคติที่เป็นอนุสัยนอนลึกอยู่ก็คิดว่าตัวเองเป็นกลาง แต่แค่ภาพอภิสิทธิ์คู่กับสนธิกลับรู้สึกอะไรที่ผมไม่รู้สึกด้วย เพราะมันคือข้อเท็จจริง ทำเหมือนเดอะเนชั่นแต่งกริช) นี่มันอะไรกัน อะไรเกิดขึ้นกับสังคมไทย ที่พยายามตัดสินผู้อื่นโดยปราศจากหลักฐานข้อเท็จจริงรองรับ เอาจินตนาการ ล้วนๆ โยงเข้ามา

พารากราฟของคุณมันคือความเห็นล้วนๆ หาให้ข้อเท็จจริงอะไรไม่131.227.231.92 14:39, 30 มกราคม 2006 (UTC)

เป็นข้อเท็จจริงที่ว่า มีคนเชื่อตามความเห็นดังกล่าวครับ --- Jittat 16:11, 30 มกราคม 2006 (UTC)
ส่วนเนื้อหาทีุ่ถูกตัดออกที่คุณบ่นนั้น ก็ค่อย ๆ ช่วยกันหาช่องใส่กลับเข้าไปนะครับ (ตอนเอาออกมา Bact ก็บอกว่าค่อยหาทางใส่กลับเข้าไปนะครับ) ผมว่าเราค่อย ๆ หาทางช่วยกันใส่เนื้อหาครับ ถ้าคุณเห็นว่าไม่ผิด ก็เขียนอธิบายไป ใครสงสัยก็ใส่ ไป แบ่งสัดส่วนให้ดี ก็น่าจะช่วยกันเขียนต่อได้นะครับ --- Jittat 16:28, 30 มกราคม 2006 (UTC)
เป็นข้อเท็จจริงที่ว่า มีคนเชื่อตามความเห็นดังกล่าวครับ --- Jittat 16:11, 30 มกราคม 2006 (UTC)
ตามอ่านเหนื่อยเหมือนกันครับ มีประเด็นดังนี้
  • ขอความกรุณาให้ผู้ใช้ 131.227.231.92 ช่วยสร้างล็อกอินด้วยครับ เพราะผู้ใช้ที่แก้ไขโดยไม่ล็อกอินมักจะเป็นผู้ใช้ที่เข้ามาก่อกวน และ admin จะเพ่งเล็งบทความที่แสดงว่าถูกแก้ไขโดยผู้ใช้ไม่ล็อกอินมากเป็นพิเศษ อย่างในกรณีของคุณผมคิดว่ามีความตั้งใจในการเขียนบทความพอสมควร ดังนั้นขอร้องให้ล็อกอินด้วยครับ
  • ผมคิดว่าเนื้อหาส่วนของ ผู้ใช้:bact' มีความเอนเอียงไปในทางลบต่อกรณีขายหุ้นอยู่บ้าง (ซึ่งไม่ผิดอะไร) แต่ทางแก้ที่ถูกต้องไม่ใช่ลบข้อความเหล่านั้นทิ้ง แต่เป็นการเพิ่มข้อความของฝ่ายสนับสนุนการขายหุ้นลงไปควบคู่กัน ตามที่ ผู้ใช้:Jittat ได้แนะนำไปแล้ว
  • บทความรุ่นปัจจุบันที่แก้ไขล่าสุดโดยคุณ Jittat วันที่ 30 มกราคม ในความเห็นของผมคิดว่าเป็นกลางพอสมควร และเน้นข้อเท็จจริงมากกว่าความคิดเห็น คุณ 131.xxx น่าจะโอเคกับบทความรุ่นนี้นะครับ Markpeak 16:36, 30 มกราคม 2006 (UTC)


เอาไว้ในส่วนอภิปรายก็แล้วกัน เพราะการนำความเชื่อมาใส่ ไม่มีทางจบสิ้น และหากผมเขียนชี้แจงเช่น ทำเป็นหมายเหตุไว้ เหมือนที่เคยทำ และชัดเจนเป็นธรรมดี แต่นาย Bact ก็ตัดออกไปเพื่อรักษาโทนในเหมือนว่าทักษิณโกง จนเผมเบื่อที่จะเขียนแล้ว และผมก็เชื่อว่าคนจำนวนมากเชื่ออย่างนั้น ไม่ใช่คอลัมนิสต์ของหนังสือพิม์สองสามคนเชื่อ สิ่งที่ปรากฏตามหนังสือพิมพ์คือ ความเห็นคอลัมนิสต์ ไม่ใช่ข่าว แค่คือ "ความเห็น" ไม่ต่างจากความเห็นในเว็บไซต์พันทิพย์หรือผู้จัดการ ดังนั้นหากคุณยืนยันที่จะเข้าไปก็ใส่หมายเหตุของผมกลับเข้าไปด้วย น้ำหน้าของบทความจะไม่เอียง และเขียนให้ชัดเจนด้วยว่า กฎหมายเกิดขึ้นก่อน เหตุและผมเป็นอย่างไร หน้าที่ในการเขียนบทความคือ "อาความจริงมาวิเคราะห์ด้วย" ไม่ใช่เป็น "จดหมายเหตุ" แต่หากเป็นจดหมายเหตุ ก็ไม่ต้องใส่ความเห็นเข้าไป

