วิดีโอเกมในประเทศไทย

วิดีโอเกมเป็นอุตสาหกรรมที่กำลังรุ่งเรืองในประเทศไทย ประเทศไทยเป็นตลาดวิดีโอเกมที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 23 ในปัจจุบัน มีรายได้ 338 ล้านดอลลาร์สหรัฐใน พ.ศ. 2558 สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[1]

การเติบโต แก้

วแลด มิคู จากวีจีวิชันนารี และวินโดวส์โฟนแฟนส์ดอตคอม เคยกล่าวใน พ.ศ. 2555 ว่า อุตสาหกรรมวิดีโอเกมในประเทศไทยกำลังรุ่งเรือง ส่วนใหญ่มาจากร้านค้าโปรแกรมประยุกต์หลายแห่งและความสนใจลงทุนในประเทศไทยของนักลงทุนต่างชาติมีเพิ่มขึ้น หลังจากสังเกตเห็นว่าเกมไทยหลายเกมกำลังมีฐานมั่นคงอย่างช้า ๆ ในตลาดต่างประเทศ มิคู กล่าวว่า "สตูดิโอเกมไทยจำนวนมากกำลังมีกำลังผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพสำหรับผู้เล่นทั่วโลก"[2] ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 โซนี่เริ่มผลิตสมาร์ตโฟนระดับพรีเมียมในประเทศไทย เป็นโรงงานผลิตโทรศัพท์มือถือต่างประเทศแห่งแรกในรอบ 20 ปีของบริษัท โซนีตั้งเป้าหมายว่าจะผลิตสมาร์ตโฟนระดับพรีเมียมให้ได้ 600,000 ถึง 700,000 เครื่องในปีแรก[3]

ใน พ.ศ. 2558 ทั้งนิวซู และนิโคพาร์ตเนอส์ กล่าวว่าได้คาดหวังการเติบโตของรายได้วิดีโอเกมในประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปีต่อ ๆ ไป[1][4] ในปี 2562 มีสถิติระบุว่าตลาดวิดีโอเกมไทยมีมูลค่า 22,000 ล้านบาท คิดเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน เติบโตจากปีก่อนร้อยละ 13[5] ส่วนในปี 2564 ประเทศไทยมีผู้ผลิตบนกูเกิลเพลย์ 531 ราย และมีวิดีโอเกมไทยบนแพลตฟอร์มนั้น 1,684 เกม อีกทั้งประมาณการว่ามีเกมเมอร์ในประเทศไทยประมาณ 27 ล้านคน[6] ด้านสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีปา) คาดการณ์ว่าในปีดังกล่าวตลาดจะมีขนาด 33,000 ล้านบาท[7] อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าการเติบโตของวิดีโอเกมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเติบโตช้าลงตั้งแต่ปี 2565 เนื่องจากจำนวนผู้เล่นใหม่ลดลง[8]

นอกจากการขาดการสนับสนุนจากภาครัฐแล้ว ธนานนท์ ปฏิญญาศักดิกุล วิศวกรคอมพิวเตอร์และยูทูบเบอร์ ยังเคยแสดงความคิดเห็นว่า ปัญหานักวิ่งเต้นตัดโอกาสคนมีความสามารถ ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ขัดขวางการเติบโตของวงการวิดีโอเกมไทย[9] ในปี 2563 มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมาธิการศึกษาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกม (Software Game) และอีสปอร์ต (E-Sport) โดยมีโฟกัส จีระกุลและนายิกา ศรีเนียนร่วมเป็นที่ปรึกษาด้วย[10][11]

การแข่งขันอีสปอร์ตเริ่มแพร่หลายมากขึ้น เช่น ทัวร์นาเมนต์ระดับมหาวิทยาลัย AIS 5G eSports U-League[12] และนายกสมาคมกีฬาอีสปอร์ตแห่งประเทศไทยมีมติเตรียมจัดลีกอาชีพ DOTA2 Thailand PRO Legaue เริ่มในปี 2564[13]

ด้านชัชชัย หวังวิวัฒนา จากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มองว่าอาชีพสตรีมเมอร์เป็นอาชีพที่มีอัตราเติบโตสูงและมีโอกาสสร้างรายได้หลักแสนบาทต่อเดือน แต่สตรีมเมอร์ชาวไทยส่วนใหญ่ยังเป็นมือสมัครเล่น ยังขาดความรู้และทักษะในการประกอบธุรกิจ[14] สำหรับสตรีมเมอร์ และ/หรือ วิดีโอเกมแคสเตอร์ชาวไทยที่มีชื่อเสียง เช่น Zbing z. (ซีบิ๊ง) และ Heartrocker (ฮาร์ตร็อกเกอร์)[15]

