ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พยงค์ มุกดา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: {{กล่องข้อมูล นักแสดง | bgcolour = | name = พยงค์ มุกดา | image = | imagesize = | capti...
 
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 45:
พยงค์ มุกดา เป็นชาว[[จังหวัดราชบุรี]] เป็นบุตรของนายแก้ว และนางบุญ มุกดา เกิดบนเรือกลาง[[แม่น้ำแม่กลอง]] บริเวณตำบลท่าเสา จังหวัดราชบุรี จบชั้น ป.4 จากโรงเรียนเทศบาล[[วัดราชนัดดาราม]] และเข้าสู่วงการจากการเป็นนักร้อง[[วงดุริยางค์กองทัพบก]] โดยการสนับสนุนของครู[[จำปา เล้มสำราญ]] ต่อมาจึงก่อตั้งวงดนตรีเป็นของตัวเองชื่อ วงพยงค์ มุกดา ซึ่งได้รับพระราชทานชื่อว่า "วงมุกดาพันธ์"
 
ครูพยงค์ มุกดา มีผลงานออกมาเป็นจำนวนมาก เคนเป็นนักร้อง นักแสดง นักจัด[[รายการวิทยุ]] เคยแสดง[[ภาพยนตร์]] เช่นเรื่อง ''เสน่ห์บางกอก'', ''ไซอิ๋ว'' เคยอยู่[[วงดุริยางค์กองทัพเรือ]] เป็นผู้ประพันธ์เพลงมาร์ช เช่น "สหมาร์ชราชนาวี", "มาร์ชสามัคคีสี่เหล่า", นาวีบลู
 
ในฐานะนักแต่งเพลง ครูพยงค์ มุกดา มีผลงานทั้งเพลงลูกทุ่ง ลูกกรุง และเพลงมาร์ช ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานจากเพลง "นกขมิ้น" (ขับร้องโดย [[ธานินทร์ อินทรเทพ]]) "ช่อทิพย์รวงทอง" (ขับร้องโดย [[สมยศ ทัศนพันธ์]]) "นางรอง" และ "รักใครไม่เท่าน้อง" (ขับร้องโดย [[ทูล ทองใจ]]) "ลูกนอกกฎหมาย" (ขับร้องโดย [[ศรีสอางค์ ตรีเนตร]]) "รอพี่กลับเมืองเหนือ" (ขับร้องโดย [[พรทิพย์ภา บูรกิจบำรุง]]) "เด็ดดอกรัก" (ขับร้องโดย [[ชรินทร์ นันทนาคร]]) และ "ฝั่งหัวใจ" ขับร้องโดย [[บุษยา รังสี]])
บรรทัด 51:
ในปี พ.ศ. 2532 ครูพยงค์ ได้รับรางวัลพระราชทานในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย 2 รางวัล จากเพลง "สาวสวนแตง" (ขับร้องโดย [[สุรพล สมบัติเจริญ]]) และ "ล่องใต้" (ขับร้องโดย [[ชัยชนะ บุญนะโชติ]]) และในปี พ.ศ. 2534 ได้รับรางวัลพระราชทาน 3 รางวัล จากเพลง "ยอยศพระลอ" (ขับร้องโดย [[ชินกร ไกรลาศ]]) "น้ำตาสาวตก" (ขับร้องโดย ศรีสอางค์ ตรีเนตร) และ "ลูกทุ่งเสียงทอง" (ขับร้องโดย [[เพชร พนมรุ้ง]])
 
ในปี พ.ศ. 2534 พยงค์ มุกดา ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น[[ศิลปินแห่งชาติ]] สาขาศิลปะการแสดง (ประพันธ์เพลงไทยสากล-เพลงลูกทุ่ง) นอกจากนี้ ลูกศิษย์ของท่านถึง 2 คน ก็ได้รับเชิดชูเป็นศิลปินแห่งชาติ เช้นกันเช่นกัน คือ [[ชัยชนะ บุญนะโชติ]] (พ.ศ. 2541) และ [[ชินกร ไกรลาศ]] (พ.ศ. 2542)
ในปี พ.ศ. 2551 ครูพยงค์ มุกดา ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินอาวุโส [[รางวัลนราธิป]] ประจำปี พ.ศ. 2550