บทความไม่มีหน้าทีต้องใสข่าวลือ ข่าวสร้าง ข่าวปล่อย จะต้องวิพาร์กวิจารณ์ให้เห็นจริงด้วย เมื่อรู้ว่ามันผิดทนโท่ แต่ยังจะอยากใส่เข้าไป "เพื่อหวังผลอะไรบางอย่าง" (เหมือนที่นายมานพตัดแต่งภาพ เพราะระแวงว่าใครจะหวังผลอะไรบางอย่าง) เมื่อหลักฐานข้อเท็จจริง ความถูกต้องมีชัดเจน แต่พยายามเลี่ยง เพื่อต้องการอะไรกันแน่

ปล. เรื่องล็อกอิน อภิปรายกันไปแล้ว และผมก็ไม่สนใจตรงนั้น 131.227.231.92

ถึง Markpeak ลองอ่านเรื่องล็อกอินที่ หน้าพูดคุยนี้นะ
หน้านั้นผมอ่านนานแล้วครับ ที่เขียนไปไม่ได้บังคับให้คุณต้องล็อกอิน ไม่ได้มีประเด็นเรื่อง privacy ด้วย ผมคิดว่าผมเขียนชัดเจนแล้วว่า ประเด็นที่ผมอยากให้คุณล็อกอิน เพราะความสะดวกของ admin ในการดูแลระบบ Markpeak 06:21, 1 กุมภาพันธ์ 2006 (UTC)
งั้นผมตัดส่วนหมายเหตุของคุณ131.227.231.92มาไว้ที่นี่นะครับ แล้วก็แสดงส่วนที่ลองแก้ดูนะครับ
  • ต้นฉบับ: ประเด็นกิจการที่มีความมั่นคงของชาติต้องตกอยู่ในมือของต่างชาติ เป็นประเด็นการวิจารณ์ที่เลือกปฎิบัติ และขาดหลักการในการพิจารณา เนื่องจากกิจการหลายอย่างของไทยที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของชาติ เช่น กิจการด้านพลังงาน กิจการด้านธนาคาร เป็นต้น ก็มีต่างชาติเป็นผู้ดำเนินการหรือเป็นเจ้าของมานานแล้วเช่นกัน แต่ผู้วิจารณ์มักไม่มองไปยังภาพรวมทั้งหมดว่ายุทธศาสตร์ของประเทศเป็นอย่าง ไร กิจการอะไรบ้างที่ไม่ควรให้ต่างชาติดำเนินการ กิจการอะไรบ้างที่ให้ต่างชาติดำเนินการได้ แต่ผู้วิจารณ์หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาโจมตีทันที ที่ตระกูลชินวัตรขายหุ้นออกไปให้แก่สิงคโปร์ ซึ่งถือเป็นการเลือกปฎิบัติและขาดสาระทางวิชาการเป็นอย่างยิ่ง
ฉบับแก้: ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการวิจารณ์เกี่ยวกับประเด็นที่กิจการเกี่ยวข้องกับความมั่นคงิต้องตกอยู่ในมือของต่างชาติ ให้ความเห็นว่านี่เป็นประเด็นการวิจารณ์ที่เลือกปฎิบัติ และขาดหลักการในการพิจารณา เนื่องจากกิจการหลายอย่างของไทยที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของชาติ เช่น กิจการด้านพลังงาน กิจการด้านธนาคาร เป็นต้น ก็มีต่างชาติเป็นผู้ดำเนินการหรือเป็นเจ้าของมานานแล้วเช่นกัน แต่ผู้วิจารณ์มักไม่มองไปยังภาพรวมทั้งหมดว่ายุทธศาสตร์ของประเทศเป็นอย่างไร กิจการอะไรบ้างที่ไม่ควรให้ต่างชาติดำเนินการ กิจการอะไรบ้างที่ให้ต่างชาติดำเนินการได้ แต่ผู้วิจารณ์หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาโจมตีทันทีที่ตระกูลชินวัตรขายหุ้นออกไปให้แก่สิงคโปร์ ซึ่งถือเป็นการเลือกปฎิบัติและขาดสาระทางวิชาการเป็นอย่างยิ่ง
