พระเจ้ารามิโรที่ 1 แห่งอารากอน

รามิโรที่ 1 (สเปน: Ramiro I) สิ้นพระชนม์ 8 มีนาคม ค.ศ. 1063 หรือ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1069 ครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งอารากอนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1035 พระองค์เป็นบุตรชายนอกสมรสของพระเจ้าซันโชที่ 3 แห่งนาวาร์ ในช่วงที่พระบิดายังมีชีวิตอยู่ พระองค์บริหารปกครองอารากอนและได้รับแต่งตั้งเป็นกษัตริย์ตามพินัยกรรมของพระบิดา ในปี ค.ศ. 1045 พระองค์ผนวกดินแดนที่เป็นของกอนซาโล พระอนุชา หลังกอนซาโลสิ้นพระชนม์ ต่อมาพระเจ้ารามิโรพิชิตดินแดนส่วนหนึ่งมาจากชาวมัวร์และทำให้กษัตริย์ชาวมัวร์ของเฮวสกา, ซาราโกซา และเลริดายอมจ่ายบรรณาการให้พระองค์

จุลจิตรกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ของพระเจ้ารามิโร

พระราชประวัติ แก้

รามิโรเป็นบุตรชายนกสมรสของพระเจ้าซันโชที่ 3 แห่งปัมโปลนา (นาวาร์) กับซันชาแห่งอัยบาร์ ซึ่งเป็นภรรยาลับของกษัตริย์[1] ในช่วงรัชสมัยของพระบิดา พระองค์ได้เป็นสักขีพยานในกฎบัตรในปี ค.ศ. 1011 และได้รับพระราชทานที่ดินมากมายในเคาน์ตีอารากอน และในการแบ่งราชอาณาจักรหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าซันโชที่ 3 ในปี ค.ศ. 1035 รามิโรได้เคาน์ตีอารากอนโดยมีตำแหน่งเป็นเจ้าเมือง ซึ่งเป็นส่วนย่อยในนาวาร์และประเทศของชาวบาสก์ที่ตกเป็นของการ์เซีย พระเชษฐาคนโตต่างมารดา เคาน์ตีกัสตียาตกอยู่ในการครอบครองของเฟร์นันโด ขณะที่ซาบราร์เบและริบาโกร์ซาตกเป็นของกอนซาโล รามิโรได้ครองอารากอนภายใต้การปกครองของการ์เซีย

รามิโรหาทางขยายอาณาเขตด้วยการยึดดินแดนมาจากชาวมัวร์และการ์เซีย พระเชษฐาผู้เป็นกษัตริย์แห่งนาวาร์ หลังพระบิดาสิ้นพระชนม์ได้ไม่นาน พระองค์สนับสนุนเอมีร์แห่งตูเดลาให้รุกรานนาวาร์ แม้จะพ่ายแพ้ที่สมรภูมิตาฟายา แต่พระองค์ก็ได้ดินแดนมาเพิ่ม หนึ่งในนั้นคือซังเกวซา และสถาปนาตนเป็นรัฐกึ่งอิสระ ในปี ค.ศ. 1043 ทรงได้รับการอนุมัติจากพระเจ้าการ์เซียให้ผนวกซาบราร์เบและริบาโกร์ซาซึ่งก่อนหน้านั้นเป็นของกอนซาโล พระอนุชาที่เป็นพระโอรสตามกฎหมายคนสุดท้องของพระบิดา[2] การรวมตัวกันครั้งนี้ถือกำเนิดรัฐอิสระเทียมอารากอนที่มีเมืองหลวงอยู่ที่ฆากา ซึ่งต่อมาจะเติบโตเป็นราชอาณาจักรอารากอน

ก่อนอภิเษกสมรส พระเจ้ารามิโรมีภรรยาลับชื่อว่าอามูญญา ทั้งคู่มีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคน คือ ซันโช รามีเรซ[3] ที่ได้รับความไว้วางใจให้บริหารปกครองเคาน์ตีริบาโกร์ซา[4]

พระเจ้ารามิโรสิ้นพระชนม์ในสมรภูมิเกราส์ในปี ค.ศ. 1063 ด้วยพระชนมายุ 55 – 56 พรรษา ขณะกำลังพยายามยึดเมือง[5] ร่างของพระองค์ถูกฝังที่อารามซันฆวนเดลาเปญญาในซันตากรูซเดลาเซโรส

การอภิเษกสมรสและพระโอรสธิดา แก้

พระมเหสีคนแรกของพระเจ้ารามิโร คือ จิสแบร์กา บุตรสาวของแบร์นาด์แห่งบิกอร์เร อภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1036[6] หลังแต่งงานกับพระองค์ จิสแบร์กาเปลี่ยนชื่อเป็นเอร์เมซินดา ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกันห้าคน คือ

  • ซันโช รามีเรซ ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระองค์
  • การ์เซีย บิชอปแห่งฆากา
  • ซันชา แต่งงานกับอาร์เมนกอลที่ 3 แห่งอูเกลในปี ค.ศ. 1065
  • อูร์รากา แม่ชีในซันตากรูซเดลาเซโรส
  • เตเรซา แต่งงานกับกีโยม แบร์ทร็องด์แห่งโพรว็องส์

พระมเหสีคนที่สองของพระเจ้ารามิโร คือ อาแญ็ส (อิเนส) ซึ่งอาจะเป็นบุตรสาวของดยุคแห่งอากีแตน เท่าที่รู้ทั้งคู่ไม่มีพระโอรสธิดาด้วยกัน

ก่อนอภิเษกสมรส พระองค์มีบุตรชายนอกสมรสหนึ่งคนกับอามูญญาซึ่งเป็นภรรยาลับ คือ

  • ซันโช รามีเรซ เคานต์แห่งริบาโกร์ซา

อ้างอิง แก้

  1. The Crónica de Aragón, produced in 1499, names her Doña Caya, but she is named Sancha in a contemporary donation. Ballesteros y Beretta, v. 2, pp. 319–320.
  2. Ubieto Arteta, pp. 169–173
  3. Balaguer, 239–242
  4. Count Sancho Ramírez had a son, García, lord of Aybar and Atarés who in turn was father of Pedro de Atarés, lord of Borja, the initial candidate of the Navarre noblemen to succeed Alfonso the Battler. An origin legend of the house of Ayala gives Ramiro I another illegitimate son, Velasgutto de Ayala, by a Barcelona lady. However, this story is without solid foundation, and earlier versions of the legend make this Ayala founder, Vela, son of Ramiro's successor, Sancho Ramírez. Both may be confused memories of a feudal relationship of the early Ayalas with Sancho Ramírez of Viguera.
  5. Richard Fletcher, The Quest for El Cid, (Oxford University Press, 1989), 113.
  6. Bernard F. Reilly, The Contest of Christian and Muslim Spain 1031-1157, (Blackwell Publishers Inc., 1995), 71.