ข้อริเริ่มเข็มขัดและเส้นทาง

ข้อริเริ่มเข็มขัดและเส้นทาง (อังกฤษ: Belt and Road Initiative) หรือเดิมเรียก หนึ่งเข็มขัด หนึ่งเส้นทาง (อังกฤษ: One Belt One Road; จีน: 一带一路) เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาทั่วโลกที่รัฐบาลจีนเริ่มใช้ในปี 2556 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในประเทศและองค์การระหว่างประเทศเกือบ 70 แห่ง[1][2] ถือเป็นศูนย์กลางของนโยบายต่างประเทศของสี จิ้นผิง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน[3]

ข้อริเริ่มเข็มขัดและเส้นทาง
เส้นทางการเดินทางในข้อริเริ่มเข็มขัดและเส้นทาง
ก่อตั้ง2013; 11 ปีที่แล้ว (2013)
ค.ศ. 2017 (2017) (ประชุม)
วัตถุประสงค์สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ และการเชื่อมต่อระหว่างภูมิภาค
ที่ตั้ง
  • จีน
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ
เอเชีย, แอฟริกา, ยุโรป, ตะวันออกกลาง, อเมริกา
ผู้นำ
สี จิ้นผิง, หลี่ เค่อเฉียง

"เข็มขัด" หมายถึง เส้นทางทางบกสำหรับการขนส่งทางถนนและราง เรียก "เข็มขัดเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม" ส่วน "ถนน" หมายความถึง เส้นทางทะเล หรือเส้นทางสายไหมทางทะเลคริสต์ศตวรรษที่ 21 มีการบรรจุในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 2560[3]

รัฐบาลจีนเรียกข้อริเริ่มนี้ว่าเป็น "การประมูลราคาเพื่อเสริมการเชื่อมถึงกันในภูมิภาคและรับอนาคตที่สว่างไสว"[4] ผู้สังเกตการณ์บางคนมองว่าเป็นแผนการครองโลกของจีนสำหรับเครือข่ายการค้าทั่วโลกที่มีจีนเป็นศูนย์กลาง โครงการนี้มีวันที่แล้วเสร็จที่กำหนดไว้ในปี 2592[5] ซึ่งประจวบกับการครบรอบ 100 ปีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน

อ้างอิง แก้

  1. "Belt and Road Initiative". World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2019. สืบค้นเมื่อ 10 March 2019.
  2. "Overview – Belt and Road Initiative Forum 2019". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 September 2019. สืบค้นเมื่อ 30 January 2020.
  3. 3.0 3.1 "The pandemic is hurting China's Belt and Road Initiative". The Economist. 4 June 2020. ISSN 0013-0613. สืบค้นเมื่อ 14 June 2020.
  4. "China unveils action plan on Belt and Road Initiative". Gov.cn. Xinhua. 28 March 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 April 2018. สืบค้นเมื่อ 16 April 2018.
  5. "CrowdReviews Partnered with Strategic Marketing & Exhibitions to Announce: One Belt, One Road Forum". PR.com. 25 March 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2019. สืบค้นเมื่อ 30 April 2019.