  • ต้นฉบับ: การพิจารณว่า พฤติกรรมใดเหมาะสมหรือไม่เป็นเรื่องอัตวิสัยอย่างยิ่ง ในประเด็นการขายหุ้นของครอบครัวชินวัตร จึงต้องพิจารณาสองประการคือ ประเด็นด้านกฎหมาย และประเด็นด้านจริยธรรม ประเด็นด้านกฎหมายนั้นชัดเจนแล้วว่า ไม่ผิดสามารถดำเนินการได้ ส่วนประเด็นด้านจริยธรรมต้องมองว่า ทรัพย์นั้นได้มาอย่างถูกต้องหรือไม่ เป็นสัมมาอาชีวะหรือไม่ ตามพุทธบัญญัติแล้ว หากทรัพย์นั้นได้มาอย่างถูกต้อง และเป็นสัมมาอาชีวะ (มีในพุทธบัญญัติ เช่น อาชีพที่เกี่ยวกับอาวุธ ของมึนเมาไม่เป็นสัมมาอาชีวะ) แต่กิจการขายโทรศัพท์มือถือนั้นถือได้ว่าเป็นสัมมาอาชีวะ ทรัพย์ได้มาอย่างถูกต้อง การขายออกไปถูกต้องตามกฎหมายจึงไม่ผิดจริยธรรมแต่อย่างใด ดังนั้น ประเด็นความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมจึงเป็นการวิจารณ์ที่คลุมเครือ และไม่เป็นธรรมต่อผู้ถูกวิจารณ์อย่างยิ่ง เนื่องจากผู้วิจารณ์ไม่สามารถชี้ได้ว่า ไม่เหมาะสมเยี่ยงไร เป็นเพียงยกคำขึ้นมากล่าวอย่างลอยๆ และคลุมเครือ
ฉบับแก้: ผู้ไม่เห็นด้วยกับคำวิจารณ์ให้ความเห็นว่า การพิจารณว่าพฤติกรรมใดเหมาะสมหรือไม่เป็นเรื่องอัตวิสัยอย่างยิ่ง ในประเด็นการขายหุ้นของครอบครัวชินวัตรนั้น อาจพิจารณาได้จากสองมุมมองคือ มุมมองด้านกฎหมาย และมุมมองด้านจริยธรรม มุมมองด้านกฎหมายนั้นชัดเจนแล้วว่า ไม่ผิดสามารถดำเนินการได้ ส่วนมุมมองด้านจริยธรรมนั้นลึกซึ้งกว่า ผู้ไม่เห็นด้วยกับคำวิจารณ์อธิบายว่าถ้าจะพิจารณาตามหลักพุทธบัญญัติ ต้องพิจารณาว่าทรัพย์นั้นได้มาอย่างถูกต้องหรือไม่ เป็นสัมมาอาชีวะหรือไม่ ถ้าหากทรัพย์นั้นได้มาอย่างถูกต้อง และเป็นสัมมาอาชีวะ (มีระบุในพุทธบัญญัติว่าอาชีพใดไม่เป็นสัมมาอาชีวะ เช่น อาชีพที่เกี่ยวกับอาวุธและของมึนเมา) แล้ว การขายออกไปถูกต้องตามกฎหมายนั้นสามารถจัดได้ว่าไม่ผิดจริยธรรม ดังนั้นกิจการขายโทรศัพท์มือถือซึ่งเป็นสัมมาอาชีวะและเป็นทรัพย์ได้มาอย่างถูกต้อง จึงไม่ผิดจริยธรรมแต่อย่างใด ผู้ไม่เห็นด้วยจึงสรุปว่าประเด็นความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมจึงเป็นการวิจารณ์ที่คลุมเครือ และไม่เป็นธรรมต่อผู้ถูกวิจารณ์อย่างยิ่ง เนื่องจากผู้วิจารณ์ไม่สามารถชี้ได้ว่า ไม่เหมาะสมเยี่ยงไร เป็นเพียงยกคำขึ้นมากล่าวอย่างลอยๆ และคลุมเครือ
ส่วนแรกผมว่าน่าจะเอาไปใส่ไว้ในส่วนของอัตราส่วนของผู้ถือหุ้น ส่วนที่สองน่าจะอยู่ในส่วนของวิจารณ์ธรรมดา (และน่าจะแก้ข้อความอีกสักหน่อยก่อน) แล้วอาจจะใส่ปิดท้ายก็ได้ นอกจากนี้คิดว่าน่าจะเพิ่มส่วนอธิบายเกี่ยวกับระยะเวลาของการตัดสินใจ ตามที่คุณ 131.* อธิบายเข้าไปด้วยนะครับ ท่านอื่น ๆ รบกวนช่วยกันปรับแก้ได้เลยนะครับ --- Jittat 17:15, 30 มกราคม 2006 (UTC)

