ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทางรถไฟสายดอนเดด–ดอนคอน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 46:
[[ไฟล์:Historic locomotive hosting goats in Don Khon, Si Phan Don, Laos.jpg|thumb|left|ซากหัวรถจักรไอน้ำที่จัดแสดงบน[[เกาะดอนคอน]]]]
[[ไฟล์:The bridge between Don Det and Don Khong.jpg|thumb|left|สะพานข้ามร่องน้ำระหว่างดอนเดด-ดอนคอน]]
การเดินทางข้ามแม่น้ำโขงในบริเวณสี่พันดอนนั้นเป็นสิ่งที่ยากลำบาก เนื่องจากมีเกาะแก่งใหญ่น้อยกับกระแสน้ำที่ไหลแรง ครั้งช่วงที่ลาวตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส มีเรือกลไฟจำนวนไม่น้อยอัปปางหรือเสียหายจากการเดินทางผ่านบริเวณดังกล่าว [[คณะกรรมาธิการสำรวจแม่น้ำโขง]] (Mekong Exploration Commission) ชาวฝรั่งเศสจึงได้สร้างเส้นทางรถไฟขึ้นบริเวณเกาะดอนคอนขึ้นเพื่อบรรทุกผู้โดยสารและสินค้าข้ามไปอีกฝั่งสำหรับต่อเรือเมื่อปี พ.ศ. 2436 หลังมีผู้โดยสารจำนวนมากขึ้น จึงขยายเส้นทางออกไปอีก 3 กิโลเมตร โดยสร้างสะพานข้ามร่องน้ำเพื่อเชื่อมระหว่างเกาะดอนเดด<ref name="ไพรัตน์">ไพรัตน์ สูงกิจบูลย์. ''แลลาว''. กรุงเทพฯ : อทิตตา. 2545, หน้า 209-210</ref><ref name="พวงนิล">พวงนิล คำปังสุ์ (แปล). ''ลาวและกัมพูชา''. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : หน้าต่างสู่โลกกว้าง. 2549, หน้า 65</ref> ใช้หัวรถจักรไอน้ำในการเดินรถ เดิมใช้รางขนาด 600 มิลลิเมตร ก่อนเพิ่มขนาดเป็น 1,000 มิลลิเมตร<ref>Whyte, Brendan (2010). ''The Railway Atlas of Thailand, Laos and Cambodia''. White Lotus, Bangkok. p. 143.</ref> แต่เมื่อเกิด[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]ขึ้น การเดินรถก็หยุดชะงัก รถไฟเที่ยวสุดท้ายเดินรถในปี พ.ศ. 2483 หลังจากนั้นเป็นต้นมาทางรถไฟสายนี้ก็ถูกทิ้งร้างมิได้ใช้ประโยชน์อันใดอีก<ref>[http://internationalsteam.co.uk/trains/laos01.htm The only railway (ever) in Laos] The International Steam Pages</ref> เหลือเพียงซากสะพาน หัวรถจักร และคันทางเป็นอนุสรณ์<ref name="ไพรัตน์"/><ref name="พวงนิล"/>
 
ในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลลาวมีแผนที่จะฟื้นฟูเส้นทางรถไฟสายดังกล่าวเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว<ref>{{cite web |url= http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9480000158902 |title= ลาวฟื้นทางรถไฟประวัติศาสตร์เป็นแหล่งท่องเที่ยว |author=|date= 16 พฤศจิกายน 2548 |work= MGR Online |publisher=|accessdate= 9 มิถุนายน 2560}}</ref> โดยร่วมทุนกับบริษัทเอกชนจาก[[สาธารณรัฐเกาหลี]] และจะเริ่มภายในปี พ.ศ. 2550<ref>{{cite web |url= http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9490000150297 |title= 90 ปีผ่านไปลาวฟื้นทางรถไฟฝรั่งเศสในจำปาสัก |author=|date= 7 ธันวาคม 2549 |work= MGR Online |publisher=|accessdate= 14 พฤษภาคม 2560}}</ref>