สเตรตัส (อังกฤษ: stratus) เป็นเมฆสีเทาไม่มีรูปร่างแน่นอน แผ่ขยายปกคลุมทั่วท้องฟ้าและบดบังแสงอาทิตย์ ได้ชื่อมาจากภาษาละติน stratus ที่แปลว่า เป็นชั้น[1] สเตรตัสมีอักษรย่อคือ St และสัญลักษณ์

เมฆสเตรตัส

สเตรตัสเป็นหนึ่งในเมฆระดับต่ำร่วมกับคิวมูโลนิมบัส คิวมูลัสและสเตรโตคิวมูลัส ก่อตัวในชั้นโทรโพสเฟียร์ที่ระดับพื้นโลกจนถึง 1,200 ฟุต (400 เมตร) เกิดจากไอน้ำในอากาศอุ่นพบกับอากาศที่เย็นกว่าบริเวณพื้นดิน ทำให้เกิดการควบแน่นกลายเป็นก้อนเมฆ[2] สเตรตัสสามารถจำแนกเป็นเมฆย่อยได้สองชนิด ได้แก่ สเตรตัส เนบูโลซัส (stratus nebulosus) เป็นเมฆสเตรตัสที่พบได้บ่อยที่สุด ก่อให้เกิดฝนละออง แต่เป็นสัญญาณของสภาพอากาศที่เสถียร[3] และสเตรตัส แฟรกตัส (stratus fractus) เป็นเมฆที่มีลักษณะขาดวิ่นเนื่องจากแยกตัวจากเมฆสเตรตัสหลัก มักก่อตัวใต้เมฆฝน เช่น นิมโบสเตรตัสหรือคิวมูโลนิมบัส[4][5]

สเตรตัสมีลักษณะคล้ายหมอก ซึ่งเกิดจากการควบแน่นของไอน้ำในอากาศแล้วลอยต่ำในระดับต่ำ ทำให้บางครั้งถือว่าสองปรากฏการณ์นี้เป็นปรากฏการณ์เดียวกัน แต่ต่างกันที่ระดับความสูง กล่าวคือ สเตรตัสก่อตัวเหนือระดับพื้นดินหลายร้อยเมตร ในขณะที่หมอกก่อตัวระดับเดียวกับพื้นดิน[6][7] สเตรตัสก่อให้เกิดฝนหรือหิมะตกปรอย ๆ แต่หากที่พื้นดินมีความชื้นสะสม สเตรตัสอาจกลายสภาพเป็นนิมโบสเตรตัส เมฆฝนที่ไม่ก่อให้เกิดพายุฟ้าคะนอง[8]

อ้างอิง แก้

  1. "Definition of stratus". Dictionary.com. สืบค้นเมื่อ September 12, 2019.
  2. "Stratus clouds - A blanket of cloud - Weather science". Quatr.us. February 11, 2019. สืบค้นเมื่อ September 12, 2019.
  3. 10000+ Objective MCQs with Explanatory Notes for General Studies UPSC/ State PCS/ SSC/ Banking/ Railways/ Defence. New Delhi, India: Disha Publications. 2019.
  4. Eyewitness Companions: Weather: Forecasting, Weather Phenomena, Climate Change, Meteorology. London, United Kingdom: Penguin. 2008. p. 89. ISBN 9780756651022.
  5. "Stratus clouds". Met Office. สืบค้นเมื่อ September 12, 2019.
  6. Deziel, Chris (August 9, 2018). "What Are Some Interesting Facts about Stratus Clouds?". Sciencing. สืบค้นเมื่อ September 12, 2019.
  7. "Stratus". SKYbrary Aviation Safety. สืบค้นเมื่อ September 12, 2019.
  8. Puiu, Tibi (July 8, 2017). "The types of clouds: everything you need to know". ZME Science. สืบค้นเมื่อ September 12, 2019.