Let me try.

  • ช่วงกลางเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 รัฐบาลได้ประกาศใช้พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 มีสาระสำคัญเกี่ยวกับ การขยายสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติในบริษัทที่ประกอบกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่ จากไม่เกิน 25% เป็นไม่ถึง 50% และให้ยกเลิกสัดส่วนกรรมการบริษัทที่ต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ออกทั้งหมด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2549 และมีผลบังคับใช้วันเสาร์ที่ 21 มกราคม
  • ฝ่ายผู้คัดค้านรัฐบาลทักษิณมองว่านี่เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับครอบครัว เนื่องจาก หลังจากนั้นเพียง 2 วัน ในวันจันทร์ที่ 23 มกราคม ครอบครัวชินวัตรและดามาพงศ์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ในชินคอร์ป ก็ขายหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ จำนวน 49.595% ให้กับบริษัทเทมาเส็กของสิงคโปร์ ผ่านบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ (ต้องการข้อมูลสนับสนุน ข้อมูลการซื้อขาย) ย้าย(โดยสาเหตุที่ต้องขายผ่านบริษัทโฮลดิ้งส์ (บริษัทถือหุ้นแทน)) นั้นก็เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้บริษัทที่ชินคอร์ปถือหุ้นอยู่ ย้าย(มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติเกิน 49%) นั่น เนื่องจากบริษัททั้งสามคือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส) บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) (ชินแซท) และ บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) (ไอทีวี) ไม่สามารถมีสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติเกิน 49% แต่เนื่องจากสามบริษัทดังกล่าวนี้ มีผู้ถือหุ้นต่างชาติจำนวนหนึ่งอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว จึงต้องทำการซื้อขายผ่านบริษัทโฮลดิ้งส์ (บริษัทถือหุ้นแทน) นอกจากนี้ในกรณีไอทีวี ซึ่งเป็นกิจการสื่อสารมวลชนนั้น หากมีผู้ถือหุ้นต่างด้าวเกินครึ่งหนึ่ง ก็จะขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 39 วรรคห้า ที่กล่าวว่า: “เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
  • อย่างไรก็ตาม ทางฝ่ายผู้ที่สนับสนุนรัฐบาลทักษิณได้ชี้แจงว่า พ.ร.บ. เนื่องจากมีคำกล่าวหาถึงความเกี่ยวพันทางด้านผลประโยชน์ของรัฐบาล จึงได้มีการชี้ถึงข้อเท็จจริงที่ว่า การประกอบกิจการโทรคมนาคม เป็น พรบ. ที่ออกบังคับใช้เป็นการทั่วไปในภาคธุรกิจโทรคมนาคม ของประเทศ ไม่ได้บังคับใช้กับบริษัทชินวัตรเพียงบริษัทเดียว และในเรื่องส่วนเรื่องสัดส่วนการลงทุนจากต่างชาตินั้น ได้มีข้อตกลงขององค์การการค้าโลก มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ในยุครัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ก่อนหน้านี้ว่า ประเทศไทยจะต้องเปิดเสรีรับการลงทุนจากต่างประเทศใน 8 ปี และกฎหมายนี้ ก็เข้าสู่การพิจารณาของสภามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ก่อนที่ตระกูลชินวัตรจะมีดำริขายหุ้น และกฎหมายที่ผ่านสภานิติบัญญัติทั้งสองสภาไปแล้วย่อมไม่เป็นความลับ นอกจากนี้ แต่การเจรจาขายหุ้นเพิ่งเริ่มขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 (ต้องการข้อมูลสนับสนุน แหล่งที่ระบุการเจรจาซื้อขาย กับใคร วันที่เท่าไร)ฝ่ายผู้ที่สนับสนุนจึงสรุปว่าทั้งหมดนี้เป็นประเด็นโจมตี พ.ต.ท.ทักษิณ ที่พยายามเชื่อมโยงเหตุการณ์เข้าด้วยกันอย่างไม่มีหลักฐาน เพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง
  • การเปลี่ยนมือของผู้ถือหุ้นครั้งนี้ ทำให้มีผู้กล่าวว่าโดยพฤตินัยแล้ว สองบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของประเทศไทย คือ ผลจากการซื้อขายหุ้น คือ (เอไอเอส (ชินคอร์ปถือหุ้น 42.8%, สิงเทล (สิงคโปร์) 19.2%) และชินแซท (ชินคอร์ป 51.38%) (เพิ่มเนื้อหาสนับสนุน ว่าได้ตัวเลขระดับการถือหุ้นจากไหน โดยเป็นตัวเลขการถือหุ้นของวันที่เท่าไร) ต้องตกอยู่ภายใต้การบริหารงานของต่างชาติทันที ซึ่งมีต่างชาติเป็นผู้ถือหุ้นหลัก เช่นเดียวกับกิจการสำคัญอื่น ๆ ของประเทศ เช่น ธุรกิจพลังงาน และธุรกิจการเงินการธนาคาร (ต้องมีเนื้อหาสนับสนุน บริษัทอะไร มีใครเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ปริมาณเท่าไร จากวันที่เท่าไร หากไม่มีข้อมูลสนับสนุน ลบข้อความออก)(ซึ่งตกอยู่ภายใต้การบริหารงานของต่างชาติอยู่แล้วส่วนหนึ่ง ตั้งแต่ก่อนสมัยรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ)

ไร้สติ 17:45, 30 มกราคม 2006 (UTC)

ฉบับแก้ไข

ประเด็นการขายหุ้นของ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรนี้ ฝ่ายตรงข้ามได้นำมาโจมตี อย่างรุนแรง ว่าใช้อำนาจเพื่อเอื้อต่อผลประโยชน์ต่อครอบครัว โดยนำไปเชื่อมโยงกับ พรบ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม ที่ประกาศใช้ก่อนการประกาศขายหุ้นอย่างเป็นทางการเพียงสองวัน (มีข่าวการเจรจาขายหุ้นของครอบครัวชินวัตรออกมาก่อนหน้านี้ในเดือนธันวาคม 2548 แต่ยังไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการ) โดย พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 20 มกราคม 2549 ส่วนการประกาศการขายหุ้นอย่างเป็นทางการของครอบครัวชินวัตรเกิดขึ้นในวันที่ 23 มกราคม 2549 สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้คือ การขยายสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติในบริษัทที่ประกอบกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่ จากไม่เกิน 25% เป็นไม่ถึง 50% และให้ยกเลิกสัดส่วนกรรมการบริษัทที่ต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ออกทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับการที่ ครอบครัวชินวัตรและดามาพงศ์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ในชินคอร์ป ขายหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ จำนวน 49.595% ให้กับบริษัทเทมาเส็กของสิงคโปร์ ผ่านบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ โดยที่ต้องขาย ผ่านบริษัทโฮลดิ้งส์ (บริษัทถือหุ้นแทน) นั้น ก็เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้บริษัทที่ชินคอร์ปถือหุ้นอยู่ มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติเกิน 49% นั่นคือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส) บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) (ชินแซท) และ บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) (ไอทีวี) เนื่องจากสามบริษัทดังกล่าวนี้ มีผู้ถือหุ้นต่างชาติจำนวนหนึ่งอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว แต่ข้อเท็จจริงคือ พรบ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม นั้น รัฐบาลต้องออกตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก ซึ่งมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ในยุครัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ โดยประเทศไทยจะต้องเปิดเสรีรับการลงทุนจากต่างประเทศภายระยะเวลา 8 ปี และรัฐบาลได้ดำเนินการออกกฎหมายฉบับนี้ โดยเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ก่อนหน้า ครอบครัวชินวัตรและดามาพงศ์จะตัดสินใจดำเนินการขายหุ้นถึง 2 ปี ดังนั้น เมื่อการเจรจาขายหุ้นเกิดขึ้นในปลายปี 2548 ซึ่งดำเนินการหลังจากฎหมายได้ผ่านสภานิติบัญญัติไปแล้วกำลังอยู่ในขั้นตอนการรอลงพระปรมาภิธัย ผู้เจรจาทั้งสองฝ่ายต่างก็ทราบสาระสำคัญของกฎหมายอยู่แล้วจึงประกาศการตกลงภายหลังกฎหมายมีการประกาศใช้เพียง 2 วัน

