ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุทธการที่มอสโก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 87:
=== สภาพอ่อนกำลังลง ===
ในปลายเดือนตุลาคม, กองทัพเยอรมันได้อ่อนกำลังลง โดยมีเพียงหนึ่งในสามยานยนต์ที่ยังคงใช้งานได้ กองพลทหารราบที่มีกำลังสามถึงครึ่ง และปัญหาทางด้านโลจิสติกส์ที่ร้ายแรงทำให้ไม่สามารถส่งเสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น และอุปกรณ์กันความหนาวอื่น ๆ ที่แนวหน้า แม้แต่ฮิตเลอร์ที่ดูเหมือนว่าจะยอมจำนนต่อความคิดเรื่องการสู้รบที่ยาวนาน เนื่องจากความเป็นไปได้ที่จะส่งรถถังเข้าไปในเมืองใหญ่เช่นนี้โดยไม่ได้รับการสนับสนุนจากทหารราบอย่างหนักนั้นดูเหมือนจะมีความเสี่ยงภายหลังการเข้ายึดครองกรุงวอร์ซอที่มีราคาที่ต้องจ่ายในปี ค.ศ. 1939<ref name="GlantzTTG2">Glantz, chapter 6, sub-ch. "To the Gates", pp. 80ff.</ref>
 
[[ไฟล์:Yuon RedSquare Parade 1941.jpg|thumb|left|[[สวนสนามครบรอบการปฏิวัติเดือนตุลาคม ค.ศ. 1941|การสวนสนาม]]โดยกองทหารโซเวียตบน[[จัตุรัสแดง]], วันศุกร์ ที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1941, ซึ่งปรากฎในภาพวาด ปี ค.ศ. 1949 ซึ่งถูกวาดโดย [[Konstantin Yuon]] แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงสัญลักษณ์ที่มีความสำคัญของเหตุการณ์<ref name=GeorgyZhukov/>{{rp|31}}]]
 
เพื่อทำให้การตัดสินใจที่เข้มแข็งของกองทัพแดงและเพิ่มขวัญกำลังใจของพลเรือน สตาลินได้ออกคำสั่งให้จัดขบวนสวนสนามทางทหารตามธรรมเนียมในวันที่ 7 พฤศจิกายน([[วันการปฏิวัติเดือนตุลาคม|วันแห่งการปฏิวัติ]]) ซึ่งถูกจัดขึ้นที่จัตุรัสแดง กองทหารโซเวียตได้เดินสวนสนามผ่านพระราชวังเคลมลิมและเคลื่อนที่โดยตรงสู่แนวหน้า ขบวนสวนสนามมีความสำคัญเชิงสัญลักษณ์อย่างมากโดยแสดงให้เห็นถึงการตัดสินใจอันแน่วแน่อย่างต่อเนื่องของโซเวียต และมักจะถูกเรียกเช่นนี้ในปีต่อ ๆ ไป แม้จะมีการแสดงด้วยความกล้าหาญนี้ ตำแหน่งของกองทัพแดงยังคงดูล่อแหลม แม้ว่าทหารโซเวียตอีก 100,000 นายจะได้เข้าเสริมกำลังที่คลินและตูลา ซึ่งได้คาดการณ์ว่าการรุกของเยอรมันจะเริ่มขึ้นมาใหม่ การป้องกันของโซเวียตยังคงค่อนข้างเปราะบาง อย่างไรก็ตาม สตาลินได้ออกคำสั่งให้การรุกตอบโต้กลับก่อนล่วงหน้าต่อแนวรบของเยอรมันหลายครั้ง สิ่งเหล่านี้ได้ถูกเปิดฉากขึ้นแม้ว่าจะมีการประท้วงจากจูคอฟ ซึ่งชี้ให้เห็นถึงการขาดแคลนกำลังสำรองทั้งหมด<ref>Zhukov, tome 2, p. 27.</ref> [[แวร์มัคท์]]ได้ต้านทานการรุกตอบโต้กลับเหล่านี้ส่วนใหญ่ ซึ่งได้ทำลายล้างกองกำลังโซเวียตซึ่งอาจจะใช้สำหรับการป้องกันมอสโก มีเพียงความสำเร็จอย่างโดดเด่นเพียงครั้งเดียวของการรุกซึ่งเกิดขึ้นจากทางตะวันตกของมอสโกใกล้กับ Aleksino เมื่อรถถังโซเวียตได้สร้างความเสียหายอย่างหนักต่อกองทัพที่ 4 เนื่องจากเยอรมันยังขาดอาวุธต่อต้านรถถังที่สามารถทำลายรถถังที-34 ที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่และมีเกราะที่ดีเยี่ยม<ref name="GlantzTTG3">Glantz, chapter 6, sub-ch. "To the Gates", pp. 80ff.</ref>
 
ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม ถึง 13 - 15 พฤศจิกายน กองบัญชาการใหญ่แวร์มัคท์ได้หยุดลง ในขณะที่เตรียมความพร้อมเพื่อเปิดฉากการรุกมอสโกครั้งที่สอง แม้ว่ากองทัพกลุ่มกลางยังคงมีความแข็งแกร่งพอสมควร แต่ความสามารถในการสู้รบได้ลดทอนลงอย่างมากเพราะการสึกหรอและความเหนื่อยล้า ในขณะที่เยอรมันได้รับรู้ถึงการหลั่งไหลเข้ามาของการกำลังเสริมของโซเวียตอย่างต่อเนื่องจากตะวันออก เช่นเดียวกับการมีอยู่ของกองกำลังสำรองขนาดใหญ่ ทำให้โซเวียตสูญเสียอย่างมหาศาล พวกเขาไม่คาดคิดว่าโซเวียตสามารถป้องกันได้อย่างมั่นุคงมั่นคง<ref>Klink, pp. 574, 590–92</ref>{{โครง- แต่เมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ในเดือนตุลาคม กองพลปืนไรเฟิลโซเวียตได้ยึดครองตำแหน่งป้องกันที่แข็งแกร่งกว่ามาก: วงแหวนป้องกันสามชั้นรอบเมืองและส่วน}}ที่เหลือบางส่วนของแนว Mozhaisk ใกล้กับคลิน กองทัพภาคสนามโซเวียตส่วนใหญ่ในตอนนี้ได้ป้องกันหลายชั้น โดยมีกองพลปืนไรเฟิลอย่างน้อยสองกองพลในตำแหน่งระดับที่สอง การสนับสนุนด้วยปืนใหญ่และทหารช่างยังได้กระจุกรวมตัวกันตามถนนสายหลักที่กองทหารเยอรมันคาดการณ์ว่าจะใช้ในการโจมตีพวกเขา นอกจากนี้ยังมีกองทหารโซเวียตจำนวนมากที่ยังคงอยู่ในกองทัพสำรองที่อยู่เบื้องหลังแนวหนเ้า จนในที่สุด กองทหารโซเวียต-และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเจ้าหน้าที่นายทหาร- ตอนนี้พวกเขาได้มีประสบการณ์มากขึ้นและเตรียมความพร้อมที่ดีขึ้นสำหรับการรุก<ref name="GlantzTTG">Glantz, chapter 6, sub-ch. "To the Gates", pp. 80ff.</ref>
 
วันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1941 ในที่สุด ทางภาคพื้นดินก็ได้กลายสภาพเป็นน้ำแข็ง ซึ่งได้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องถนนโคลนเลน หัวหอกยานเกราะของแวร์มัคท์ซึ่งประกอบไปด้วย 51 กองพล ซึ่งตอนนี้สามารถรุกเข้าไปได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะโอบล้อมมอสโกและเชื่อมโยงใกล้กับเมืองโนกินสค์ ทางตะวันออกของเมืองหลวง เพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ กลุ่มยานเกราะที่สามและสี่ของเยอรมันจำเป็นที่จะต้องรวบรวมกองกำลังของเขาไว้ที่ระหว่างอ่างเก็บน้ำวอลกาและ Mozhaysk จากนั้นก็เคลื่อนทัพผ่านกองทัพที่ 30 ของโซเวียตไปยังคลินและ Solnechnogorsk โอบล้อมเมืองจากทางเหนือ ในทางใต้ กองทัพยานเกราะที่สองได้ตั้งใจว่าจะอ้อมผ่านทางตูลาซึ่งยังถูกยึดครองโดยโซเวียต และเข้ารุกไปยัง Kashira และ Kolomna โดยเชื่อมโยงกับการโอบล้อมทางเหนือที่โนกินสค์ กองทัพภาคสนามที่ 4 ของเยอรมันที่อยู่ในส่วนกลางจะต้อง"ตรึงกองกำลังทหารของแนวรบตะวันตก"<ref name="GeorgyZhukov" />{{rp|33, 42–43}}
 
=== การโอบล้อมที่ล้มเหลว ===
{{โครง-ส่วน}}
 
== การรุกตอบโต้กลับของโซเวียต ==