มูลค่าส่วนเกิน (อังกฤษ: Surplus value) เป็นแนวคิดหลักในบทวิจารณ์เศรษฐศาสตร์การเมืองของคาร์ล มากซ์ ในหนังสือของเขาเขียนคำนี้เป็นภาษาเยอรมันว่า แมร์แวร์ท (เยอรมัน: Mehrwert) ซึ่งแปลได้อย่างง่ายว่า "มูลค่าเพิ่ม" แม้ว่ามูลค่าเพิ่มจะมีนิยามของตัวมันเองหมายถึงมวลของรายได้ค่าแรงรวมกับรายได้กำไรรวม แต่มากซ์ได้ใช้คำนี้ในทางที่ต่างไป เนื่องจาก แมร์แวร์ท ในแนวทางของมากซ์หมายถึงผลกำไรหรือผลตอบแทนจากการผลิตที่ได้ลงทุนไป นั่นคือมูลค่าทุนที่เพิ่มขึ้น เช่นนั้นแล้ว มากซ์ได้ใช้ เมียร์แวร์ท ในความหมาย "มูลค่าส่วนเกิน" คนละความหมายกับ "มูลค่าเพิ่ม" ตามทฤษฎีของมากซ์นั้น มูลค่าส่วนเกินจะเท่ากับมูลค่าแรงงานที่ถูกสร้างขึ้นมาเกินไปจากต้นทุนที่ตัวแรงงานได้รับ เป็นวิธีของนายทุนที่จะแสวงหากำไรจากการขายสินค้า[1][2]

อธิบายด้วยสมการ แก้

มูลค่าส่วนเกินอาจอธิบายได้ด้วยสมการ:

โดยที่

  • มูลค่าของสินค้าแต่ละหน่วย
  • มูลค่าของปัจจัยทุนในสินค้าแต่ละหน่วย อันได้แก่มูลค่าที่เกิดจากต้นทุนหรือวัตถุดิบที่ใช้ในขั้นตอนการผลิตในช่วงเวลาหนึ่ง
  • มูลค่าพลังแรงงานที่ระดับต้นทุนแรงงานในสินค้าแต่ละหน่วย
  • มูลค่าพลังแรงงานส่วนเกินในสินค้าแต่ละหน่วย

ตัวอย่างเช่น แรงงานคนหนึ่งได้รับว่าจ้างหนึ่งชั่วโมงแลกกับค่าแรง 300 บาท นายจ้างให้เขาควบคุมเครื่องจักรผลิตรองเท้าซึ่งทุก ๆ สิบห้านาทีจะผลิตรองเท่าหนึ่งคู่ที่สามารถขายในตลาดได้ 300 บาท ดังนั้นในหนึ่งชั่วโมง นายทุนจึงได้รับรองเท้า 4 คู่ คิดเป็นมูลค่ารวม 1200 บาทโดยที่รองเท้าสี่คู่นี้มีปัจจัยทุน (หนัง เชือก ค่าเสื่อมของเครื่องจักร) อยู่จำนวน 600 บาท

ดังนั้นแล้วมูลค่าปัจจัยแรงงานที่ถ่ายทอดไปยังรองเท้าหนึ่งคู่เป็น บาท และมูลค่าปัจจัยทุนที่ถ่ายทอดไปยังรองเท้าหนึ่งคู่เป็น บาท ทำให้นายทุนได้รองเท้าซึ่งมีมูลค่า บาท ด้วยต้นทุนเพียง 225 บาท ส่วนที่เกินมา บาทจึงกลายเป็นกำไรของนายทุน กำไรที่เกิดขึ้นตรงนี้เกิดจากแรงงานทำงานเกินเวลาให้กับนายทุน ด้วยค่าจ้าง 300 บาทเขาควรจะทำงานให้นายจ้างแค่ครึ่งชั่วโมงซึ่งได้รองเท้าเพียงสองคู่

อธิบายด้วยมูลค่าแรงงาน แก้

มูลค่าส่วนเกินอาจอธิบายได้ด้วยสมการของทฤษฎีมูลค่าแรงงาน กลายเป็นสมการ:

โดยที่

  • คือมูลค่าพลังแรงงานทั้งหมดที่ใช้ในการผลิต

อ้างอิง แก้

  1. Marx, The Capital, Chapter 8
  2. "...It was made clear that the wage worker has permission to work for his own subsistence—that is, to live, only insofar as he works for a certain time gratis for the capitalist (and hence also for the latter's co-consumers of surplus value)..." Karl Marx, Critique of the Gotha Programme. Sec.II