อีกประเด็นหนึ่งที่ฝ่ายตรงข้ามพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรหยิบยกขึ้นมาโจมตีคือ กรณีบริษัทไอทีวี ซึ่งเป็นกิจการสื่อสารมวลชน หากมีผู้ถือหุ้นเป็นชาวต่างชาติเกินครึ่งหนึ่ง จะขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 39 วรรคห้า ซึ่งบัญญัติไว้ว่า ”เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” ซึ่งประเด็นนี้หาได้เกี่ยวข้องกับ การขายหุ้นของตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ ที่ขายหุ้นของตนออกไปอย่างสุจริตไม่ แต่ผู้ถือหุ้นใหม่ หากขัดต่อกฎหมาย ก็จะต้องขายหุ้นของตนออกไป ไม่สามารถถือครองไว้ได้ (แต่กฎหมายไม่ได้ห้ามว่าจะขายไม่ได้ เพียงแต่ห้ามว่าไม่อาจถือกรรมสิทธิ์ต่อไปได้)

ประเด็นอื่นๆ คือ มีผู้เกรงกันว่าการเปลี่ยนมือของผู้ถือหุ้นครั้งนี้จะทำให้ต่างชาติเข้ามามีอิทธิพลต่อกิจการโทรคมนาคมของประเทศเนื่องจาก บริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของประเทศทั้งสองบริษัทคือ เอไอเอส (ชินคอร์ปถือหุ้น 42.8%, สิงเทล (สิงคโปร์) 19.2%) และชินแซท (ชินคอร์ป 51.38%) ต้องตกอยู่ภายใต้การบริหารงานของต่างชาติ แต่ลักษณะเช่นนี้ก็เกิดขึ้นมานานแล้วตั้งแต่รัฐบาลไทยมีนโยบายเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศอย่างเสรี ตัวอย่างกิจการอื่นๆ ที่มีต่างชาติเป็นเจ้าของและดำเนินการ เช่น ธุรกิจพลังงาน และธุรกิจการเงินการธนาคาร (โรงกลั่นน้ำมัน 3 ใน 5 โรงกลั่นของไทยเป็นของต่างชาติ)

131.227.231.92


ปล. (ไม่ต้องใส่เข้าไป) ประเด็นการถือกรรมสิทธิ์ต้องห้ามตามกฎหมายนั้น ดร.มีชัย ถชุพันธ์เคยชี้แจงไว้นานแล้วว่า หากทรัพย์นั้นได้มาอย่างถูกต้องก็ไม่มีปัญหา เช่น ผู้ตายโอนมรดกคือ บ้านและที่ดินให้แก่ผู้รับมรดกซึ่งเป็นชาวต่างชาติ แต่กฎหมายไทยบัญญัติไว้ว่า ชาวต่างชาติไม่อาจครอบครองกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินได้ ดังนั้น ผู้รับมรดกก็ต้องขายออกไป เพื่อไม่ให้ขัดต่อกฎหมาย แต่กฎหมายไม่ได้ห้ามว่า รับมรดกไม่ได้ เพียงแต่ไม่ให้ครอบครองบ้านและที่ดิน เมื่อทรัพย์ได้มาอย่างสุจริต ก็ต้องขายได้ กรณีของไอทีวีก็เช่นกัน หากเทมาเส็กไม่อาจครอบครองไว้ได้ (ต้องให้ศาลตัดสินว่าได้หรือไม่) ก็ต้องขายออกไปเพื่อสละกรรมสิทธิ์นั้น ไม่ใช่ไปห้ามไม่ให้ชินวัตร ขายทรัพย์ของตนที่ได้มาอย่างสุจริตอย่างที่พยายามโจมตีกัน (ซึ่งเป็นการโจมตีทางการเมืองอย่างที่ผมพยายามชี้แจงแล้ว แต่ไม่ยอมฟังกัน)

การแก้ไขนี้ผมว่า เป็นกลางอย่างที่สุดแล้วเก็บสาระที่นาย Bact อยากจะสื่อไว้ทั้งหมด แต่เปลี่ยนโทนของการเขียนให้เป็นกลาง ไม่ไปกล่าวร้ายเขาว่าโกง หรือเอื้อผลประโยชน์ทำให้วิกิพีเดียกลายเป็นแค่ "เว็ปไซต์ทางการเมือง ต่อต้านทักษิณไป" 131.227.231.92