ผู้ผลิต แก้

ตัวอย่างวิดีโอเกมสัญชาติไทยที่มีชื่อเสียง เช่น ไทม์ลาย (2563), โฮมสวีตโฮม[16], อสุรา, คิงดัมส์รีบอร์น[17]

ในปี 2564 กลุ่มผู้ผลิตวิดีโอเกมสัญชาติไทยรวมตัวกันก่อตั้ง "สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย" (Thai Game Software Industry Association)[18] ดีปาริเริ่มโครงการเพื่อส่งเสริมผู้พัฒนาวิดีโอเกมสัญชาติไทย โดยได้รับความร่วมมือจากนินเทนโด[19]

บริษัทต่าง ๆ แก้

ประเทศไทยมีบริษัทเกมอย่างเอเชียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น หนึ่งในบริษัทเกมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วง พ.ศ. 2533-2542 บริษัทตั้งเป้าหมายลดราคาวิดีโอเกมในประเทศไทยขณะทำการประเมินเพื่อให้มั่นใจว่าวิดีโอเกมไม่ "รั่วไหล" ไปภูมิภาคอื่น เพื่อรับมือกับการละเมิดลิขสิทธิ์วิดีโอเกม เนื่องจากตลาดเปลี่ยนแปลงไปแล้วและเกมออนไลน์กลายเป็นตลาดขนาดใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียซอฟท์เริ่มจำหน่ายเกมออนไลน์แบบเล่นตามบทบาท เช่น เวิลด์ออฟวอร์คราฟต์ ของบลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ในประเทศ ใน พ.ศ. 2547 บริษัทขยายตัวไปถึงประเทศสิงคโปร์ และภายใน พ.ศ. 2557 บริษัทในสำนักงาน 6 แห่งในหลายประเทศ[20]

ดี บัสซ์ บริษัทนักพัฒนาวีดีโอเกมสัญชาติไทย ที่ผลิตวีดีโอเกมสำหรับพีซีและมือถือ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2542[21] และ เกมอินดี้ บริษัทผู้ให้บริการและจัดจำหน่ายวีดีโอเกม ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2552[22]

สนุกเกมส์ เริ่มพัฒนาวิดีเกมสำหรับคอนโซล เกมมือถือ และอุปกรณ์มือถือเมื่อ พ.ศ. 2546 บริษัทมีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร เปิดสำนักงานจัดจำหน่ายในแคว้นโรนาลป์ ประเทศฝรั่งเศส[23]

ประเด็นถกเถียง แก้

ใน พ.ศ. 2551 เกมแกรนด์เธฟต์ออโต 4 เป็นประเด็นถกเถียงในประเทศไทยหลังจากเด็กนักเรียนมัธยมปลาย อายุ 18 ปีคนหนึ่งแทงคนขับรถแท็กซี่เสียชีวิต เด็กอายุ 18 ปีสารภาพว่าขโมยรถแท็กซี่และฆ่าคนขับรถอายุ 54 ปีหลังจากเขาต่อสู้กลับ ต่อมากล่าวว่า "การฆ่าคนในเกมนั้นง่าย" ต่อมา เกมดังกล่าวที่ผลิตจากสหรัฐอเมริกาถูกห้ามจำหน่ายในประเทศไทย[24][25]

หลังจากรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติสั่งห้ามจำหน่ายวิดีโอเกม ทรอปิโก 5 ซึ่งผู้เล่นสามารถเป็นผู้เผด็จการในรัฐที่เป็นเกาะ นงลักษณ์ สหวัฒนพงศ์ ผู้จัดการฝ่ายขายของนิวอีราไทยแลนด์ กล่าวว่า "บางส่วนของเนื้อเรื่องในเกมกระทบสถานการณ์ในประเทศไทย" และแม้ว่านงลักษณ์จะรู้สึก "ผิดหวัง" กับการตัดสินใจครั้งนี้ บริษัทจำต้องปฏิบัติตามคำสั่งห้าม[26][27]

