ตำบลบางตะบูน

ตำบลในอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย

บางตะบูน เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี มีพื้นที่ 29.32 ตารางกิโลเมตร จำนวนบ้าน 911 หลังคาเรือน

ตำบลบางตะบูน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Bang Tabun
สภาพทิวทัศน์ทางทะเลอ่าวบางตะบูน
สภาพทิวทัศน์ทางทะเลอ่าวบางตะบูน
คำขวัญ: 
ถิ่นทะเลงาม ฟาร์มหอยแครง ไข่เค็มแดง แหล่งกุลา ปูม้าสด กุเลาเลิศรส หอยเกาะหลัก แดนอนุรักษ์ป่าชายเลน
ตำบลบางตะบูนตั้งอยู่ในจังหวัดเพชรบุรี
ตำบลบางตะบูน
ตำบลบางตะบูน
พิกัด: 13°15′56.92″N 99°56′29.98″E / 13.2658111°N 99.9416611°E / 13.2658111; 99.9416611
ประเทศไทย
จังหวัดเพชรบุรี
อำเภอบ้านแหลม
พื้นที่[ต้องการอ้างอิง]
 • ทั้งหมด29.32 ตร.กม. (11.32 ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 76110
รหัสภูมิศาสตร์760706
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ภูมิศาสตร์ แก้

ตำบลบางตะบูน ถูกตั้งชื่อขึ้นตามต้นไม้ชายเลนชนิดหนึ่ง ชื่อ "ตะบูน" หรือ "กระบูน" ที่ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากในพื้นที่ของตำบลนี้ สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล สภาพดินเป็นดินเลน และมีลุ่มน้ำมาก "บางตะบูน" เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีความสำคัญมาแต่โบราณ เนื่องด้วยมีแม่น้ำบางตะบูนไหลผ่านซึ่งลำน้ำสายนี้แยกมาจากแม่น้ำเพชรบุรี ไหลออกทะเลบริเวณปากอ่าวบางตะบูน ซึ่งเป็นปลายแม่น้ำเพชรบุรี ในสมัยก่อนแม่น้ำสายนี้เป็นเส้นทางสัญจรทางเรือของพ่อค้าวาณิชต่าง ๆ นับแต่สมัยโบราณ ลำน้ำบางตะบูนเป็นเส้นทางการคมนาคมที่มีความจำเป็นและสำคัญทางเศราษฐกิจเป็นอย่างมาก

หมู่บ้าน แก้

ตำบลบางตะบูนประกอบไปด้วย 8 หมู่บ้าน ได้แก่

  • หมู่ 1 บ้านปากอ่าว
  • หมู่ 2 บ้านคุ้งใหญ่
  • หมู่ 3 บ้านคลองลัด
  • หมู่ 4 บ้านคลองขุด
  • หมู่ 5 บ้านท้องคุ้ง
  • หมู่ 6 บ้านคลองไหหลำ
  • หมู่ 7 บ้านบางกั้ง
  • หมู่ 8 บ้านบางสามแพรก

อาณาเขต แก้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดสมุทรสงคราม
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทย
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลเขาย้อย อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดสมุทรสงคราม

ความสำคัญทางประวัติศาสาตร์ แก้

เล่ากันว่า ในสมัยอยุธยาตอนปลาย บริเวณบ้านบางด้วน (ปัจจุบัน คือ บ้านบางก้าง หมู่ที่ 7 ตำบลบางตะบูน) คุ้งน้ำบางตะบูน เคยมีพลับพลาหรือตำหนัก พระเจ้าเสือซึ่งพระองค์เสด็จฯ มาประทับทรงเบ็ด ซึ่งในอดีตบริเวณดังกล่าวมีปลาชุกชุมมาก ในปัจจุบันมีวัดคุ้งตำหนัก เป็นวัดเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยนั้นตั้งอยู่ ดังมีบันทึกเรื่องราวประวัติศาสตร์ตามคำกลอนของสุนทรภู่ที่ว่า

ถึงที่วังตั้งประทับรับเสด็จ มาทรงเบ็ดปลากระโห้ไม่สังหาร
ให้ปล่อยไปในทะเลเอาเพดาน แต่โบราณเรียกว่าองค์พระทรงปลา

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ครั้งรัชกาลที่ 3 เมื่อสุนทรภู่เดินทางมาเมืองเพชรบุรี พ.ศ. 2374 ก็ได้ใช้เส้นทางนี้ ดังคำกลอนที่ว่า

แล้วเคลื่อนคลาลาจากปากคลองช่อง ไปตามร่องน้ำหลักปักเป็นแถว
ข้ามยี่สารบ้านสองพี่น้องแล้ว ค่อยคล่องแคล่วเข้าชวากปากตะบูน