ตรวจแก้โดยไร้สติ

ประเด็นการขายหุ้นของ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรนี้ ฝ่ายตรงข้ามได้นำมาโจมตี อย่างรุนแรง ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ว่าใช้อำนาจเพื่อเอื้อต่อผลประโยชน์ต่อครอบครัว โดยนำไปเชื่อมโยงกับ พรบ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม ที่ประกาศใช้ก่อนการประกาศขายหุ้นอย่างเป็นทางการเพียงสองวัน (มีข่าวการเจรจาขายหุ้นของครอบครัวชินวัตรออกมาก่อนหน้านี้ในเดือนธันวาคม 2548 แต่ยังไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการ) โดย พ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 20 มกราคม 2549 ส่วนการประกาศการขายหุ้นอย่างเป็นทางการของครอบครัวชินวัตรเกิดขึ้นในวันที่ 23 มกราคม 2549 สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้คือ การขยายสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติในบริษัทที่ประกอบกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่ จากไม่เกิน 25% เป็นไม่ถึง 50% และให้ยกเลิกสัดส่วนกรรมการบริษัทที่ต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ออกทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับการที่ ครอบครัวชินวัตรและดามาพงศ์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ในชินคอร์ป ขายหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ จำนวน 49.595% ให้กับบริษัทเทมาเส็กของสิงคโปร์ ผ่านบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ โดยที่ต้องขาย ผ่านบริษัทโฮลดิ้งส์ (บริษัทถือหุ้นแทน) นั้น ก็เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้บริษัทที่ชินคอร์ปถือหุ้นอยู่ มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติเกิน 49% นั่นคือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส) บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) (ชินแซท) และ บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) (ไอทีวี) เนื่องจากสามบริษัทดังกล่าวนี้ มีผู้ถือหุ้นต่างชาติจำนวนหนึ่งอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว แต่ข้อเท็จจริงคือ ต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ จึงมีการชี้ให้เห็นถึงข้อเท็จจริงที่ว่า พรบ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม นั้น รัฐบาลต้องออกตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก ซึ่งมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ในยุครัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ก่อนหน้านี้ โดยประเทศไทยจะต้องเปิดเสรีรับการลงทุนจากต่างประเทศภายในระยะเวลา 8 ปี และรัฐบาลได้ดำเนินการออกกฎหมายฉบับนี้ โดยส่งเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ก่อนหน้าครอบครัวชินวัตรและดามาพงศ์จะตัดสินใจดำเนินการขายหุ้นถึง 2 ปี ดังนั้น เมื่อการเจรจาขายหุ้นเกิดขึ้นในปลายปี 2548 ซึ่งดำเนินเนินการหลังจากฎหมายได้ผ่านรัฐสภาไปแล้วกำลังอยู่ในขั้นตอนการรอลงพระปรมาภิธัย (ต้องการข้อมูลสนับสนุน การเจรจาซื้อขาย กับใคร เมื่อไร แหล่งอ้างอิง) ผู้เจรจาทั้งสองฝ่ายต่างก็ทราบสาระสำคัญของกฎหมายอยู่แล้วจึง และทำการประกาศการตกลงภายหลังกฎหมายมีการประกาศใช้เพียง 2 วัน

อีกประเด็นหนึ่งที่ฝ่ายตรงข้ามพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรหยิบยกขึ้นมาโจมตีคือ ส่วน กรณีบริษัทไอทีวี ซึ่งเป็นกิจการสื่อสารมวลชน หากมีผู้ถือหุ้นเป็นชาวต่างชาติเกินครึ่งหนึ่ง จะขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 39 วรรคห้า ซึ่งบัญญัติไว้ว่า ”เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” ซึ่งประเด็นนี้หาได้เกี่ยวข้องกับ การขายหุ้นของตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ ที่ขายหุ้นของตนออกไปอย่างสุจริตไม่ แต่ผู้ถือหุ้นใหม่ ซึ่งในการซื้อขายหุ้น หากปริมาณหุ้นของผู้ถือหุ้นใหม่นั้น หากขัดต่อกฎหมาย ผู้ถือหุ้นใหม่ก็จะต้องขายหุ้นของตนออกไป ไม่สามารถถือครองไว้ได้ (แต่กฎหมายไม่ได้ห้ามว่าจะขายไม่ได้ เพียงแต่ห้ามว่าไม่อาจถือกรรมสิทธิ์ต่อไปได้)

ประเด็นอื่นๆ คือ มีผู้เกรงกันว่าการเปลี่ยนมือของผู้ถือหุ้นครั้งนี้จะทำให้ต่างชาติเข้ามามีอิทธิพลต่อกิจการโทรคมนาคมของประเทศเนื่องจาก บริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของประเทศทั้งสองบริษัทคือ เอไอเอส (ชินคอร์ปถือหุ้น 42.8%, สิงเทล (สิงคโปร์) 19.2%) และชินแซท (ชินคอร์ป 51.38%) (ต้องการแหล่งอ้างอิงข้อมูล ข้อมูลการถือหุ้น วันที่) ต้องตกอยู่ภายใต้การบริหารงานของต่างชาติ แต่กรณีเช่นนี้ก็เกิดขึ้นมานานแล้วตั้งแต่รัฐบาลไทยมีนโยบายเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศอย่างเสรี ตัวอย่างกิจการอื่นๆ ที่มีต่างชาติเป็นเจ้าของและดำเนินการ เช่น ธุรกิจพลังงาน และธุรกิจการเงินการธนาคาร (โรงกลั่นน้ำมัน 3 ใน 5 โรงกลั่นของไทยเป็นของต่างชาติ) (ต้องการข้อมูลสนับสนุน โรงกลั่นน้ำมัน 3 โรง อะไรบ้าง ใครถือหุ้นอยู่เท่าไร ตั้งแต่เมื่อไร ธุรกิจการธนาคาร อะไรบ้าง ใครถือหุ้นอยู่เท่าไร เมื่อไร)

ไร้สติ 18:59, 30 มกราคม 2006 (UTC)

คณไร้สติ หากจะเรียบเรียงใหม่ก็ทำให้จบด้วย ผมเบื่อที่จะแก้ไขแล้ว แต่โทนการเขียน ต้องออกมาประมาณที่คุณหรือผมแก้นี่แหละ ไม่อยางนั้นคงยอมรับได้ยาก