ในเดือนธันวาคม 2563 บริษัทอีสปอร์ตและเอเจนซี ชื่อ แฮชแท็กอีสปอร์ต ตกเป็นข่าวเมื่อมีสตรีมเมอร์ในสังกัดออกมาประกาศว่ามีเจ้าของบริษัทคนหนึ่งมีพฤติกรรมคุกคามทางเพศหญิงในบริษัทตนเอง จนต้องปิดตัวลง[28]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Brightman, James (2015-10-15). "China now leads the world in game revenues - Newzoo". Newzoo's Top 100 Countries by Game Revenues. Gamesindustry.biz.
  2. Micu, Vlad (2012-08-13). "6 Games Made By Thai Game Studios You Need To Try". Techasia.
  3. Reuters (2015-11-06). "Sony starts making premium smartphones in Thailand". Tech2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-09. สืบค้นเมื่อ 2016-03-12.
  4. Gaudiosi, John (2015-02-05). "In search of growth, video game companies hungrily eye Southeast Asia". Fortune.
  5. Katchwattana, Praornpit (29 October 2019). "รับสถิติใหม่ 'ตลาดเกมไทย' โต 2.2 หมื่นล้านบาท ด้วยมาตรการดันอุตสาหกรรมเกม". Salika. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
  6. "Thai Gaming Startups And Trends For 2021". Thailand Business News. 28 February 2021. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
  7. "ดีป้า คาด อุตฯเกมไทยปี 64 ทะลุ 3.3 หมื่นล้าน". ทีเอ็นเอ็น. 16 February 2021. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
  8. "ตลาดเกมมือถือในไทย คนไทยไม่ค่อยเสียเงินเท่าไรนะ". marketeeronline.com. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
  9. "โปรแกรมเมอร์ดัง แฉ ปัญหานักล็อบบี้ ทำอีสปอร์ตไทยไม่โต คนรันวงการไม่ได้โอกาส". มติชนออนไลน์. 8 December 2020. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
  10. "เปิดตัวอนุ กมธ.อีสปอร์ต หวังภาครัฐหนุนตรงจุด ดึง "โฟกัส" นั่งที่ปรึกษา". ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
  11. "'แคน นายิกา' เปิดใจจากชีวิตไอดอลสู่ชีวิตในสภา หลังประเดิมนั่งที่ปรึกษาอนุกมธ.อีสปอร์ต". มติชนออนไลน์. 9 December 2020. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
  12. "ปิดฉาก AIS U-League 2020 "ม.นเรศวร" ยืนหนึ่ง ROV "เกษตรศาสตร์" คว้าแชมป์ FIFA Online และ Minecraft". ผู้จัดการออนไลน์ (ภาษาอังกฤษ). 4 March 2021. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
  13. "ลีกอาชีพอีสปอร์ตเตรียมเบิกร่องเกมแรกด้วย"DOTA2"". สยามสปอร์ต. 19 February 2021. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
  14. "'สตรีมเมอร์' อาชีพคนรุ่นใหม่ รายได้หลักแสน". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
  15. ""Zbing z." แท็กทีม "Heartrocker" คว้ารางวัลสตรีมเมอร์แห่งปีจากงาน Super Gamer Fest 2020". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
  16. "Home Sweet Home Survive เกมคนไทย หวังเป็นที่หนึ่งในเอเชีย". ไทยรัฐ. 13 February 2021. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
  17. "Kingdoms Reborn ผลงานเกมชาวไทยที่พัฒนาเพียงคนเดียวในเวลา 3 ปี". gamingdose. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
  18. "วงการเกมไทย ก้าวไปอีกขั้น! สมาคม TGA เปิดตัวใหม่ Rebranding ที่พร้อมผลักดันเกมไทยสู่สากล". gamingdose. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
  19. ""ดีป้า"เปิดโปรแกรมปั้นผู้พัฒนาเกมไทยสู่เวทีโลก". เดลินิวส์. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
  20. Lee, Mary-anne (2014-11-06). "How Asiasoft went from moving educational games to being one of SEA's largest publishers". TechinAsia.
  21. "ข้อมูล บริษัท เกมอินดี้ จำกัด".
  22. "ข้อมูล บริษัท เกมอินดี้ จำกัด".
  23. "About Us". Sanuk Games.
  24. "Grand Theft Auto blamed over Thai taxi driver murder". the Telegraph. 2008-08-04.
  25. Reed, Jim (2008-08-04). "Thailand bans Grand Theft Auto IV". BBC News.
  26. Fourquet, Laure (2014-08-05). "Tropico 5 video game banned in Thailand". The Independent.
  27. Shreier, Jason (2014-08-04). "Military-Ruled Thailand Bans Game About Military Rule". Kotaku.
  28. "สรุปเรื่องฉาววงการเกม หลังแฉอนาจารสาวในสังกัด สู่การยุบค่ายสตรีมดัง". ข่าวสด. 13 December 2020. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.