ทฤษฎีมูลค่าแรงงาน

ทฤษฎีมูลค่าแรงงาน (อังกฤษ: Labor theory of value) เป็นทฤษฎีเศรษฐศาสตร์นอกหลักการว่าด้วยมูลค่าแรงงาน อธิบายว่าทุกสิ่งไม่สามารถสร้างมูลค่าได้ด้วยตัวมันเองหากปราศจากการลงแรงของมนุษย์ มูลค่าทางเศรษฐกิจของสินค้าและบริการนั้น ไม่ได้ถูกกำหนดตามความพอใจของผู้ขาย แต่สามารถวัดได้ในขั้นตอนการผลิตโดยวัดจากชั่วโมงการทำงานของกรรมกรที่ระดับจำเป็น แนวคิดนี้เป็นที่ถกเถียงของนักเศรษฐศาสตร์สำนักมาคส์มาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าแนวคิดนี้จะเคยถูกยกขึ้นมาเสนอก่อนหน้านั้นแล้วโดยนักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม อาทิ อดัม สมิธ และ เดวิด ริคาร์โด

นิยามของมูลค่าแรงงาน แก้

เมื่อกล่าวถึงความหมายของมูลค่าแรงงาน มูลค่า นั้นหมายถึง จำนวนชั่วโมงการทำงานอันจำเป็น (บางตำราคือ เวลาทำงานอันจำเป็นทางสังคม Socially-necessary labour-time) ในการผลิตสินค้าและบริการขึ้นมา ซึ่งทั้งเดวิด ริคาร์โด[1] และคาร์ล มาคส์ ได้พยายามจะอธิบายกิจกรรมเชิงแรงงานทั้งหมดที่เป็นนามธรรมให้เป็นจำนวนเชิงรูปธรรมขึ้นมา เพื่อที่จะพัฒนาทฤษฎีราคาที่แท้จริงหรือราคาโภคภัณฑ์ธรรมชาติ[2] ในขณะที่ทฤษฎีมูลค่าแรงงานของอดัม สมิธ ไม่ได้ต้องการจำนวนเชิงรูปธรรมเหล่านั้นเลย ทฤษฎีของสมิธนั้นใกล้เคียงกับทฤษฎีอรรถประโยชน์ (Utility theory) ที่เขาได้อธิบายไว้ว่า โภคภัณฑ์นั้นมีค่าเท่ากับอะไรก็ตามที่ถูกแรงงานเอาไปแลก (มูลค่าแลกเปลี่ยน) หรือเท่ากับอะไรก็ตามที่ถูกแรงงานเก็บรักษาไว้เพื่อบริโภคเอง (มูลค่าใช้สอย) หรือหมายถึงทั้งสองอย่าง ซึ่งมูลค่านี้เองที่ทำให้เกิดอุปสงค์และอุปทานในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง

มูลค่าแรงงานถูกอธิบายไว้ด้วยสมการ:

 
โดยที่
  •   คือมูลค่าของปัจจัยทุน อันได้แก่มูลค่าที่เกิดจากต้นทุนหรือวัตถุดิบที่ใช้ในขั้นตอนการผลิตในช่วงเวลาหนึ่ง
  •   คือจำนวนเวลาที่แรงงานใช้ในการเตรียมและผลิต (เวลาเฉลี่ยของแรงงานที่ผลิตสิ่งเดียวกันทั้งระบบ) จนสินค้าหรือบริการเสร็จสมบูรณ์ มักมีหน่วยเป็นชั่วโมงการทำงาน
  •   คือมูลค่าของสินค้าที่ออกมา ณ เวลานั้น

ตัวอย่าง; มูลค่า (W) ของไข่เจียว 1 ฟอง ประกอบด้วยมูลค่าของทุน (c = ไข่ดิบ 1 ฟอง, ค่าแก็ส, ค่าเสื่อมกระทะ) กับมูลค่าแรงงาน (L = เวลาเฉลี่ยที่สังคมใช้ในการตีและเจียวไข่ 1 ฟอง) โดยเฉลี่ยแล้ว สังคมใช้เวลาในการตีและเจียวไข่ฟองละ 2 นาที แต่คนที่ใช้เวลาตีและเจียวไข่ 4 นาทีจะอ้างว่าไข่เจียวเขาจะต้องแพงกว่าไม่ได้ ต้องใช้มาตรฐานของสังคมมาเป็นตัวกำหนดมูลค่าแรงงาน เวลาโดยเฉลี่ยที่สังคมใช้ในการผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่งนี้เองที่เรียกว่า จำนวนชั่วโมงการทำงานอันจำเป็น

อ้างอิง แก้

  1. It is now interpreted that Ricardo's theory of value is not the labor theory of value, but the cost of production theory of value. See David Ricardo#Value theory
  2. e.g. see - Junankar, P. N., Marx's economics, Oxford : Philip Allan, 1982, ISBN 0-86003-125-X or Peach, Terry "Interpreting Ricardo", Cambridge: Cambridge University Press, 1993, ISBN 0-521-26086-8