~~

ไม่ได้เรียบเรียงอะไรมาก เพียงตัดส่วนคำพูด วิเคราะห์ ชี้นำ เพิ่มสีสรร ออกให้มากที่สุด ให้เหลือเพียงแต่ว่า เกิดอะไรขึ้นบ้าง ส่วนที่เป็นสีส้ม คือ เห็นว่าต้องมีแหล่งข้อมูลสนับสนุน ที่เชื่อถือได้ ถ้าไม่เช่นนั้นก็เป็นเพียงคำกล่าวลอยๆ ถ้าใครมีข้อมูลก็ช่วยเติมลงไปด้วย ถ้าไม่มีข้อความตรงนั้นก็ไม่น่าจะเหมาะที่จะใส่ลงไปในเนื้อหา เท่านั้นเอง รอฟังความคิดเห็นจากคนอื่นๆ ก่อน ว่ามีอะไรควรจะแก้ไขอีก จะได้แก้ทีเดียวแล้วค่อยใส่กลับเข้าไปในหน้าบทความ ไร้สติ 19:40, 30 มกราคม 2006 (UTC)


ยังไม่ได้อ่านทั้งหมดละเอียด ๆ นะครับ แค่ผ่าน ๆ แต่ขอชี้แจงก่อนว่า ที่ได้ย้าย หมายเหตุ ของคุณ 131.* ออกมาไว้ที่หน้าพูดคุยนี้เป็นการชั่วคราวก่อนนั้น เพราะว่าผมได้เรียบเรียงย่อหน้าที่อ้างมาที่หมายเหตุใหม่ เป็นเหตุให้บริบทที่หมายเหตุอ้างไปหานั้นไม่สอดคล้องกัน (อย่างที่ได้แจ้งไปแล้วด้านบน ตั้งแต่ย้ายออกมาทีแรก) จึงขอย้ายออกมาชั่วคราวก่อน เพื่อรอการเพิ่มกลับลงไปในบริบทที่เหมาะสม ไม่ได้มีเจตนาจะย้ายออกมาเป็นการถาวรแต่อย่างใด (ไม่เช่นนั้นผมก็คงไม่ย้าย คงจะแก้ทับไปเลย) แต่ถ้าเกิดการกระทำนี้ ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือไม่พอใจเกิดขึ้นกับใคร ผมก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ และขอขอบคุณทุกคน (รวมทั้งคุณ 131.*) ที่ช่วยกันแก้เพิ่มกลับเข้าไปในบริบทที่เหมาะสมด้วยครับ

-- bact' คุย 20:56, 30 มกราคม 2006 (UTC)


และถ้าเกิดสามารถนำเนื้อหาในหมายเหตุที่ว่า ไปใส่ให้เป็นเนื้อเดียวกับเนื้อหาหลัก ได้โดยไม่ทำให้อ่านแล้วขัด ก็คิดว่าจะดีมากครับ (คือไม่จำเป็นต้องทำเป็นหมายเหตุก็ได้)

+ ขอแก้ตรงนี้หน่อย

"... พรบ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม นั้น รัฐบาลต้องออกตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก ซึ่งมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ... "

"... พรบ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม นั้น รัฐบาลต้องออกตามข้อตกลงที่ได้ทำไว้กับองค์การการค้าโลกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ... "

ส่วนข้อมูลตัวเลขผู้ถือหุ้น ผมนำมาจาก หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 24 และ 25 มกราคม 2549 นะครับ ยังไงก็ช่วยกันตรวจสอบด้วย

สำหรับชื่อบุคคล ในส่วนที่เป็นยศ ตามหลักการเขียนโดยทั่วไปที่พบ (และในวิกิพีเดีย) แล้ว ให้ใส่เป็นตัวย่อ และเมื่อกล่าวถึงครั้งแรกให้ใส่ทั้งชื่อและนามสกุล ส่วนครั้งต่อ ๆ มา ให้ละนามสกุลได้

-- bact' คุย 21:09, 30 มกราคม 2006 (UTC)



ทดลองแบ่งประโยคและแก้เพิ่มให้อ่านง่ายขึ้น (จากเวอร์ชันคุณ 131 + ไร้สติ + bact) ตัวหนาคือส่วนที่ผมทำ -- จุง 04:00, 31 มกราคม 2006 (UTC)


ประเด็นการขายหุ้นของ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรนี้ ฝ่ายตรงข้ามได้นำมาโจมตี อย่างรุนแรง ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ว่าใช้อำนาจเพื่อเอื้อต่อผลประโยชน์ต่อครอบครัว โดยนำไปเชื่อมโยงกับ พ.ร.บ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548ที่ประกาศใช้ก่อนการประกาศขายหุ้นอย่างเป็นทางการเพียงสองวัน โดยพ.ร.บ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548 ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 20 มกราคม 2549 ส่วนการประกาศการขายหุ้นอย่างเป็นทางการของครอบครัวชินวัตรเกิดขึ้นในวันที่ 23 มกราคม 2549. (อนึ่ง มีข่าวการเจรจาขายหุ้นของครอบครัวชินวัตรออกมาก่อนหน้านี้ในเดือนธันวาคม 2548 แต่ยังไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการ) -- ??อ้างอิง?

สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้คือ การขยายสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติในบริษัทที่ประกอบกิจการโทรคมนาคม รวมทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่ จากไม่เกิน 25% เป็นไม่ถึง 50% และให้ยกเลิกสัดส่วนกรรมการบริษัทที่ต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ออกทั้งหมด ซึ่งผู้วิจารณ์มองว่าสอดคล้องกับการที่ ครอบครัวชินวัตรและดามาพงศ์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ในชินคอร์ป ขายหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ จำนวน 49.595% ให้กับบริษัทเทมาเส็กของสิงคโปร์ ผ่านบริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ (บริษัทถือหุ้นแทน). โดย อนึ่ง การที่ต้องขาย ผ่านบริษัทโฮลดิ้งส์ (บริษัทถือหุ้นแทน) นั้น ก็เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้บริษัทที่ชินคอร์ปถือหุ้นอยู่ มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติเกิน 49% นั่น คือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส) บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) (ชินแซท) และ บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) (ไอทีวี) มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติเกิน 49% เนื่องจากสามบริษัทดังกล่าวนี้ มีผู้ถือหุ้นต่างชาติจำนวนหนึ่งอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว.

