ชตวร์มอุนท์ดรัง

ชตวร์มอุนท์ดรัง (เยอรมัน: Sturm und Drang) หรือชื่อในภาษาไทยคือ พายุและแรงอารมณ์[1] เป็นขบวนการก่อนยุคศิลปะจินตนิยม (Romanticism) ขบวนการนี้เคลื่อนไหวทางด้านการดนตรีและวรรณกรรมเยอรมันในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1760 ถึงต้น 1780 โดยผลักดันให้แต่ละคนปลดปล่อยความเป็นตัวเองออกมาเต็มที่ ทั้งยังส่งเสริมการแสดงออกทางอารมณ์อย่างยิ่งยวดโดยไม่ต้องคำนึงเรื่องระบบแบบแผนใดๆ หรือก็คือเน้นอารมณ์มากกว่าหลักเหตุผล อุดมการณ์นี้มีเป้าหมายเพื่อขจัดลัทธิเหตุผลนิยม (rationalism) ซึ่งเป็นความเชื่อของยุคเรืองปัญญา

ชื่อขบวนการถูกตั้งตามบทละคร ชตวร์มอุนท์ดรัง ของฟรีดริช มัคซีมีลีอาน คลิงเงอร์ ขบวนการนี้มีเกอเทอและชิลเลอร์เป็นสองแกนนำที่สำคัญ อุดมการณ์ของชตวร์มอุนท์ดรังได้รับอิทธิพลมาจากความคิดของรูโซและฮามันที่ว่า มนุษย์ควรยอมรับเข้าใจแก่นแท้และธรรมชาติของสิ่งต่างๆโดยอาศัยความบริสุทธ์ใจและประสบการณ์ในสิ่งนั้นๆ

ตัวอย่างของผลงานวรรณกรรมที่ถูกดัดแปลงให้เข้ากับอิทธิพลของขบวนการนี้ ได้แก่วรรณกรรมเรื่อง หนูน้อยหมวกแดง ฉบับดั้งเดิมหนูน้อยหมวกแดงและคุณยายถูกหมาป่าจับกินจนตาย แต่ฉบับดัดแปลง คนตัดฟืนได้ทำการผ่าท้องหมาป่าจนช่วยชีวิตทั้งสองไว้ได้ ซึ่งเป็นเนื้อเรื่องที่อยู่เหนือหลักเหตุผล ส่วนตัวอย่างด้านดนตรีได้แก่ ซิมโฟนีหมายเลข 25 ของโมทซาร์ท ที่นอกจากจะมีคีย์ผิดแปลกแล้วยังมีการลัดจังหวะดนตรีที่เด่นขึ้นมา การใช้เครื่องเป่าในบทเพลงนี้ยังมีความเป็นอิสระในขณะที่ไวโอลินถูกบรรเลงอย่างฉูดฉาด

บุคคลในขบวนการที่มีชื่อเสียง แก้

ด้านวรรณกรรม แก้

 
โยฮัน ว็อล์ฟกัง ฟ็อน เกอเทอ

ด้านดนตรี แก้

 
โยเซ็ฟ ไฮเดิน

อ้างอิง แก้

  1. พจนานุกรมราชบัณฑิตยสภา. วรรณกรรม ๖ มี.ค. ๒๕๔๕