สถานที่สำคัญ แก้

  • ศาสนสถาน
  • สถานที่ราชการ
    • สถานีอนามัยบางตะบูน
    • สถานีอนามัยบางตะบูนออก
    • สถานีอนามัยบ้านบางสามแพรก
    • สถานีตำรวจภูธรบางตะบูน
    • องค์การบริหารส่วนตำบลบางตะบูน
    • เทศบาลตำบลบางตะบูน
  • สถานศึกษา
    • โรงเรียนวัดเกาะแก้ว ม. 1 ตำบลบางตะบูนออก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี 76110
    • โรงเรียนวัดปากอ่าว (ญาณสาครวิทยาคาร) ม. 3 ตำบลบางตะบูนออก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี 76110
    • โรงเรียนบางตะบูนวิทยา ม. 3 ตำบลบางตะบูนออก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี 76110
    • โรงเรียนวัดปากลัด ม. 3 ตำบลบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี 76110
    • โรงเรียนวัดคุ้งตำหนัก ม. 7 ตำบลบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี 76110
    • โรงเรียนบ้านสามแพรก ม. 8 ตำบลบางตะบูน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี 76110
  • อู่ต่อเรือประมง
  • ตลาดนัด
    • ตลาดนัดวัดปากอ่าวบางตะบูน
    • ตลาดนัดวัดปากลัด
    • ตลาดนัดศาลเจ้าปุนเถ้ากง

แหล่งท่องเที่ยว แก้

อ่าวบางตะบูน แก้

 
ดวงอาทิตย์กำลังลงที่อ่าวบางตะบูน

ตั้งอยู่ตำบลบางตะบูน จากตัวเมืองเพชรบุรีไปบ้านแหลมระยะทาง 12 กิโลเมตร แล้วเดินทางต่อไปปากอ่าวบางตะบูนระยะทางอีก 8 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านชาวประมงเล็ก ๆ ติดริมทะเล ชาวบ้านมีอาชีพเก็บเลี้ยงหอยแครง หอยแมลงภู่ หอยนางรม และประมงชายฝั่ง บริเวณปากอ่าวบางตะบูนยังเป็นจุดชม "ฝูงปลาวาฬบรูด้า" และ "ฝูงปลาโลมา" อีกทั้งชมนกกาน้ำใหญ่ และนกนาๆชนิด และยังเป็นจุดชมวิวพระอาทิตย์ตกดิน บริเวณสะพานเฉลิมพระเกียรติ

สะพานเฉลิมพระเกียรติ แก้

บริเวณปากอ่าวบางตะบูนยังเป็นจุดชมจุดชมวิวดวงอาทิตย์ขึ้นทางทะเล และลงทางหมู่บ้าน สามารถมองเห็นทัศนียภาพทางทะเลอันสวยงามและหมู่บ้านชาวประมง

หมู่บ้านเนื้อปู แก้

ตลอดเส้นทางหมู่บ่านบางตะบูน จะมีการจำหน่าย ปูม้าต้ม เนื้อปูที่แกะแล้ว และก้ามปูใบ้ สามารถชมแหล่งผลิตเนื้อปูได้ที่บ้านผู้ใหญ่โรจน์ ที่จะมีการต้มปูม้าแกะเนื้อทุกส่วนส่งขายทั่วประเทศ

ฝูงปลาวาฬบรูด้า แก้

 
ฝูงวาฬบรูด้าในอ่าวบางตะบูน

บริเวณปากอ่าวบางตะบูนยังเป็นจุดชม "วาฬบรูด้า" (Balaenoptera brydei) เป็นสัตว์ห้ามค้าระหว่างประเทศที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายของไทย และเป็นสัตว์ที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ พบแพร่กระจายอยู่ทั่วโลกโดยเฉพาะในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน มีลักษณะลำตัวสีเทาดำ รูปร่างค่อนข้างเพรียว ส่วนหัวมีแนวสันนูน 3 สัน ครีบเล็กและปลายแหลม มีร่องใต้คาง 40-70 ร่อง เมื่อโตเต็มที่ลำตัวจะยาว 14-15.5 เมตร ส่วนวัยเจริญพันธุ์ อยู่ในช่วงอายุ 9-13 ปี จะออกลูกครั้งละ 1 ตัวทุก 2 ปี ตั้งท้องนาน 10-12 เดือน ระยะให้นมน้อยกว่า 12 เดือน ลูกวาฬแรกเกิดจะมีความยาวประมาณ 3-4 เมตร วาฬบรูด้า อายุยืนถึง 50 ปี เวลาจมตัวดำน้ำจะโผล่หัวเล็กน้อยแล้วทิ้งตัวจมหายไปไม่โผล่ส่วนหางขึ้นมาเหนือน้ำ จะอยู่รวมกัน 1-2 ตัว ไม่พบการอพยพย้ายถิ่นฐานเป็นระยะทางไกล อาหารส่วนใหญ่เป็น ลูกปลาและหมึก ปลาทู ปลากะตัก เป็นต้น สำหรับในเมืองไทยสามารถพบได้ในจังหวัดชายทะเล

