ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สายสมร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 44:
|}
 
ธีรพงศ์ เรืองขำ สันนิษฐานว่าเพลง "สายสมร" คือเพลงมโหรีบรรเลงขับกล่อมพระมหากษัตริย์ในเขตพระราชฐานชั้นในดังที่ตราไว้ในกฎมณเฑียรบาลว่า "หกทุ่มเบิกเสภาดนตรี" ในช่วงเวลาที่[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]ทรงใช้เวลาในการปรึกษาราชการแผ่นดิน โดยมี[[พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน)]] เป็นชาวตะวันตกเพียงคนเดียวที่ร่วมอยู่ในการนั้น เป็นคนที่ชำนาญการใช้ภาษาต่าง ๆ รวมทั้งมีโอกาสติดต่อกับราชทูตฝรั่งเศสได้โดยตรง เขาอาจเป็นผู้ถอดเสียงเพลง "สายสมร" ให้ลา ลูแบร์บันทึก และเข้าใจว่า "สายสมร" ในที่นี้น่าจะหมายถึง[[พระกษัตรีย์|พระอัครมเหสี]]]ที่สวรรคตไปแล้วของสมเด็จพระนารายณ์<ref name="standard"/> ส่วน[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์]] ทรงวินิจฉัยว่าเพลง "สายสมร" หาใช่เพลงสรรเสริญพระบารมี เพราะเนื้อหาบ่งในเชิงสังวาสมากกว่า<ref>{{cite web |url= https://www.sanook.com/news/3893730/ |title= เพลงสรรเสริญพระนารายณ์ |author=|date= 16 ตุลาคม 2560 |work= สนุกดอตคอม |publisher=|accessdate= 27 พฤษภาคม 2564}}</ref> ขณะที่ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ ให้ความเห็นว่า งานเขียนของลา ลูแบร์ อาจเขียนขึ้นจาก "ความแปลกประหลาด" ที่ชาวตะวันตกมองคนนอกยุโรป จึงสร้างเนื้อเพลงมาประกอบเท่านั้น เพลงนี้จึงอาจไม่มีอยู่จริง เพราะ "...โน้ตเพลงสายสมรออกจะเป็นการบันทึกที่เลอะเทอะหาแก่นสารอะไรไม่ได้"<ref>{{cite web |url= https://www.matichonweekly.com/culture/article_8649 |title= ดนตรีในรัฐที่โน้ตเพลงที่เก่าที่สุดของตนเอง เป็นแค่เรื่องพาฝัน |author= ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ |date= 22 กันยายน 2559 |work= มติชนสุดสัปดาห์ |publisher=|accessdate= 27 พฤษภาคม 2564}}</ref> สอดคล้องกับข้อมูลของกลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ [[กรมศิลปากร]] ที่ให้ข้อมูลว่า "[เพลงสายสมร]...ไม่สะดวกกับการขับร้อง และท่วงทำนองก็ไม่ได้ชี้ชัดว่าเป็นเพลงตะวันออกแต่อย่างใด"<ref name="กรมศิลปากร"/>
 
ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]]ทรงฟื้นฟูศิลปวิทยาการใน พ.ศ. 2325 เป็นต้นมา พระองค์โปรดเพลง "สายสมร" และจัดไว้อยู่ในตับเพลงอรชร เพราะมีต้นเค้ามาจาก[[เมืองนครศรีธรรมราช]] แต่ไม่ปรากฏเนื้อหรือทำนองเพลง<ref name="standard"/> ในเพลงยาวที่บรรยายบรรยากาศการเล่นเพลงมโหรีที่บ้านของ[[เจ้าพระยาพระคลัง (หน)]] ก็ระบุว่ามีการเล่นเพลง "สายสมร" ร่วมด้วย<ref>อติภพ ภัทรเดชไพศาล. ''เสียงเพลง วัฒนธรรม อำนาจ''. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556, หน้า 23</ref> [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]ทรงจัดให้อยู่ในเพลงประเภทมโหรีที่ผิดเพี้ยนไปมาก<ref name="standard"/> และเข้าใจว่าเพลง "สายสมร" นี้ น่าจะเป็นเพลงเดียวกันกับเพลงที่ซีมง เดอ ลา ลูแบร์บันทึกไว้<ref>อติภพ ภัทรเดชไพศาล. ''เสียงเพลง วัฒนธรรม อำนาจ''. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556, หน้า 24</ref> ครั้นเมื่อคราว[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ประพาสกรุง[[ปารีส]] [[ประเทศฝรั่งเศส]]ใน พ.ศ. 2440 ทรงสนพระทัยเพลง "สายสมร" ที่ถูกบันทึกในจดหมายเหตุลาลูแบร์ จึงโปรดเกล้าให้กัปตันไมเคิล ฟุสโก หัวหน้าวงดุริยางค์กองทัพเรือ เรียบเรียงเป็นทำนองเปียโน แล้วพระราชทานชื่อให้ใหม่ว่า "สรรเสริญพระนารายณ์" ใน พ.ศ. 2442<ref name="standard"/><ref name="มติชน1"/> ต่อมา[[พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)]] นำเพลงมาเรียบเรียงใหม่บรรเลงโดยวงออร์เคสตรา เนื้อร้องโดยนาวาอากาศเอก ขุนสวัสดิ์ทิฆัมพร (สวาท นิยมธรรม) ใช้ประกอบภาพยนตร์เรื่อง ''[[พระเจ้าช้างเผือก (ภาพยนตร์)|พระเจ้าช้างเผือก]]'' (พ.ศ. 2484) และตั้งชื่อเพลงว่า "ศรีอยุธยา"<ref name="มติชน1"/>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/สายสมร"