แต่ข้อเท็จจริงคือ อย่างไรก็ตามมีการชี้ให้เห็นถึงข้อเท็จจริงต่อคำวิพาษ์วิจารณ์นี้ว่า ต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ จึงมีการชี้ให้เห็นถึงข้อเท็จจริงที่ว่า พรบ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม นั้น รัฐบาลต้องออกตามข้อตกลงที่ได้ทำไว้กับองค์การการค้าโลกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ในยุครัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ก่อนหน้านี้ ??อ้างอิง?? โดยประเทศไทยจะต้องเปิดเสรีรับการลงทุนจากต่างประเทศภายในระยะเวลา 8 ปี และรัฐบาลได้ดำเนินการออกกฎหมายฉบับนี้ โดยส่งเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ??อ้างอิง?? ก่อนหน้าครอบครัวชินวัตรและดามาพงศ์จะตัดสินใจดำเนินการขายหุ้นถึง 2 ปี ดังนั้น เมื่อการเจรจาขายหุ้นเกิดขึ้นในปลายปี 2548 ซึ่งดำเนินเนินการหลังจากฎหมายได้ผ่านรัฐสภาไปแล้วกำลังอยู่ในขั้นตอนการรอลงพระปรมาภิธัย (ต้องการข้อมูลสนับสนุน การเจรจาซื้อขาย กับใคร เมื่อไร แหล่งอ้างอิง) ผู้เจรจาทั้งสองฝ่ายต่างก็ทราบสาระสำคัญของกฎหมายอยู่แล้วจึง และทำการประกาศการตกลงภายหลังกฎหมายมีการประกาศใช้เพียง 2 วัน

อีกประเด็นหนึ่งที่ฝ่ายตรงข้ามพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรหยิบยกขึ้นมาโจมตีคือ ส่วน กรณีบริษัทไอทีวี ซึ่งเป็นกิจการสื่อสารมวลชน หากมีผู้ถือหุ้นเป็นชาวต่างชาติเกินครึ่งหนึ่ง จะขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 39 วรรคห้า ซึ่งบัญญัติไว้ว่า ”เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” ซึ่งประเด็นนี้หาได้เกี่ยวข้องกับ การขายหุ้นของตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ ที่ขายหุ้นของตนออกไปอย่างสุจริตไม่ แต่ผู้ถือหุ้นใหม่ ซึ่งในการซื้อขายหุ้น หากปริมาณหุ้นของผู้ถือหุ้นใหม่นั้น หากขัดต่อกฎหมาย ผู้ถือหุ้นใหม่ก็จะต้องขายหุ้นของตนออกไป ไม่สามารถถือครองไว้ได้ (แต่กฎหมายไม่ได้ห้ามว่าจะขายไม่ได้ เพียงแต่ห้ามว่าไม่อาจถือกรรมสิทธิ์ต่อไปได้)

ประเด็นอื่นๆ คือ มีผู้เกรงกันว่าการเปลี่ยนมือของผู้ถือหุ้นครั้งนี้จะทำให้ต่างชาติเข้ามามีอิทธิพลต่อกิจการโทรคมนาคมของประเทศเนื่องจาก บริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของประเทศทั้งสองบริษัทคือ เอไอเอส (ชินคอร์ปถือหุ้น 42.8%, สิงเทล (สิงคโปร์) 19.2%) และชินแซท (ชินคอร์ป 51.38%) (ต้องการแหล่งอ้างอิงข้อมูล ข้อมูลการถือหุ้น วันที่) ต้องตกอยู่ภายใต้การบริหารงานของต่างชาติ แต่กรณีเช่นนี้ก็เกิดขึ้นมานานแล้วตั้งแต่รัฐบาลไทยมีนโยบายเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศอย่างเสรี ตัวอย่างกิจการอื่นๆ ที่มีต่างชาติเป็นเจ้าของและดำเนินการ เช่น ธุรกิจพลังงาน และธุรกิจการเงินการธนาคาร (โรงกลั่นน้ำมัน 3 ใน 5 โรงกลั่นของไทยเป็นของต่างชาติ) (ต้องการข้อมูลสนับสนุน โรงกลั่นน้ำมัน 3 โรง อะไรบ้าง ใครถือหุ้นอยู่เท่าไร ตั้งแต่เมื่อไร ธุรกิจการธนาคาร อะไรบ้าง ใครถือหุ้นอยู่เท่าไร เมื่อไร) -- จุง 04:17, 31 มกราคม 2006 (UTC)

ผมว่าผมก็โอเคแล้ว เอาเวอร์ชั่นคุณไร้สติแก้ไข หรือที่คุณจุงแก้ต่อมาหรือ bact เพิ่มเติมคำเชื่อมประโยคไม่ให้ขาดตอน แต่สาระคงเป็นประมาณนี้แหละ131.227.231.92

โอเค งั้นผมเอาเวอร์ชันที่ผมแก้ลงไปก่อนนะครับ ส่วนเนื้อหาส่วนที่คุณไร้สติมาร์กไว้ว่าต้องการเอกสารอ้างอิงก็จะระบุไว้ว่า [หมายเหตุ: ต้องการเอกสารอ้างอิง] รบกวนผู้ใช้ท่านอื่นตรวจสอบเพิ่มเติมด้วยครับ -- จุง 11:26, 31 มกราคม 2006 (UTC)
กลับไปที่หน้า "การขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ป/กรุ 1"