นกกาน้ำใหญ่ แก้

บริเวณปากอ่าวบางตะบูนยังเป็นจุดชมนกกาน้ำใหญ่ เป็นนกที่ว่ายน้ำเก่ง แต่หลังจากว่ายน้ำเพื่อหาเหยื่อจะต้องขึ้นมากางปีกเพื่อตากขนให้แห้ง

ฟาร์มหอยแครง แก้

 
แหล่งเพาะเลี้ยงหอยแครงธรรมชาติ

บริเวณปากอ่าวบางตะบูนยังเป็นจุดชมฟาร์มหอยแครง เป็นสินค้าสัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจของประเทศอีกชนิดหนึ่งเป็นที่นิยมบริโภคกันโดยทั่วไป เนื่องจากมีรสชาติดี มีคุณค่าทางอาหารสูงไม่แพ้อาหารโปรตีนชนิดอื่น

บ้านปากอ่าว แก้

ตั้งอยู่บริเวณปลายสุดของอ่าวบางตะบูน เป็นหมู่บ้านที่ยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีดั่งเดิมไว้ อาทิ การละเล่นพื้นบ้าน การรำวงย้อนยุค การแข่งขันเรือยาว การแต่งเรือองค์ถวายผ้ากฐิน

หิ่งห้อย แก้

ล่องเรือชมฝูงหิ่งห้อยยามค่ำที่ คลองบ้านสามแพรก หมู่ที่ 8 บ้านสามแพรก   ตำบลบางตะบูน  อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

วิถีชีวิตในท้องถิ่น แก้

ชาวบางตะบูน มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงชายฝั่ง เลี้ยงสัตว์น้ำ ปลูกป่า เผาถ่าน เย็บจาก และรับจ้างทั่วไป

อาชีพประมง แก้

ชาวบางตะบูนส่วนมากจะทำการประมงชายฝั่ง ปล่อยอวนดักจับปลาทะเล เลี้ยงหอยแครง หอยแมลงภู่ หอยนางรม หอยกระปุก กระชังปลากระพง โป๊ปลาทู บ่อกุ้ง บ่อปูทะเล และโพงพาง

อาชีพเผาถ่าน แก้

อาชีพหนึ่งที่ถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านมาแต่โบราณ คือ อาชีพ เผาถ่าน ไม้ที่ใช้ในการเผาถ่านเป็นไม้ในพื้นที่มีหลายชนิด แต่ที่เผาแล้วได้ถ่านไม้คุณภาพดีคือไม้โกงกาง โกงกางเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงโดยเฉลี่ย 8 - 10 เมตร ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกเป็นสวนป่านับเป็นพัน ๆ ไร่ เพื่อใช้ผลิตเป็นถ่านคุณภาพดีกระบวนการทำถ่านไม้โกงกางนับแต่การปลูกจนกระทั่งเป็นถ่านใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 8 - 15 ปี

อาชีพเย็บจาก แก้

จาก เป็นพืชท้องถิ่นอีกชนิดหนึ่งที่มีอยู่ทั่วไปในแถบพื้นที่ป่าชายเลน ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ทั้งอาศัย ใบจากในการทำฝาบ้าน มุงหลังคา มวนบุหรี่ ทำภาชนะชนิดต่าง ๆ เช่น หมวก เป็นต้น อีกหนึ่งอาชีพที่ทำสืบต่อกันมานานของชาว บางตะบูน คือ การเย็บจาก การเย็บจากมุงหลังคาจะใช้ใบจากที่แก่มาเย็บเป็นตับจาก โดยตัดใบที่ต้องการแล้วปล่อยให้เหลือใบไว้เลี้ยงกอ 3 - 4 ใบ การเย็บจาก นิยมใช้ไม้ตับยาว 1 เมตร โดยใช้ใบย่อยของจาก 2 ใบซ้อนให้ทับกันแล้วเย็บร้อยให้ติดกัน ใช้ วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น ได้แก่ เชือกคล้าหรือเถาหวายลิง ซึ่งพบได้ทั่วไปในป่าจากเป็นเชือกเย็บร้อย สำหรับไม้ตับนั้นก็ได้จากก้านใบหรือ "ทางจาก" ตากแห้ง จากมุงหลังคา ส่วนมากจะมีความคงทนอยู่ได้นานถึง 7 - 8 ปี แต่ถ้าหากเย็บจากโดยใช้ใบ 3 ใบ ซ้อนทับกันจะอยู่ได้นานไม่น้อยกว่า 10 ปี ในปัจจุบันตลาดมีความต้องการจากมุงหลังคา เพื่อใช้ในธุรกิจร้านอาหาร หรือทำโรงเรือนต่าง ๆ เพราะทำให้ไม่ร้อนอบอ้าว การเย็บจากสามารถทำได้ตลอดปี ขนาดของตับจากจะมี 2 ขนาด คือขนาด 1 เมตร และขนาด 1.20 เมตร แต่ที่นิยมคือขนาด 1 เมตร เรียกว่า "จาก 2 ศอก"

ภาพ แก้

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้