ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หมายเรียก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: '''หมายศาล''' ({{lang-en|summons}}, หรือในอังกฤษและเวลส์ รู้จักกันใน '''เอกสารประจักษ์''' ({{lang-en|claim form}}) และออสเตรเลียในรัฐนิวเซาท์เวลส์ รู้จัก...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:48, 26 ธันวาคม 2564

หมายศาล (อังกฤษ: summons, หรือในอังกฤษและเวลส์ รู้จักกันใน เอกสารประจักษ์ (อังกฤษ: claim form) และออสเตรเลียในรัฐนิวเซาท์เวลส์ รู้จักกันใน หมายเรียกศาล (อังกฤษ: court attendance notice; CAN)) เป็นเอกสารทางกฎหมายที่ออกโดยศาล (หมายเรียกของศาล) หรือโดยหน่วยงานบริหารของรัฐบาล (หมายเรียกของฝ่ายปกครอง) เพื่อหลายวัตถุประสงค์

ในเขตอำนาจศาลของไทย หมายศาลถูกออกโดยศาลผู้รับคดี[1]: 31–32 นั้น แบ่งเป็นหมายศาล 2 คดี คือ หมายศาลคดีอาญาและหมายศาลคดีแพ่ง

ในกรณีคดีแพ่งสามัญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 ได้บัญญัติว่า “เมื่อได้ส่งหมายเรียกและคำฟ้องให้จำเลยแล้ว ให้จำเลยทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวัน” หมายศาลจะทำการปิดหมายไว้ ณ ภูมิลำเนาจำเลย ซึ่งจะถือว่าจำเลยได้รับหมายเรียกเมื่อพ้นกำหนด 15 วันนับแต่วันปิดหมาย จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ปิดหมาย หากจำเลยมิได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีภายในกำหนด จะหมดสิทธิในการต่อสู้คดี อันมีผลให้แพ้คดีโดยขาดนัดยื่นคำให้การ โดยศาลจะตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว และจะมีคำพิพากษาและโจทก์จะดำเนินการบังคับคดีต่อไป[2]

อ้างอิง

  1. สำนักงานศาลยุติธรรม. คู่มือการติดต่อราชการศาลยุติธรรมฉบับประชาชน. มปป.
  2. ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายศาล